ข่าว

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ชุมชนบ้านบุ ชุมชนในกรุงเทพมหานครที่มีชื่อเสียงในด้านหัตถกรรม

     ชุมชนบ้านบุ เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย เป็นอีกหนึ่งชุมชนในกรุงเทพมหานครที่มีชื่อเสียงในด้านหัตถกรรมที่เป็นมรดกสืบสานมายาวนานหลายชั่วอายุคน นั่นคือการทำ “ขันลงหิน”ต่อมาความนิยมในการทำเริ่มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่เข้ามามีบทบาทในการผลิต ประกอบกับการสานต่อภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นลดน้อยลง

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

      ณ ปัจุจบันคงเหลืออยู่เพียงบ้านเดียวเท่านั้นที่ยังคงผลิตขันลงหินด้วยวิธีการดั้งเดิม โดยมีผู้สืบทอดต่อคือ คุณเมตตา เสลานนท์ หรือ ครูต้อย ผู้ดูแลโรงงานขันลงหิน เจียมแสงสัจจา ถือเป็นทายาทคนสุดท้ายที่จะสืบทอดมรดกภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมชิ้นนี้ไปพร้อมกับช่างรุ่นสุดท้ายจำนวนหนื่ง ซึ่งอายุแต่ละคนก็มากกว่า 60 ปีกันแล้ว
      ในอดีตขันลงหินนิยมนำใส่น้ำ หรือน้ำมนต์ บุคคลระดับเจ้าขุน หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะมีใช้ เนื่องจากหายากเพราะผลิตน้อย และมีราคาแพง ขันลงหินบ้านบุนั้นได้รับการคัดสรรให้เป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 5 ดาว เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นงานที่มีความปราณีตสวยงาม และที่สำคัญคือทำด้วยมือ บ่งบอกถึงศิลปะและภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

      ขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งขันหนึ่งใบนั้นไม่ง่ายเลย  "ทั้งหมดมี 6 ขั้นตอน" ช่างตี๋ ผู้รับหน้าที่ตีขึ้นรูป อธิบายถึงขั้นตอนในการทำ เริ่มต้นจากนำทองแดง ดีบุก และเศษทองสำริด ในอัตราส่วน 7 ต่อ 2 ต่อ 1 มาหลอมในเบ้า ใช้เวลาประมาณ 15 นาที  เมื่อได้ที่แล้วเทใส่แม่พิมพ์ทรงกลม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์ จากนั้นนำไปตีแผ่ให้ได้ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางตามความต้องการ แต่ต้องไม่ตีในขณะที่โลหะกำลังร้อนแดง หรือเย็นจนเปลี่ยนเป็นสีดำ เพราะจะทำให้เนื้อโลหะแตกและขึ้นรูปไม่ได้ ต่อไปคือการนำมาตีขึ้นรูป เมื่อตีจนได้รูปทรงตามต้องการแล้ว นำไปเผาไฟอีกครั้งแล้วโยนลงน้ำทันที ข้อดีของการโยนลงน้ำในทันที่คือทำให้ภาชนะคงรูปมีตวามแข็งมากขึ้น จากนั้นจึงส่งต่อให้ช่างตีลาย

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ  
"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ
      
      แต่ก่อนที่จะทำการตีลายต้องเอาภาชนะไปมอม (ทา) ด้วยดินหม้อก่อน เพื่อจะได้มองเห็นจุดที่ต้องแก้ไขได้ง่ายขึ้น โดยใช้ค้อนทุบเพื่อเก็บรอยค้อนที่เกิดจากการตีขึ้นรูปและแต่งเนื้อของภาชนะให้เรียบตึง มีรูปทรงชัดเจน  จากนั้นนำไปตัดขอบปากให้เรียบ ขั้นตอนต่อไปคือการกลึง การกลึงมี 2 แบบ คือกลึงทั้งด้านนอกด้านในของภาชนะ เรียกว่า"กลึงขาว"  และ กลึงเฉพาะด้านในเรียกว่า "กลึงดำ" เมื่อกลึงเสร็จแล้วนำไปเจียให้เรียบ จึงนำไปขัดต่อด้วยกระดาษทรายละเอียด ตามด้วยลูกผ้าลงยาขัด เพื่อสร้างความเงางามให้กับชิ้นงาน
ในอดีตจะขัดเงาด้วยหินหรือเบ้าหลอมที่ทุบจนละเอียดมาผสมน้ำแล้วห่อด้วยผ้า ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า "ขันลงหิน" ขั้นตอนสุดท้ายที่จะส่งให้งานชิ้นนี้โดดเด่นและมีคุณค่ายิ่งต่อผู้ครอบครอง คือการสลักลายโบราณลงบนขัน ซึ่งมีด้วยกันสองแบบ คือ ลายน้ำมะลิวัลย์ และลายกนก โดยขั้นตอนนี้จะส่งไปให้ช่างที่จังหวัดฉะเชิงเทราทำ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ
 

      กว่าจะได้ขันลงหินมาหนึ่งใบ ช่างต้องใช้แรงกาย และต้องอดทนต่อความร้อนในการตีโลหะอยู่หน้าเตาเป็นเวลานาน ด้วยวัยและสังขารที่ไม่เอื้ออำนวยของช่าง
      โดยครูต้อยเองก็ยังหวั่นๆ ในเรื่องของช่างที่จะมาสานต่องานตรงนี้ ตอนนี้ยังหาคนมาทดแทนใหม่ไม่ได้ เนื่องจากเป็นงานที่หนักและต้องเป็นคนที่รักงานนี้จริง อย่างไรก็ตามจะพยายามยืดเวลาออกไปให้นานสุดความสามารถ หากว่าวันหนึ่งจะต้องเลิกทำ ครูต้อยกล่าวทิ้งท้าย
      เเพราะเหตุนี้หรือไม่ที่การสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการทำ “ขันลงหิน” จึงใกล้เลือนหายไป แล้วทิศทางในอนาคตจะเป็นเช่นไร น่าติดตาม.... 

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

"ขันลงหิน" บ้านบุ ที่กำลังรอผู้สานต่อ

                        

เรื่อง / ภาพ อนันต์ จันทรสูตร์  / NationPhoto

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ