ข่าว

ตามจี้"ดีเอสไอ"ดำเนินคดี"อุตตม-ขัยณรงค์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทนายอิสระทวงถามความคืบหน้าคดีฟอกเงินปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย จี้ดำเนินคดี "อุตตม-ชัยณรงค์" ขณะที่ดีเอสไอ คาดอีก 2 เดือน สรุปสำนวนฟ้อง-ไม่ฟ้อง กลุ่มพานทองแท้ฟอกเงิน


          กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)- 11 มิถุนายน 2561 นายวันชัย บุนนาค ทนายความอิสระ เข้ายื่นหนังสือติดตามทวงถามความคืบหน้าคดีฟอกเงินจากการทุจริตอนุมัติเงินกู้จากธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มกฤษดามหานคร โดยมี ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ผอ.กองบริหารคดีพิเศษ เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว

          นายวันชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ยืนหนังสือของให้ดีเอสไอดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องในการทุจริตเงินกู้ของธนาคารกรุงไทย แต่ปรากฏว่ากรรมการธนาคารกรุงไทย 5 คนที่ร่วมกันอนุมัติปล่อยกู้ถูกดำเนินคดีและถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงโทษเพียง 3 คน โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ ทั้งสิน แม้ว่าบุคคลทั้ง 2 จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา แต่ไม่มีผลผูกพันกับคดีฟอกเงิน ดังนั้นดีเอสไอจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน รวมถึงธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาขน) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของกลุ่มกฤษดามหานคร โดยมีพฤติการณ์ปรับโครงสร้างหนี้ให้จาก 7,800 ล้านบาท เหลือ 4,500 ล้านบาท หากกลุ่มกฤษดาไม่ได้รับการปรับลดหนี้ก็คงไม่เกิดการทุจริตและการฟอกเงิน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาตนได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้ดีเอส ไอดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 รายแต่ก็ไม่เคยได้รับทราบความคืบหน้าใดๆเลยจึงจำเป็นต้องมาทวงถามความคีบหน้า เนื่องจากคดีจะครบอายุความ 15 ปีภายในเดือนธันวาคม 2561 

          ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้แจ้งผลการดำเนินการให้นายวันชัยทราบเป็นระยะๆ แล้วส่วนรายละเอียดทางสำนวนไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นรายละเอียดในสำนวนคดี

          รายงานข่าวจากดีเอสไอ ระบุว่า สำหรับคดีฟอกเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของนายพานทองแท้ ชินวัตร วงเงิน 10 ล้านบาทและ 26 ล้านบาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายมาจากกลุ่มผู้บริหารกฤษฎามหานครภายหลังได้อนุมัติเงินกู้ พนักงานสอบสวนที่มีอัยการเข้าร่วมสอบสวนได้สรุปสำนวนเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปกองคดีภาษีอากรอยู่ระหว่างการทำรายงานสรุปผลการสอบสวน เพื่อให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันลงมติว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ โดยมีแนวโน้มว่าจะให้พนักงานสอบสวนแต่ละคนมีอิสระในการลงมติว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องอย่างไร โดยต้องมีเหตุผลประกอบความเห็นของตัวเอง จากนั้นจะนำมติของพนักงานสอบสวนเสนอให้อธิบดีดีเอสไอลงความเห็นฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีเพื่อส่งสำนวนไปให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษพิจารณาโดยขั้นตอนดังกล่าวคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน


 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ