Lifestyle

สช.ดึงภาคการเมืองร่วมแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สช.ดึงภาคการเมืองร่วมแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ลดอันดับ 1ใน 10ตายบนท้องถนน

 

                ประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับ 9 ของโลกโดยลดลงจากอันดับที่ 2 แต่อุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซค์ ยังถือเป็นอันที่ 1 ของโลกอยู่ ณ ขณะนี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้นิ่งนอนใจ ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายสาธารณะว่าด้วย “การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน” โดยได้ดึงนักการเมืองรุ่นใหม่ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเสนอแนะวิธีแก้ไข หลังมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่บรรลุผล หวังกึ๋นคนรุ่นใหม่เสนอนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมาเป็น วันที่ 2 ของการจัดงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2561 

 

 

               โดยเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายสาธารณะว่าด้วย “การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน”ได้รับเกียรติจาก นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) นพ.แท้จริง ศิริพาณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ และนางเจนจิรัสตรา  วงศ์ประทุม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สสจ.อุดรธานี รวมถึงตัวแทนจากพรรคการ อย่างอ.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ พรรคอนาคตใหม่, นพ.คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ พรรคประชาธิปัตย์, นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์  พรรคเพื่อไทย ร่วมให้ความคิดเห็นอีกด้วย

               สถิติอุบัติเหตุทางถนนเป็นเหตุความสูญเสียที่สำคัญของประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันไทยขึ้นอันดับ 1 ใน 10 ของโลก กรณีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน โดยใน 1 ปี มีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนกว่า 20,000 คน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัญหาสุขภาพในหลายมิติ  อาทิ การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา อัตราการเพิ่มขึ้นของคนพิการที่ต้องดูแลต่อเนื่อง ฯลฯ ประเมินเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านต่อปี

              ที่สำคัญไปกว่านั้น ปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นปัญหาระดับชาติมาเป็นเวลานาน มีนโยบายระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาหลากหลายนโยบาย แม้แต่การรณรงค์จากภาคต่างๆ อาทิ ปีแห่งการสวมหมวกกันน็อค ตลอดจนมีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยทางท้องถนน และได้เข้าสู่มติสมัชชาชาติมาตั้งแต่ปี 2552 มีการแก้ปัญหามาแล้วหลายวิธี แต่กลับพบว่า ท้องถิ่นยังขาดองค์ความรู้ ทำให้มีการวิเคราะห์ว่าต้องอาศัยการแก้ปัญหาตั้งแต่ระดับพื้นที่ และให้บทบาทกับท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากตามสถิติ พบว่าอุบัติเหตุเกิดในถนนเส้นรองมากกว่าถนนสายหลัก มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากจักรยานยนต์ จึงเกิดแนวคิดให้ท้องถิ่นมาร่วมจัดการกับอุบัติเหตุทางท้องถนนด้วยตนเอง โดยมีการวางแผนการจัดการไว้เป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1.นโยบายที่จะสนับสนุนการจัดการของท้องถิ่นในอนาคต และ 2. แนวทางที่จะขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

                นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากในขณะนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคการเมืองต้องให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการเข้ามาแก้ไข โดยเราจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการเข้ามาแก้ไข มีงบประมาณในการจัดการ มีระบบติดตามกำกับ และจะต้องมีการร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยการผลักดันกฎหมายในส่วนของพื้นที่ ซึ่งนโยบายของพรรคการเมืองจะสะท้อนภาพเหล่านี้ออกาให้เห็น และจะสอดคล้องกับผลของซุปเปอร์โพลล์ที่เผยว่า 2 ใน 3 ของประชาชนอยากเห็นนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆจะแก้ไขเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างไร ซึ่งแน่นยอนว่านโยบายเหล่านี้จะมีผลถึงเรื่องการเมืองในอนาคตต่อไป

                ด้าน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้ความเห็นว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของประชาชนคนไทยถึงกว่า 3 หมื่นคนต่อปี ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้  เพราะนอกจากการสูญเสียชีวิตแล้วยังทำให้เครดิตของประเทศไทยต้องเสียไปด้วย ที่ผ่านมานั้นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเคยมีมติในเรื่องนี้อยู่แล้วรวมถึงได้มีการขับเคลื่อนไปแล้วพอสมควร แต่ก็ยังไม่ได้ผล เราจึงอยากฟังนโยบายในภาคการเมืองซึ่งก็ได้รักการตอบรับเป็นอย่างดี และวันนี้เราได้รับฟังแนวคิดในเรื่องการแก้ไขจากนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีข้อเสนอน่าสนใจหลายๆแนวคิด ซึ่งต่อไปเราก็อยากจะเห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างภาคการเมืองกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นการเมืองภาคพลเมืองผนึกกำลังกันแก้ปัญหาด้านอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมืองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จุดแข็งของเราอยู่ที่ภาควิชาการทำให้เรามีข้อมูลในการแก้ปัญหามากมาย แต่ที่ยังแก้ปัญหาต่างๆไม่ได้เพราะการบังคับใช่กฎหมาย หรือในเรื่องของจุดเสี่ยงภัยตามโค้งซึ่งเป็นปัญหาในด้านวิศวะกรรมซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ แต่จุดที่อ่อนที่สุดที่ต้องเร่งแก้ไขจริงๆคือในด้านของสังคมที่ยังขากการตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาตรงนี้เราจึงต้องช่วยให้ภาคประชาชนเปลี่ยนจากการเป็นผู้ชมมาเป็นผู้แสดง ซึ่งตรงนี้ต้องใช้เทคนิค กระบวนการซึ่งตรงนี้สมัชชาฯมีอยู่แล้ว และในปี 62 - 63 นี้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะขอชูธงเข้ามาแก้ไขเพื่อเอาชนะปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยใช้เครื่องมือและหน่วยงานทั้งหมดที่มีอย่างทรงประสิทธิภาพที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลากขึ้น

       

       สำหรับงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่  11 พ.ศ.2561 จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของระบบสุขภาพในโลกยุค 4.0 ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว รวมถึงกิจกรรมน่าเรียนรู้ นิทรรศการ และห้องเสวนานโยบายสาธารณะที่น่าสนใจอีกมากมาย สำหรับประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2561และสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.samatcha.org หรือ FB : เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ