Lifestyle

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”ร่วมตื่นรู้-รับมือ สังคมผู้สูงวัยในชุมชน

 

          ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อปี 2559 ระบุว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2563 โดยคาดว่าจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 13 ล้านคน เวลานี้จึงจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น  

          คำถามสำคัญคือเยาวชน คนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบัน ตื่นตัวต่อการดูแลและพร้อมรับมือกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกันอย่างไรบ้าง     

          อีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ภายใต้ “โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ ภูมิสังคมภาคตะวันตก”  ที่พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวและทำประโยชน์เพื่อชุมชนตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีในปีที่ 2   และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาบอกเล่าในรูปแบบนิทรรศการที่มีชีวิต ภายในงานมหกรรมพลังเด็กและเยาวชนภาคตะวันตก  "ก้าวกล้า การศึกษา เพื่อสร้างพลเมือง ตามรอยเท้าพ่อ" ณ  พื้นที่โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ (มูลนิธิชัยพัฒนา)  อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          โครงการดังกล่าวดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)      

          ในปีที่ 2ยังคงสานต่อกระบวนการ เสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชน ผ่านกิจกรรมเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ 4จังหวัดได้แก่กาญจนบุรี ราชบุรีเพชรบุรีและสมุทรสงคราม ตลอดจนการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนของภาคี เครือข่ายในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพและตระหนักต่อการสร้างความยั่งยืนในชุมชนของตนเอง 

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          คันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการ จังหวัดสมุทรสงคราม ในฐานะประธาน ในพิธี กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ ว่า การพัฒนาเด็กและเยาวชนถือว่า เป็นภารกิจที่สำคัญที่หลายฝ่ายจะต้อง ร่วมมือกันขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรม ผ่านการสนับสนุนการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ทั้งยัง เป็นการกระตุ้นเตือนให้เด็กและเยาวชน เห็นถึงความสำคัญในการช่วยเหลือสังคม การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต และการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก

          ชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ ผู้ บริหารโครงการศูนย์ประสานงานวิจัย เพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าว ว่า การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ มาจากฐานคิดที่ว่าเด็กไม่ใช่ต้นเหตุของ ปัญหาสังคม เพียงแต่ผู้ใหญ่จะต้องใช้ ความรู้เป็นพลังเปลี่ยนแปลงในทางบวก เพื่อทำให้พวกเขาดึงศักยภาพของ ตนเองออกมาพัฒนาสังคม
 “ตลอดระยะเวลาสองปีเราเริ่มเห็นพัฒนาการของเด็กๆ จากการที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ลงมือ โครงการเพื่อชุมชน ท้องถิ่นของตนเอง จากวันแรกที่พวก เขาไม่เคยสนใจเรื่องใกล้ตัว ไม่เคยคิด แก้ปัญหาและร่วมมือทำงานกับผู้อื่น”

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          โดยปีนี้โครงการได้เปิดโอกาสให้ เด็กและเยาวชนเข้าร่วมกว่า 100 ชีวิต ประกอบด้วย 24 โครงการ และสามารถ แบ่งแยกสถานการณ์ปัญหาออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1.ทรัพยากรและสิ่ง แวดล้อม 2.การจัดการทรัพยากรน้ำ3.ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 4.สืบสานคุณค่ามะพร้าวในชุมชน แม่กลอง และ 5.พลังอาสาสมัครกับ การพัฒนาชุมชน

          ชิษณุวัฒน์ กล่าว ว่า การจัดแบ่งกลุ่มประเด็นปัญหาใน ลักษณะนี้ทำให้เด็กเห็นความเชื่อมโยง ของสถานการณ์ในพื้นที่ได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับ เพื่อนในโครงการอื่นๆจนเกิดเป็นเครือ ข่าย มีทักษะในการดำรงชีวิตในสังคมที่ดีขึ้น

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          ส่วนการขับเคลื่อนโครงการจากก้าวสู่ ปีที่ 3 นี้ โครงการฯ มีความตั้งใจที่จะ ขยายผลเรื่องการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนที่ผ่านกลไกและกระบวนการเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นเหล่านี้ให้กับ องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้โดยตรง เพื่อไปสู่ การสร้าง Active citizen หรือพลเมือง ตื่นรู้ในรุ่นต่อไป 

          น้องบู๊-ณัฐวุฒิ ศรีนวล ตัวแทนเยาวชนทีมอาวุโส OK  กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ทำโครงการของทีมจุลินทรีย์ RBCAT วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรีในปีแรก พวกเขาได้ตกผลึกความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของชุมชนและสถานการณ์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองโบสถ์ ตำบลเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี ที่ถูกปล่อยให้ถูกเพียงลำพัง จึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า “ลูกหลานผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ที่ไหน และเขาอยู่กันอย่างไร”

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          “เมื่อคิดจะทำโครงการต่อในปีที่สองจึงรวมทีมใหม่ในชื่อทีมอาวุโส OK  ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองโบสถ์ โดยมีเป้าหมายคืออยากจะนำทักษะการทำงานร่วมกับชุมชนมาปรับใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่มีความสุขและมีสุขภาพดี จากการลงพื้นที่เข้าไปพูดคุย ทำกิจกรรมการดูแลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งทุกท่านก็เหมือนญาติผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพ พอเห็นผู้สูงอายุมีความสุข เราก็มีความสุข การทำกิจกรรมไม่เพียงแต่ไปลงมือทำงานให้เสร็จ แต่พวกเรากำลังลงไปสร้างความสัมพันธ์และสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน” 

          น้องบู๊เล่าว่าเขาไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้เท่านั้น... แต่ผลที่ได้รับกลับคืนมาคือต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อการดูแลสุขภาพ โดยพบว่าสาเหตุที่ผู้สูงอายุที่บ้านหนองโบสถ์มีสุขภาพแข็งแรงเพราะนิยมปลูกผักพื้นบ้านไว้รับประทานเอง ทำให้ได้บริโภคผักปลอดสารและได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายไปพร้อมกันด้วย 

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

          “การรับมือกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคนอีกต่อไป การเรียนรู้ต้นแบบการใช้ชีวิต การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ จากตัวอย่างดีๆ ของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนก็ทำให้สามารถรู้จัดการวางแผนชีวิตและนำความรู้ไปปรับใช้กับตัวเองและกลุ่มผู้สูงอายุท่านอื่นๆ และเพื่อให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจเหมือนผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองโบสถ์” ณัฐวุฒิ กล่าว

          พลังการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเด็กและเยาวชนภาคตะวันตกได้สร้างความตื่นตัวและการเตรียมความพร้อมรับมือกับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในชุมชน 

 

พลังเยาวชน “ภูมิสังคมภาคตะวันตก”

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ