ข่าว

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทีมนักวิจัยจาก 3 สถาบันการศึกษาในภาคเหนือ จับมือหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดตัว "DustBoy" ให้ประชาชนกำหนด "People AQI" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

               รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญในการนำเสนอข้อมูลปัญหาหมอกควัน และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศมาโดยตลอด

               จังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาหมอกควันมานานเป็น 10 ปี แต่การแจ้งเตือนภัยปัญหาหมอกควัน ด้วยเครื่องวัดคุณภาพทางอากาศยังมีไม่ครอบคลุม กระทั่งได้รับโจทย์จากหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ว่า อยากได้เครื่องมือแจ้งข้อมูลคุณภาพอากาศให้ประชาชนได้รับทราบโดยเร็วที่สุด เพราะแต่ละวันข้อมูลจากภาครัฐยังไม่ครอบคลุมทุกจุด จึงได้หารือกับนักวิจัย ดร.อาทิตย์ ยะวุฑฒิ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา และอาจารย์ลริศรา สาตะรักษ์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิยาลัยแม่ฟ้าหลวง พัฒนาเครื่องมือตรวจวัด ร่วมกันพัฒนาของระบบของซิสเต็ม และเน็ตเวิร์ค รวมทั้งไลน์บอท แอด ชื่อว่า DUSTBOY เพื่อเช็กคุณภาพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่
               โดยจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการแถลงข่าว การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน People AQI วันนี้ (29 มี.ค.) ภายใต้เครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยวิกฤตหมอกควันด้วยดัชนีคุณภาพอากาศภาคประชาชน หรือ People AQI ซึ่งถือว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่กำหนดการเตือนภัยกันเอง เมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตรายจากค่าฝุ่นขนาดเล็ก โดยเบื้องต้นนำร่อง 6 สถานี และในปลายปีนี้จะมี 20 สถานี ในจำนวนนี้ 11 จุด จะร่วมมือกับทางกรมอนามัยเข้าไปติดตั้งเครื่องมือในโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ยังมีเครื่องมือในการวัดคุณภาพอากาศไม่ครอบคลุม ทั้ง PM 10 และ PM 2.5 ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่มีสถานีวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 เพียง 1 - 2 สถานีเท่านั้น

 

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

"DustBoy" เตือนภัยเมื่อฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

 

               ทั้งนี้ ได้ใช้วิธีการเชื่อมโยงจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์ โดยใช้เซ็นเซอร์ที่สามารถวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ โดยคำนวนเป็นค่าดัชนีคุณภาพอากาศ ใช้วิธีการของกรมควบคุมมลพิษ แต่ปรับเกณฑ์ให้ใกล้เคียงมาตรฐาน USEPA เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ใช้การวัดคุณภาพทางอากาศ PM 2.5 แต่หากว่าในอนาคตรัฐบาลประกาศให้ใช้การวัดคุณภาพทาองกาศ PM 2.AQI ก็สามารถที่จะปรับรูปแบบใช้ได้ นอกจากนี้เน็ตเวิร์คเครื่องมือนี้สามารถเก็บข้อมูลฝุ่นรายสิบวินาทีได้ในแต่ละจุด และจะส่งข้อมูลเข้ามาซึ่งใช้บิ๊กดาต้าในการเก็บข้อมูล เมื่อทุกอย่างเชื่อมต่อกัน จะรายงานผลทำบนเว็บไซต์ www.cmuccc.org ทำให้ทราบว่าคุณภาพอากาศจุดที่อยู่นั้นมีอากาศดีหรือไม่ดี ด้วยการแสดงเป็นแถบสี ข้อความแนะนำ จากนั้นก็เข้ามาเชื่อมต่อกับไลน์แชทบอท DUSTBOY ซึ่งหลังจากนี้ประชาชนชาวเชียงใหม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นเพื่อนด้วยไลน์ และผ่านการสแกนจากคิวอาร์โค้ด ทำให้ต่อไปไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหน หากว่าอยากทราบว่า สถานีไหนมีสภาพอกาศอย่างไรก็สามารถเปิดไลน์ ตรวจดูค่าคุณภาพอากาศ และเตรียมตัวรับมือกับสภาพอากาศที่ปกติ หรือมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานได้
               รศ.ดร.เศรษฐ์ กล่าวอีกว่า การพัฒนาฮาร์มแวร์ ซิสเต็ม และเครื่องมือสื่อสาร ไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุนเท่าใดนัก ใช้จากต้นทุนที่มีอยู่ โดยเบื้องต้นในแต่ละสถานีใช้งบประมาณเพียง 20,000 หากว่าต่อไปเครื่องนี้หากนำไปพัฒนาต่อ และมีเครือข่ายเข้ามาสนับสนุนมากขึ้น โดยมั่นใจว่าจะเป็นแนวทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ คนในภาคเหนือ และกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบ โดยเป้าหมายในอนาคตจะมีการพัฒนาให้เกิดสถานีวัดคุณภาพอากาศลักษณะนี้ทั่วภาคเหนือ และอยากให้เครือข่ายเกิดจากการพัฒนาจากประชาชนในภาคเหนือ และเป็นการทำแบบลักษณะโอเพ่นดาต้า เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกันมากขึ้น เพราะขณะนี้ประชาชนยังไม่มั่นใจว่าอีกกี่ปีจะแก้ไขปัญหาหมอกควันได้ ดังนั้่น เครื่องมือนี้ จะเข้ามาทำหน้าที่แจ้งเตือนให้ประชาชนต้องทราบว่าเกิดปัญหาหมอกควันต้องปฎิบัติ และรับมือความอันตรายอย่างไร โดยทางกลุ่มนักวิจัยในครั้งนี้ และหอการค้าเชียงใหม่คาดหวังว่า เครื่องนี้สร้างองค์ความรู้และเข้าใจค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง PM 2.5 และ PM 10 ให้กับประชาชนได้รับรู้ว่ามีอันตรายที่ต้องระวังตัวอย่างไร

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ