ข่าว

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมศิลปากร ระบุ เศษเซรามิก-กระเบื้องที่กะเทาะมอบให้วัดอรุณฯ ทั้งหมดแล้ว ไม่ทราบนำไปทำวัตถุมงคลหรือไม่


               กระแสวิพากษ์วิจารณ์ “กรมศิลปากร” อย่างหนัก ในโซเชียลมีเดีย ถึงการดำเนินการบูรณะพระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร มีการตั้งคำถามเหตุใดหลังการบูรณะพระปรางค์ มีสีขาวโพลน การแกะกระเบื้องสี ลวดลายกระเบื้องเปลี่ยนไป และถูกมองว่าทำการบูรณะเสียจนไม่เหลือร่องรอยความสวยงามเช่นในอดีต

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               เสียงวิจารณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ อธิบดีกรมศิลปากร “นายอนันต์ ชูโชติ” แถลงข่าวชี้แจงต่อสื่อมวลชนที่มารอนำเสนอข่าวการดำเนินบูรณะพระปรางค์ วัดอรุณฯ โดย นายอนันต์ กล่าวว่า กรมศิลปากรยินดีน้อมรับทุกคำวิพากษ์วิจารณ์ และถือเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมในฐานะที่พระปรางค์วัดอรุณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าที่สำคัญยิ่งและเป็นสมบัติร่วมของเราชาวไทยทุกคน พระปรางค์ วัดอรุณฯ เป็นโบราณสถานเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และปัจจุบันพระปรางค์เปรียบเสมือนมหาธาตุของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นานาชาติรับรู้ถึงความสง่างาม เช่นนี้จะเห็นได้ว่า พระปรางค์ วัดอรุณฯ เป็นโบราณสถานที่มีชีวิต ไม่ใช่ซากโบราณสถาน ในแบบอยุธยา สุโขทัย หรือที่อื่นๆ

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               จากการศึกษาภาพถ่ายพบว่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2409 และรัชกาลที่ 5 จะเห็นภาพองค์พระปรางค์เป็นสีขาวโพลน มาถึงสภาพปัจจุบัน จากเหตุแผ่นดินทรุดตัวบริเวณด้านหน้าพระปรางค์องค์ประธาน ในปี 2554 ครั้งนั้น กรมศิลปากร ได้เข้าไปตรวจสอบความมั่นคงทางด้านโครงสร้าง และได้ตรวจสอบสภาพองค์พระปรางค์ในด้านอื่นๆ ก็พบว่ามีชิ้นส่วนปูนปั้นเทวดาทรงม้าในคูหาของพระปรางค์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ พระศอ (คอ) หักลงมา จึงได้เริ่มเข้าไปตรวจสอบสภาพพระปรางค์ทั้งองค์ ก็เห็นได้ชัดว่า มีสภาพเสื่อมโทรม มีตะไคร่น้ำ เชื้อราเกาะจนเป็นสีดำ รวมถึงลวดลายด้านหน้าพระปรางค์ที่ใช้เซรามิกดินเผา มาประดับลวดลาย และใช้ตัดขอบเป็นรูปทรงต่างๆ ชำรุดแตกร้าว

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               การสำรวจดังกล่าวนำมาสู่การดำเนินการบูรณะพระปรางค์ วัดอรุณฯ  อธิบดีกรมศิลปกากร บอกว่า วางกรอบแนวคิดว่าเป็น “การบูรณะเพื่ออนุรักษ์ศิลปกรรมตั้งสมัยรัชกาลที่ 2”  แม้หลายยุคการบูรณะเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่ความเป็นพระปรางค์จำเป็นต้องบูรณะในเชิงศิลปกรรมให้คงเดิมเอาไว้ กรอบแนวคิดนี้จะต่างกับการบูรณะโบราณสถานที่อยุธยาหรือสุโขทัย ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญของการทำงาน เพราะเราต้องคงความเป็นวัดที่มีชีวิต วัดที่คนยังไปกราบไหว้ และทำพิธีกรรมทางศาสนา หรือเป็นโบราณสถานที่มีชีวิต โดยเลียนแบบของเดิม สิ่งที่ชำรุดก็ทำขึ้นใหม่

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               พร้อมกันนี้ ได้มีการบันทึกหลักฐานของงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ไว้ทั้งก่อนดำเนินการและระหว่างกำเนินการ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างละเอียด ใช้งบประมาณ ระยะเวลาและบุคลากร ค่อนข้างมาก โดยได้นำเครื่องสแกน 3 มิติ สำรวจทุกมุมทุกด้าน โดยเฉพาะปรางค์ประธาน ปรางค์ประจำมุม และบุษบกประจำทิศ  ซึ่งรวบรวมลวดลายเซรามิกทั้งหมดมีจำนวน 120 ลาย มีการคัดลอกลายไว้เป็นหลักฐานก่อนที่จะมีการบูรณะ

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               นายอนันต์ อธิบายอีกว่า ในส่วนพื้นผิวปูนฉาบและกระเบื้องประดับพระปรางค์ ได้ทำความสะอาดพื้นผิดตะไคร่ที่ก่อให้เกิดคราบดำแก่องค์พระปรางค์ กะเทาะปูนบริเวณที่ผุเปื่อยหรือเสื่อมสภาพออก ทำความสะอาด แล้วฉาบปูนใหม่เสริมความมั่นคง โดยใช้ปูนหมักตามกรรมวิธีโบราณ ซึ่งสีของเนื้อปูนดังกล่าวเป็นสีขาวโดยธรรมชาติ เมื่อบูรณะเสร็จแล้ว ภาพรวมขององค์พระปรางค์จึงเป็นสีขาว ทั้งนี้ การทำความสะอาดคราบดำจากตะไคร่น้ำนั้น ทำให้เส้นรอบนอกของลวดลายกระเบื้องที่ดูชัดเจนจากคราบดำเหล่านั้นลดลง

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               “สิ่งสำคัญที่สุดในการบูรณะ คือ การเก็บข้อมูลสภาพก่อนดำเนินการ ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราใช้เวลา งบประมาณ และบุคลากรในการดำเนินการค่อนข้างมาก เพราะวัดอรุณถือเป็นสัญลักษณ์ ความงามของกรุงเทพมหานครที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผลจากการเก็บข้อมูลนำไปสู่การวิเคราะห์ เพื่อบูรณะในส่วนที่เสียหาย อะไรที่แตกร้าวก็จำเป็นต้องมีการกะเทาะออกแล้วฉาบเข้าไปใหม่ ในทำนองเดียวกัน ปูนและพื้นผิวที่หลุดร่อนเสื่อมสภาพก็ต้องมีการทำความสะอาดและฉาบเข้าไปใหม่ พวกแตกลายงา โป่งพอง ก็ต้องกะเทาะและฉาบปูนใหม่ เป็นต้น”

 

กรมศิลป์แจงดราม่า “พระปรางค์ วัดอรุณ” สีเพี้ยน

 

               อย่างไรก็ตาม การจัดทำเซรามิกที่ชำรุด สิ่งที่เผาใหม่ เพื่อนำมาเสริมลายเซรามิกที่ชำรุดผุกร่อน ยืนยันว่าคัดลอกจากรูปแบบ ให้คงเดิมแล้ว สีก็จำเป็นต้องมีความใกล้เคียงสีเดิมมากที่สุด ในการบูรณะครั้งนี้ ตัวลายเซรามิกที่เสื่อมสภาพจำเป็นต้องเซาะออก และทำใหม่ประมาณ 40% ประมาณ 120,000 ชิ้น จากทั้งลวดลายทั้งหมดกว่า 300,000 ชิ้น เพราะฉะนั้นลายเดิมอีก 60% ก็ยังคงอยู่ ส่วนลายใหม่ 40% เป็นผลจากการวิเคราะห์และจัดทำลายขึ้นใหม่อย่างละเอียด” นายอนันต์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ ดำเนินการมา 5 ปี และจะส่งมอบงานในเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งคิดว่าจะยังส่งมอบงานตามกำหนดเดิม

               “ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าเศษเซรามิก และกระเบื้องที่กะเทาะออกทั้งหมด กรมศิลปากรได้นำทั้งหมดมอบให้แก่ทางวัดอรุณฯ ส่วนที่บอกว่ามีการนำไปทำวัตถุมงคลตรงนี้ไม่ทราบ แต่ผมบอกได้ว่า กรมศิลปากรไม่ได้ทำแน่นอน” นายอนันต์ กล่าวในที่สุด

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ