ข่าว

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บ้านบาตร ชุมชนเก่าแก่ในเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนแห่งแรกและแห่งเดียวที่ยังคงยึดอาชีพทำบาตรพระด้วยมือ : เรื่อง/ภาพ ธนาชัย ประมาณพาณิชย์

     บ้านบาตร อีกหนึ่งชุมชนเก่าแก่ในเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนแห่งแรกและแห่งเดียวที่ยังคงยึดอาชีพทำบาตรพระด้วยมือ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกเมรุปูน ซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมืองและถนนบริพัตร ไม่ไกลจากวัดสระเกศ สิ่งแรกที่สัมผัสได้เมื่อเข้าไปในชุมชนคือเสียงค้อนที่ตีเหล็กดังกังวานไปทั่ว เปรียบเสมือนเสน่ห์ของชุมชนก็ว่าได้

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

     วัสดุที่ใช้ทำบาตรในอดีตคือ ตัวถังเหล็กยางมะตอย ที่ทางเทศบาลกรุงเทพมหานครใช้ใส่ยางมะตอยเพื่อราดถนน เมื่อถึงเวลาจะมีคนนำถังยางมะตอยที่ใช้แล้วมาส่งให้ที่ชุมชน ราคาประมาณ 10 กว่าบาทต่อถัง 1 ใบ โดยถังยางมะตอยทำจากเหล็ก มีเนื้อบาง ทำให้สามารถตีบาตรได้ง่าย สะดวก และราคาไม่แพง
แต่ปัจจุบัน เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นจึงทำบาตรจากเหล็กแผ่น ที่ต้องหาซื้อเองจากแถวหัวลำโพง ราคาเฉลี่ยต่อบาตรใบละ 100 บาท สาเหตุที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลง เนื่องจากชาวบ้านบาตรชะงักการผลิตลงในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อทำบาตรใหม่อีกครั้งจึงต้องเริ่มต้นใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนคุณภาพบาตรให้ดีกว่าเดิม เพื่อแข่งขันกับ "บาตรปั๊ม" "บาตรบุ" จึงต้องทำจากเหล็กหนา ให้เป็นสินค้าที่ทำด้วยมือถูกต้องตามหลักพระวินัย บาตรจึงมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งวัสดุมีราคาสูง และค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นด้วยขั้นตอน

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

     ด้วยคุณสมบัติของบาตรที่ทำด้วยมือ เมื่อเทียบกับราคาแล้วถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับบาตรปั๊มที่ทำจากเครื่องจักร และยังมีความคงทนมีความหลากหลายในรูปทรงที่สืบทอดภูมิปัญญามาแต่โบราณ ทำขึ้นด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วยความเคารพในวิชาความรู้ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้สอยในการยังชีพทุกชิ้น บาตรของชาวบ้านบาตรจึงประกอบด้วยคุณค่าที่ผสานฝีมือแรงงานและจิตใจไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนบางครั้งการตีค่าความคุ้มค่าของบาตรอาจไม่สามารถกำหนดด้วยค่าเงินตรา แต่ควรเป็นค่าที่จิตใจมากกว่า (ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.banbatt.com)

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

     นางลักขณา พานาทอง อายุ 60 ปี ชาวชุมชนบ้านบาตรที่สืบทอดการทำบาตรมาตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ ตอนนี้เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว โดยป้าลักขณาเล่าตั้งแต่ครั้งแรกที่สนใจในอาชีพนี้ว่า ตนหัดทำบาตรเมื่อช่วงอายุ 14-15 ปี มีพี่สาวคอยหัดให้ กว่าจะเริ่มใช้งานได้ก็ใช้เวลาปีกว่า ทำเป็นหมดทุกอย่าง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
     โดยตนเองนั้นถนัดในการตีบาตร การตีต้องตีให้เรียบ ใบหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ต่อวันจะตีบาตรได้ประมาณ 4 ใบ ส่วนรายได้จะได้ต่อเมื่อทำงานในส่วนของตนและส่งงานเสร็จ ซึ่งแต่ละหน้าที่จะได้เงินไม่เท่ากัน แต่คนๆหนึ่ง ก็ไม่สามารถที่จะทำทุกขั้นตอนพร้อมกันได้ เพราะถ้าทำกว่าจะเสร็จหนึ่งใบต้องใช้เวลาร่วมอาทิตย์เนื่องจากการทำบาตรมีหลายขั้นตอน ทำให้แต่ละบ้านมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่ถนัด ซึ่งเป็นสิ่งที่แต่ละบ้านได้รับสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

     ป้าลักขณา เล่าต่อด้วยรอยยิ้มว่า สมัยนี้ดีที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาชมการทำบาตรมากขึ้น ซึ่งสมัยก่อนมีน้อย อาจเป็นเพราะสมัยนี้มีช่องการรับข่าวสารที่ทั่วถึง พอคนเห็นก็มาเที่ยวชม และยังซื้อบาตรพระใบเล็กๆ ติดไม้ติดมือเป็นที่ระลึกอีกด้วย
ในชุมชนยังมีเปิดการสอนขั้นตอนต่างๆในการทำบาตร ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่บ้านประธานชุมชน โดยผู้เรียนก็จะเป็นนักเรียน นักศึกษา เมื่อเริ่มทำเป็นแล้วก็มีงานให้เด็กๆ ได้ลองทำเป็นการสร้างรายได้ยามว่างด้วยอีกทาง ซึ่งทางชุมชนยินดีสอนทุกอย่างทุกขั้นตอนในการทำบาตรแบบไม่ปิดบัง ใครสนใจสามารถเดินทางมาเรียนได้ 
     “อยากให้มีคนสนใจในการทำบาตรอยากให้อนุรักษ์สืบต่อไป และป้ามีความภูมิใจที่เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการทำบาตรให้พระทั่วประเทศได้ใช้” ป้าลักขณา ได้กล่าวทิ้งท้าย

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

"บ้านบาตร" ภูมิปัญญาที่รอการสืบต่อ

ภาพ ธนาชัย ประมาณพาณิชย์ / NationPhoto

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ