ข่าว

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่ เชื่อมโยงชุมชน เรียนรู้จากโจทย์จริง

 

          โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูล (Satun Active Citizen) ดำเนินการโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมนำเสนอโครงการเยาวชนระยะที่ 2 ณ ชมรมประมงพื้นบ้าน อ.ละงู จ.สตูลเพื่อนำเสนอผลการเก็บข้อมูลและแนวทางการดำเนินงาน จำนวน 15 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ พัฒนาโดยกลุ่มเยาวชน 15 กลุ่มในพื้นที่จังหวัดสตูล 

 

          นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูลหรือ Satun Active Citizen เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการดำเนินงานในชุมชนหลังจากเกิดภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ โดยเกิดการรวมตัวของคนในชุมชน ร่วมกันสร้างผู้นำรุ่นใหม่คือเด็กและเยาวชน  เพื่อให้เกิดการส่งไม้ต่อไปยังคนรุ่นต่อไปได้ อีกทั้ง จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของหลายหน่วยงาน ทำให้ประชาคมคนสตูลมีความเข้มแข็ง  คนสตูลรู้จักเรื่องราวของชุมชน อยากดูแลชุมชนของตนเอง โดยหัวใจสำคัญของเยาวชนที่เป็น Active Citizen คือ 1.รู้ต้นทุนชุมชน 2.มีศักยภาพและมีความภูมิใจในตนเอง รู้ว่าตนเองเก่ง ไม่เก่งอะไร ใฝ่เรียนรู้ สามารถดึงศักยภาพตนเองให้สูงขึ้น เพราะการมีโอกาสได้เห็นปัญหาของชุมชนและรู้จักตนเอง 

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

          “พลเมืองไทยควรใช้กระบวนการ Active Citizen เป็นกระบวนการพัฒนาคน ซึ่งการพัฒนาคนในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีโจทย์ใหม่ๆ เข้ามา จึงต้องเรียนรู้จากโจทย์ของจริง ฉะนั้น ชุมชนทุกที่ควรเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนของตนเองได้เข้ามามีส่วนร่วมกับผู้ใหญ่ในการรับรู้ปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา เพราะเด็กมีศักยภาพในการทำงานกับคนวัยเดียวกัน ยกตัวอย่างผู้ใหญ่เก่งหลายเรื่องเข้าใจชุมชนหลายด้านทำงานเก่งแก้ปัญหาเก่ง แต่การเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น คนรุ่นใหม่เก่งกว่า ดังนั้น การนำประสบการณ์ของคนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่ามาผสมผสานกันก็จะเกิดแนวทางในการทำงานใหม่

 

          ขอชี้ให้เห็นตัวอย่างเรื่องการเรียนรู้จากโจทย์สถานการณ์แล้วเกิดความรู้ใหม่สร้างคนได้เยอะ คือกรณีทีมหมูป่าและโค้ชรวม 13 คนติดถ้ำหลวงที่จังหวัดเชียงราย จะเห็นว่ามีคนเก่งๆ มีองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศเข้ามาผนึกกำลัง นี่คือสถานการณ์จริงจากชีวิตจริงที่เกิดขึ้น จึงอยากให้นำเรื่องนี้ไปจำลองโดยกลับไปที่โจทย์ทุกเรื่องของชุมชนต่างๆ ซึ่งการใช้ความรู้เดิมในการแก้ปัญหาก็ดี การรวมตัวผนึกกำลังก็ดี แต่การเชื่อมโยงกับเด็กรุ่นใหม่ที่เขาสามารถเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่ มีวิธีการใหม่ ก็จะดึงความเข้าใจของคนทั้งในและนอกชุมชนผสานเข้าด้วยกันได้ดียิ่งกว่า” นางปิยาภรณ์ กล่าว

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

          นางปิยาภรณ์ ย้ำอีกว่า วันนี้ พลังของคนรุ่นใหม่กับรุ่นพ่อแม่หากผสานกันแล้วก็จะเป็นพลังที่เข้มแข็งของชุมชนได้ ซึ่งทุกจังหวัดท้องถิ่นท้องที่ควรจะมีการรวมตัวและควรเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มารวมตัวแบบนี้ เป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริงที่นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้จริงๆ ก็จะได้ความรู้อีกชุดหนึ่งที่พัฒนาความสามารถเป็นความรู้ขาออกที่จะพัฒนาความคิดเห็นความสามารถของคนให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 


          นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส.กล่าวว่า โครงการนี้มีความสำคัญใน 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานเยาวชน  ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของเยาวชนที่ได้ผลจะต้องเกิดจากการที่เด็กได้คิด ทดลองทำและค้นหาคำตอบด้วยตัวเขาเอง ตรงนี้เป็นธรรมชาติการเรียนรู้ของวัยรุ่น ถ้าเด็กสามารถผ่านกระบวนการเรียนรู้ ได้เห็นผลงานที่ทำก็จะเกิดความภูมิใจ มองเห็นศักยภาพและคุณค่าของตนเอง ตรงนี้ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาสมองที่สมบูรณ์มากขึ้น เพราะพัฒนาการทางสมองนั้นจะถูกสร้างขึ้นประมาณ 70-80% ในช่วงปฐมวัย และจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ สสส. ต้องการสนับสนุนกิจกรรมในแนวทางนี้ ขณะเดียวกันเด็กจะได้เรียนรู้ว่าเขาสนใจอะไร มีเป้าหมายชัดเจน เช่น เด็กได้ค้นคว้าเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรู้สึกชอบมาก จนทำให้รู้สึกอยากเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเมื่อโตขึ้น เขาก็จะใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ดูแลตนเองไม่ให้หลุดออกนอกทาง เพราะอยากไปให้ถึงเป้าหมาย เป็นต้น

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

          นางสาวณัฐยา กล่าวอีกว่า ส่วนที่สองเนื่องจากโครงการนี้ดำเนินการเป็นระยะที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้คำตอบว่าทีมพี่เลี้ยงในระดับชุมชนควรจะเป็นใครบ้าง ต้องมีวิธีคิดและวิธีการทำงานอย่างไรถึงจะสามารถสร้างพื้นที่เรียนรู้แนวบวกให้แก่เยาวชนได้ ซึ่งการที่เยาวชนในหมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆจะเกิดกระบวนการเรียนรู้พัฒนาตนเองได้นั้น “พี่เลี้ยง” จึงเป็นกลไกสำคัญมาก เพราะเยาวชนยังอยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวจึงต้องการคนพาเดิน ยิ่งถ้าพี่เลี้ยงเป็นคนในชุมชนหรือเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นก็ยิ่งดีเพราะมีความไว้วางใจ และถ้ามีการร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชนที่ชอบสนับสนุนเด็กและเยาวชน จนเกิดการทำงานเป็นทีมจะยิ่งทำให้เกิดเป็นพลังบวก เพราะลำพังอาศัยเพียงเจ้าหน้าที่นั้นไม่เพียงพอในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับน้องๆ ในชุมชน.

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

"Satun Active Citizen" ต้นแบบการสร้างพลเมืองใหม่

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ