Lifestyle

แนะปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“การศึกษาผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทย เพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์กรความรู้ ด้านการบังคับคดีในระดับอาเซียน”

 

               7 ธันวาคม 2560 เวลา 13.30 น.  นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.ชโยดม สรรพศรี นักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทย เพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการบังคับคดีในระดับอาเซียน โดยผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ พบว่า มูลค่าการขายทอดตลาดทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามมา

 

แนะปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

               นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กรมบังคับคดีได้ร่วมกับคณะวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาวิจัยผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีการนำข้อมูลทรัพย์ที่ผลักดันผ่านกระบวนการประมูลขายทอดตลาดให้กลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2556 ถึง ปี พ.ศ. 2559 มาเป็นฐานในการประมวลผลขึ้นเป็นครั้งแรก โดย มีวัตถุประสงค์ดังนี้

               1) เพื่อสร้างเกณฑ์ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพในการผลักดันทรัพย์สิน (efficiency enforcement index) ของไทย

               2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทย

               3) เพื่อศึกษามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของไทย จากการผลักดันทรัพย์สินที่ทำให้เกิดการคืนเงินแก่เจ้าหนี้

               4) เพื่อศึกษาการนำทรัพย์สินที่ถูกผลักดันกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (free up asset)

 

แนะปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

               ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               1) จากผลการสำรวจประสิทธิภาพกระบวนการผลักดันทรัพย์สิน โดยจำแนกตามกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทคดี และกระบวนการแก้ปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ จะสะท้อนระดับประสิทธิภาพการผลักดันทรัพย์สิน และแสดงให้เห็นประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบในการผลักดันทรัพย์สินในแต่ละช่องทาง

               2) การประเมินผลกระทบของระดับประสิทธิภาพของการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจ และการประเมินผลกระทบจากการผลักดันทรัพย์สิน ต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าห่วงโซ่การผลิต ชี้ให้เห็นถึงบทบาทการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในทางตรงหรือทางอ้อม

               3) การนำทรัพย์ที่ถูกผลักดันออกไปกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยในการตัดสินใจของผู้ครอบครองรายใหม่มากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดีที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

               สำหรับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า การดำเนินงานผลักดันทรัพย์ผ่านระบบประมูลขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี นอกจากจะรักษาความมั่นคงให้แก่ระบบการเงินแล้ว ยังสามารถสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ จากการนำทรัพย์ที่ถูกยึดไว้กลับมาใช้ใหม่ (free up asset) โดยหากมูลค่าการขายทอดตลาดทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ของมูลค่าการขายทอดตลาดแล้ว เศรษฐกิจไทยโดยรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.589 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาตลาด โดยในปี พ.ศ. 2558 กรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13 ของมูลค่าการขายทอดตลาดในปีก่อน กรมบังคับคดีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ระบบเศรษฐกิจไทยได้ถึง 10,110 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการวิจัย พบว่า กระบวนการขายทอดตลาดที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการที่กรมบังคับคดีได้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการบริหารสมัยใหม่มาปรับใช้ในกระบวนการบังคับคดี

 

แนะปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

               รองศาสตราจารย์ ดร.ชโยดม สรรพศรี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยได้นำผลที่ได้จาการวิจัยมาเป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์ ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เพื่อปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการวิเคราะห์พบว่า สาระสำคัญของการปรับปรุงกระบวนการขายทอดตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการบริหารสมัยใหม่มาปรับใช้ในกระบวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งคณะวิจัยฯได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

               ด้านที่หนึ่ง การพัฒนาบุคลากรให้สามารถประเมินราคาทรัพย์ให้มีความใกล้เคียงกับราคาตลาด และมีความรวดเร็ว มีภาระงานที่เหมาะสม พร้อมทั้งมีการทำงานที่เป็นระเบียบ (protocol) ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน

               ด้านที่สอง การบริหารจัดการข้อมูล ปรับปรุงระบบบรรณารักษ์ข้อมูลสำเนาหรือสิ่งพิมพ์ และจัดเก็บข้อมูลเอกสารเหล่านี้ไว้ในรูปดิจิตอลด้วย นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีกฎระเบียบและกฎหมายมารองรับการประกาศต่างๆทางอิเล็กทรอนิกส์

               ด้านที่สาม ระบบสารสนเทศ พัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบดิจิตอลสำหรับการตรวจสอบพิสูจน์ทรัพย์ให้มีความแม่นยำ และสำหรับให้ผู้มีส่วนได้เสียในทางคดีติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของกรม

               ด้านที่สี่ ระบบการประมูล ปรับปรุงรูปแบบการประมูลให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับประเภททรัพย์ โดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม ความโปร่งใส รวดเร็ว ขยายฐานผู้เข้าประมูล กระจายข้อมูลให้ทั่วถึงผ่านสื่อต่างๆ ภายในระยะเวลากำหนด และมีรูปแบบการประมูลออนไลน์ (ทั้งนี้ ต้องมีการสำรวจให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้เสีย (รวมทั้งเจ้าหน้าที่) และมีกระบวนทางกฎหมายที่รองรับ)

               ด้านที่ห้า การจัดทำบัญชี กรมบังคับคดีควรจัดจ้างเจ้าหน้าที่เชิงเทคนิคจากภายนอกและกำหนดให้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการเสร็จสิ้นที่แน่นอน

               นับจากที่ประเทศไทยได้รับจัดอันดับ “ความยากง่ายในการกอบธุรกิจ” เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ความตื่นตัวของภาคส่วนต่างๆต่อการปรับปรุงบริการให้มีสะดวก ความรวดเร็ว ประหยัด เอื้อต่อการดำเนินการเกิดขึ้น โครงการศึกษาดังกล่าวสะท้อนเป้าประสงค์ของคณะผู้บริหารกรมบังคับคดี ณ ปัจจุบันที่ต้องการปฏิรูประบบการผลักดันทรัพย์ผ่านการขายทอดตลาด เพื่อแก้ปัญหาการล้มละลายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเปลี่ยนผ่านบทบาทของกรมบังคับคดีจากงานด้านยุติธรรมเพียงด้านเดียว สู่บทบาทคู่ขนานด้านเศรษฐกิจและความยุติธรรมเป็นครั้งแรก

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ