ข่าว

ปราจีนบุรีเปิด “ตลาดประชารัฐต้องชม”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดแล้ว "ตลาดประชารัฐต้องชม" ตลาดน้ำวัดใหม่กรงทอง สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

 

               17 ธ.ค. 60  นายสุชาติ สินรัตน์ ที่ปรึกษาพาณิชย์ เป็นประธานเปิดโครงการ "ตลาดประชารัฐต้องชม" ตลาดน้ำวัดใหม่กรงทอง โดยมีนายทิวา วัชกาฬ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวรายงาน ซึ่งมี พระพิศาลศึกษากร เจ้าคณะจังหวัด นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (อบจ.) พาณิชย์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด นายอำเภอศรีมหาโพธิ และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชน ให้การต้อนรับ

               สำหรับตลาดน้ำวัดใหม่กรงทอง ตั้งอยู่ที่ตลาดท่าประชุม ต.ศรีมหาโพธิ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี เดิมทีเป็นที่อาศัยอยู่ของปลาประจำถิ่นจำนวนมาก คณะกรรมการวัดเล็งเห็นว่าน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงได้สนับสนุนจัดซื้อพันธุ์ปลามาเพาะและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำบริเวณหน้าวัดใหม่กรงทอง พร้อมทั้งจัดให้มีตู้อาหารปลาให้กับนักท่องเที่ยว จึงทำให้วัดใหม่กรงทองเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในละแวกนี้และใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่ได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้ทำทานและเพลิดเพลินกับการให้อาหารปลา พร้อมทั้งชื่นชมวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งชาวไทยเชื้อสายลาวพวน , จีน , ชาวไทยเชื้อสายเขมร จึงเกิดการรวมตัวของแม่ค้าพ่อค้าในพื้นที่ ในการนำอาหารพื้นบ้าน , สินค้าท้องถิ่นมาขาย และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็น “ตลาดประชารัฐต้องชม” โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับคณะกรรมการการตลาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

               อนึ่งยังเป็นแหล่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อาทิ เป็นท่าเรือ - ย่านชุมชนการค้าในท้องถิ่น ทั้งชาวบ้านในพื้นที่ , ชาวไทยเชื้อสายลาวพวน , จีน , ชาวไทยเชื้อสายเขมร จนเป็นที่มาของ “ตลาดท่าประชุม” และเคยเป็นท่าเทียบเรือในอดีตที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นแม่น้ำปราจีนบุรีขึ้นที่ท่าน้ำนี้ ก่อนเสด็จประพาสดงพระศรมหาโพธิ์ และทรงลงพรปรมาภิไธยย่อ “จปร.รศ.127” ที่อนุสาวรีย์ลายพระหัตถ์ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ