ข่าว

"ขยะทำเงิน" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

PTTGC ดึงนักวิชาการสถาปัตย์ ลาดกระบังฯ ส่งเสริมประชาชนเห็นคุณค่าขยะ แปรเป็นสินค้าเพิ่มมูลค่า ผ่านโครงการ Upcycling Plastic Waste ลดขยะล้นเมือง แก้สิ่งแวดล้อม

 

          23 พ.ค. 61 - นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาขยะในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ส่งผลเฉพาะสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย บริษัทให้ความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านโครงการ Upcycling Plastic Waste โดยทำงานร่วมกับหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักศึกษา ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ๆ ให้มุ่งมั่นพัฒนาการนำขยะพลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้ว มาแปรรูป ผ่านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้าน ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและยาวนาน 
 

 

\"ขยะทำเงิน\" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

          “โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยโครงการที่โดดเด่น คือ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ประเทศสเปน เพื่อมุ่งส่งเสริมการจัดการปัญหาขยะในทะเลและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทยให้สวยงามอย่างยั่งยืน (Upcycling the Oceans, Thailand) ได้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าจากการรีไซเคิลขวดพลาสติกนำมาจำหน่าย และใช้ในหลากหลายกิจกรรม เช่น เสื้อวิ่งมาราธอน และคาดว่าปลายปีนี้จะมีสินค้าสู่ตลาดที่จะนำมาให้ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อมจากการ Upcycling Plastic Waste” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

 

\"ขยะทำเงิน\" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

          น.ส.จารุพัชร อาชวะสมิต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่า ขยะ พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงแต่กระบวนการผลิตมากกว่าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนหากไม่มีกำจัดขยะอย่างถูกต้อง อีกทั้งขยะส่วนใหญ่สามารถนำกลับมาให้เกิดประโยชน์ได้ เพียงแต่ต้องรู้จักการนำมารีไซเคิลใหม่ เพิ่มมูลค่า ที่สำคัญต้องกระตุ้นการรับรู้ของภาคประชาชนว่าขยะสสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้เขาได้อย่างไร จึงได้พยายามส่งเสริม สนับสนุนในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะ หรือของเสียที่ไม่ได้ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ จึงได้ร่วมมือหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ และของเสียต่างๆ อัพเกรดการรีไซเคิล โดยใช้การออกแบบเข้ามามีส่วนร่วมแปรรูปเป็นสินค้า

 

\"ขยะทำเงิน\" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

          น.ส.จารุพัชร กล่าวต่อไปว่า ล่าสุดได้ร่วมกับทาง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ที่มีนโยบายสิ่งแวดล้อมชัดเจนในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเห็นคุณค่าของขยะ เช่น มีหน่วย R&D ที่ระยอง ทำวัสดุจากขยะเป็นโพลิเอทิลีน สูตรจากขยะพลาสติกรีไซเคิลได้ถึง 100% ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ อาทิ กระเป๋า แผ่นผ้ารองจาน จากแผ่น ทำให้เป็นเส้น ใช้เครื่องถัก เส้นด้าย+เชือก จากขยะขวดน้ำดื่ม เป็นต้น

 

\"ขยะทำเงิน\" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

          รวมถึงได้ลงพื้นที่ในชุมชน ไปสอนให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปขยะ เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของขยะ แทนที่จะทิ้งขยะจนล้นชุมชน ล้นเมือง มาแปรรูปเป็นสินค้า เพิ่มรายได้จนตอนนี้ชาวบ้านไม่มีใครโยนทิ้งแต่จะส่งให้PTTGC เพื่อนำมาแปรรูป ดังนั้น หากต้องการให้ประเทศไทยมีจำนวนขยะที่น้อยลง ต้องสร้างจิตสำนึก และทำให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของขยะ และช่วยกันลดปริมาณขยะ ขณะเดียวกันภาครัฐ กลไกตลาดก็ต้องช่วยส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิลมากขึ้น.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ