ข่าว

กลุ่มแท็กซี่สาธารณะ ชุมนุมหน้าสภา  ชูป้ายต้าน "อูเบอร์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

”ครูหยุย”ตั้งกระทู้ถามมาตราการจัดการ “อูเบอร์”  ด้านกลุ่มแท็กซี่สาธารณะ ชุมนุมหน้าสภา  ชูป้ายต้าน จี้ หากให้บริการต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

          23 มิ.ย.60–การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ทำหน้าที่ประธาน  ได้พิจารณากระทู้ถาม ของนายวัลลภ  ตังคณานุรักษ์ สนช.ที่ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถึงปัญหาการให้บริการรถยนต์ป้ายดำผ่านแอพพลิเคชั่น หรือ อูเบอร์ โดยถามว่า มีนโยบายในการให้บริการรถอูเบอร์ให้ถูกกฎหมายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการรถยนต์สาธารณะหรือไม่ ขณะเดียวกัน มีมาตรการไม่เกิดการกระทบกระทั่งกันหรือความขัดแย้งระหว่างผู้ขับแท็กซี่กับผู้ขับรถอูเบอร์หรือไม่

                  กลุ่มแท็กซี่สาธารณะ ชุมนุมหน้าสภา  ชูป้ายต้าน "อูเบอร์"

          นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของกระทรวงว่าจะนำอูเบอร์เข้ามาในระบบโดยวิธีการใด ซึ่งก็มีอยู่ 2 แนวทาง คือ ทำให้ถูกกฎหมายหรือออกกฎหมายใหม่ ซึ่งทั้ง2 แนวทางก็มีข้อดีข้อเสียที่จะต้องศึกษาให้รอบคอบและมีคำตอบให้ชัดเจนเพื่อเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้บริการ ตัวแท็กซี่ที่มีประมาน 120,000 คัน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศด้วย

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลาเดียวกัน ได้มีกลุ่มผู้ขับแท็กซี่สาธารณะ กว่า 30 คนนำรถแท็กซี่มาจอดเป็นแถวยาวหน้าบริเวณรัฐสภา เพื่อคัดค้านรถอูเบอร์พร้อมทั้งชูป้าย “ครูหยุยไปช่วยเด็กและสตรีอย่ามาช่วยอูเบอร์เลย”ซึ่งได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยด้วย ทั้งนี้นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายพรเพชร  วิชิตชลชัย ประธานสนช. ผ่านรองเลขาธิการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบอาชีพรถแท็กซี่ที่อยู่ภายใต้กฎหมายพ.ร.บ.2522 

             กลุ่มแท็กซี่สาธารณะ ชุมนุมหน้าสภา  ชูป้ายต้าน "อูเบอร์"

            โดยนายวรพล กล่าวว่า ปัจจุบันมีการสนับสนุนต่างชาติ เช่นบริษัท อูเบอร์ ได้เข้ามาทำธุรกิจรับส่งผู้โดยสารและบริษัทแกร็บคาร์  ที่เข้าทำธุรกิจประเภทเดียวกันซึ่งถือเป็นการจงใจแย่งงานและทำลายอุตสาหกรรมประเทศไทย เป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้รถบ้านหรือรถป้ายดำ ในการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร นอกจากนี้ผู้โดยสารยังจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต อันเป็นการนำเงินรายได้ที่ควรเป็นของคนไทยออกนอกประเทศ ดังนั้นถ้าบริษัท อูเบอร์ ต้องการจะทำธุรกิจนี้ในประเทศไทยต้องอยู่ในกรอบและกฎหมายเดียวกับแท๊กซี่ คือ ต้องจดทะเบียนรถยนต์เป็นรถสาธารณะ และมีใบขับขี่สาธารณะ จึงขอความเป็นธรรมและคัดค้านการดำเนินกิจการที่ผิดกฎหมายนี้.

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ