Lifestyle

ผู้กำกับฯชั้นครูแนะคนรุ่นใหม่“ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ยุทธนา มุกดาสนิท" ศิลปินแห่งชาติ ด้านภาพยนตร์ฯคนล่าสุด แนะคนรุ่นใหม่ทำหนัง "ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ"

 

          งานเสวนา “เรื่องหนัง เรื่องละคร:ต้นทุนผู้กำกับแห่งอนาคต” โดยนายยุทธนา มุกดาสนิท ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ปี 2560 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ณ ห้อง 1504 อาคาร 1 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561

          จัดโดยหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นำโดย รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งทางสาขาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของรางวัลและบุคลากรในครั้งนี้ จึงได้จัดงานเสวนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ได้มาทำงานในสายอาชีพนี้ได้เรียนรู้ และซักถามข้อสงสัย ถึงต้นทุนและองค์ความรู้ที่ทำให้สามารถได้รางวัลนี้มา ทางสาขาจึงอยากกระจายความรู้ให้กับผู้ที่สนใจอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้รับฟัง

          รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล กล่าวเปิดงานว่า “ ทางสาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ความตั้งใจของหลักสูตรที่จัด “เสวนา” ขึ้นเพื่อแสดงความยินดีกับ อาจารย์ยุทธนา มุกดาสนิท ความตั้งใจคือเชิญท่านมาพูดคุย ในเรื่องของ ต้นทุนของผู้กำกับแห่งอนาคต เพราะเป็นสิ่งที่ตรงใจต่อหลักสูตรมากที่สุด เพราะเชื่อว่าต้นทุนหรือพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญ และคิดว่าหัวข้อนี้จะเป็นประโยชน์แก่พวกเรา และเป็นอะไรที่เราจะได้รับจากอาจารย์ยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งโดยตัวผมเชื่อว่าต้นทุนที่ดีต้องมีพื้นฐานที่ดีด้วย โดยส่วนตัวเชื่อมานานว่า การที่จะมีพื้นฐานที่ดีนั้นต้องมีองค์ประกอบคือบรรยากาศของการศึกษาที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี เป็นเรื่องสำคัญ โดยส่วนตัวคิดตลอดว่าสภาพบรรยากาศต้องเอื้ออำนวยกับการศึกษา”

 

ผู้กำกับฯชั้นครูแนะคนรุ่นใหม่“ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ”

 

          ยุทธนา มุกดาสนิท อาจารย์พิเศษทางวิชาชีพ และศิลปินแห่งชาติ ปี 2560 กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีมาก ขอบคุณรองศาสตราจารย์ บรรจง โกศัลวัฒน์ ขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ได้เชิญมาพูดคุยกัน ซึ่งเป็นภารกิจแรกที่เป็นเชิงวิชาการ หลักจากได้รู้ว่าตนเองได้เป็นศิลปินแห่งชาติ หวังว่าการเสวนา พูดคุยกันแบบคนทำหนัง ยิ่งคุยยิ่งจะสามรถต่อยอดความคิด และหวังว่าการพูดของผมในวันนี้อาจพอช่วยเป็นพื้นฐานหรือต่อยอดความคิดการจะกำกับการแสดง ของคนทำหนังยุคใหม่ และคนที่สนใจภาพยนตร์ก็จะได้รู้กระบวนการและวิธีการ แต่ไม่ใช่เป็นหลักการมากนัก

          โดยเป็นความคิดและวิธีการส่วนตัวของผม ที่เรียนรู้มาจากรองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เรียนรู้วิชาภาพยนตร์พื้นฐาน เมื่อเรียนจบมาก็ได้เรียนภาคปฏิบัติโดยการไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สิ่งที่อาจารย์สอนมาอย่างทฤษฏี เราไม่เข้าใจ แต่พอไปปฏิบัติเราจะเกิดความคิดว่า “อย่างนี้เองใช่ไหม” เพราะมันเชื่อมโยงกัน ทำให้เราเกิดความเข้าใจ ในวิธีการทำหนัง วิธีคิดของคนกำกับ วิธีเล่าเรื่อง

          ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ก็คือการเล่าเรื่องด้วยพากย์และเสียง พากย์มีไวยากรณ์ แกรมม่า ที่เราจะต้องเรียน เพื่อได้เป็นพื้นฐานให้เราได้พัฒนานอกหลักสูตร เป็นพื้นฐานให้เราสื่อสารเบื้องต้นกับบุคคลต่างๆ ได้ง่าย พอเราชำนาญแล้ว เราจะไปสร้างสรรค์ ต่อยอดโดยทิ้งทฤษฏีนั้นไปก็ได้ แต่ในความรู้สึกเราได้เรียนรู้มันมาแล้ว เป็นฐานให้เราก้าวพัฒนาอย่างรวดเร็วในการทำภาพยนตร์ ส่วนด้านภาพ การเล่นกล้องจัดแสงเพราะว่าภาพเป็นแค่เสียงและเงา เพราะฉะนั้นตัวที่จับภาพเข้ามา ผ่านตัวแสดง การถ่ายภาพคือ 50 เปอร์เซ็นต์ ของการทำภาพยนตร์เพียงแค่เรามีความเข้าใจ ว่ามันคือแสงและเงาเท่านั้น เพราะถ้าไม่มีแสงไม่มีเงาก็จะไม่มีภาพเกิดขึ้น เสียงคือเสียง พูด เสียงเอฟเฟค เสียงมิวสิค ที่จะมาประกอบกันกับภาพให้ทำให้เกิดความรู้สึกของการเล่าเรื่องนั้นให้ตรงไปสู่ประเด็นของเรา 

 

ผู้กำกับฯชั้นครูแนะคนรุ่นใหม่“ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ”

 

          สำหรับตัวผมเอง คิดว่าภาพยนตร์จะประกอบไปด้วยสาร และศิลปะภาพยนตร์ก่อนที่จะทำทุกครั้ง จะหาสารให้ได้ก่อนเพื่อที่จะเล่าเรื่องในรูปแบบของศิลปะภาพยนตร์ อย่างที่บอกว่าศิลปะภาพยนตร์ต้องเรียนพื้นฐาน แต่ไม่ใช่ว่าเป็นกฎแต่จะช่วยให้มีความรวดเร็วขึ้น สมัยก่อนไม่มีโรงเรียนให้ศึกษาก็ทำได้ แต่ต้องใช้เวลา 5-7 ปี ที่จะเรียนรู้จากการทำงาน แต่ถ้าเราเรียนพื้นฐานของภาพยนตร์ จะช่วยให้เราข้ามขั้น เริ่มสร้างสรรค์งานของเราได้รวดเร็วกว่าขึ้น 

          เมื่อวันที่เขาได้ประกาศให้ผมเป็นศิลปินแห่งชาติ ผมได้ให้คำคมจากความรู้สึกไปว่า “ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ” โดยแบ่งเป็นสองประโยคชัดเจน ซึ่งประโยคแรกก็คือ ทำในสิ่งที่รัก นั้นก็คือขั้นตอนแรกของการคิดหาเรื่อง และการพัฒนาหาบทไปจนถึงขั้น pre-production ทำในสิ่งที่รักก็คือว่าถ้าเป็นหนังแบบfull picture เราต้องอยู่กับมันอย่างน้อย 9 เดือน คือ 3 เดือน pre-production การหาเรื่องและการเขียนบทไปพร้อมกับการเตรียมงานการสร้าง 3 เดือน คือproductionการถ่ายทำ อีก 3 เดือนคือ post-production การตัดต่อ ลงเสียงมิกซ์เสียง 

          การที่เราเลือกทำในสิ่งที่เรารักมันจะทำให้เราอยู่กับมันไปได้อย่างยั่งยืนจนจบ เราจะต้องเจอปัญหาและอุปสรรคอีกมากมาย อยู่ที่เราจะต้องไม่ยอมแพ้เพราะว่าเราทำในสิ่งที่เรารัก เราจะต้องข้ามมันไปให้ได้ ในทุกประเด็นไม่มีคำว่าประนีประนอม ไม่มีคำว่ายอมและไม่ได้ ต้องได้เท่านั้น คือการเตรียมงานให้พร้อมและทำไปด้วยความรัก เราทำในสิ่งที่เรารักตอนนั้นเรามีเรื่องอะไร ที่อยากจะเล่าอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอกหัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง สังคม ให้เราเล่าด้วยความรู้สึกที่เราจะเกิดขึ้น ในแต่ละช่วงของชีวิต เราต้องสำรวจก่อนว่าเรารักในเรื่องแบบนี้จริงหรือเปล่า อยากจะเล่าเรื่องเล่านี้หรือเปล่า ไม่ว่าหนังจะเล็กหรือใหญ่ เมื่อเราทำในสิ่งที่เรารัก เราจะมีรักและศรัทธา มันจะมีพลังพาเราไปจนถึงสุดทางเมื่อหนังออกฉาย ฯลฯ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ