ข่าว

เปิด 9 อรหันต์ 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' 7 : 2 วินิจฉัย 'พิธา'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก 9 อรหันต์ ประธาน- 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' กับ 2 เสียงข้างน้อย ค้านแขวน 'พิธา' หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.

จากมติ 7 : 2 ของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” มีคำสั่งให้ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. ปมถือหุ้น ITV มีผลตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 2566

 

 

 

 

จากคำวินิจฉัยของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” คมชัดลึก จะพาไปรู้จัก 9 อรหันต์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำหน้าที่พิจารณาแขวน “พิธา” ครั้งนี้

 

ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง พิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

 

 

1. นายวรวิทย์ กังศศิเทียม 

 

นายวรวิทย์ เกิดวันที่ 1 มี.ค. 2495 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กฎหมายมหาชน) เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

 

ประวัติการทำงาน

 

  • อัยการ จ.สกลนคร
  • อัยการ จ.อุดรธานี
  • อัยการพิเศษฝ่ายแผนงานฝึกอบรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
  • ตุลาการศาลปกครองกลาง
  • รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่
  • อธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก
  • ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
  • คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป.) 2 สมัย
  • อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยนเรศวร และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2557 และได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563

 

      วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

 

 2. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์

 

นายนครินทร์ เกิดวันที่ 28 ก.ค. 2501 ปัจจุบันอายุ 65 ปี จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชาประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PH.D. (INTERNATIONAL STUDIES) WASEDA UNIVERSITY,ประเทศญี่ปุ่น

 

ประวัติการทำงาน

 

  • รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ
  • กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

 

ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2558

 

    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

 

 3. นายปัญญา อุชชาชน

 

นายปัญญา เกิดวันที่ 15 เม.ย. 2499 ปัจจุบันอายุ 67 ปี จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) นิติศาสตรบัณฑิต นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน)M.A. (Public Administration), Detroit, Michigan, U.S.A. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Justice Administration)

 

ประสบการณ์การทำงาน

 

  • ปลัดอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • เลขานุการผู้ว่าราชการ จ.สกลนคร กระทรวงมหาดไทย
  • เลขานุการผู้ว่าราชการ จ.ราชบุรี กระทรวงมหาดไทย
  • นักวิชาการปกครอง กรมการปกครอง
  • หัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้ง กรมการปกครอง
  • ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาพฤติกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการปกครอง
  • ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง
  • หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • หัวหน้ากลุ่มงานคดี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายคดีและฝ่ายบริหาร)
  • ที่ปรึกษาด้านวิชาการ (นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ 11 ชช.)
  • เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (นักบริหารศาลรัฐธรรมนูญ) 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2558

 

   ปัญญา อุดชาชน

 

 

4. นายอุดม สิทธิวอรัชธรรม

 

นายอุดม เกิดวันที่  22 พ.ย. 2497 ปัจจุบันอายุ 68 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 28 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ประสบการณ์การทำงาน

 

  • นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพเรือ
  • ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาล จ.ทุ่งสง
  • ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • ผู้พิพากษาศาล จ.แม่สอด, ศาล จ.พิษณุโลก และศาล จ.นครสวรรค์
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จ.นครสวรรค์
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จ.หลังสวน, ศาล จ.อุทัยธานี และ ศาล จ.กำแพงเพชร
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา
  • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 3
  • ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 5
  • ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 3
  • รองประธานศาลอุทธรณ์
  • อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1
  • อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
  • ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  • ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563

 

       อุดม สิทธิวอรัชธรรม

 

 

5. นายวิรุฬห์ แสงเทียน 

 

นายวิรุฬห์ เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2494 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา          

 

ประวัติการทำงาน

 

  • ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
  • รองประธานศาลฎีกา
  • ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563

 

      วิรุฬห์ แสงเทียน 

 

 

6. นายจิรนิติ หะวานนท์ 

 

นายจิรนิติ เกิดวันที่ 14 ก.พ. 2496 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา LL.M. (Master of Law, Harvard University) M.C.L. (Master of Comparative Law, George Washington University) S.J.D. (Doctor of Juridical Science, George Washington University)

 

ประวัติการทำงาน

 

  • ผู้พิพากษาศาล จ.ขอนแก่น
  • ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
  • ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง
  • เลขานุการศาลฎีกา
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
  • ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2
  • ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์
  • อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
  • ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  • ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และ กรรมการกฤษฎีกา 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563

 

                                จิรนิติ หะวานนท์ 

 

 

7. นายนภดล เทพพิทักษ์ 

 

นายนภดล เกิดวันที่ 3 ธ.ค. 2499 ปัจจุบันอายุ 66 ปี จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations) , Northern Illinois University (Fulbright Scholarship)

 

ประวัติการทำงาน

 

  • ผู้อำนวยการกอง กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก
  • อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
  • รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
  • อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
  • เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร
  • เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน
  • รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
  •  เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ 

 

ได้รับการโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563

 

                                   นภดล เทพพิทักษ์ 

 

 

8. นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 

 

นายบรรจงศักดิ์ เกิดวันที่ 14 ส.ค. 2495 ปัจจุบันอายุ 70 ปี จบการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

ประวัติการทำงาน

 

  • ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น
  • ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
  • ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
  • ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563

 

      บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 

 

 

9. นายอุดม รัฐอมฤต 

 

 

นายอุดม เกิดวันที่  28 มิ.ย. 2502 ปัจจุบันอายุ 64 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (Diplôme Supérieur d'Université) มหาวิทยาลัย Paris II ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมายอาญา (Diplôme d'études approfondies et Doctorat en Droit Pénal) มหาวิทยาลัย Nancy II ประเทศฝรั่งเศส

 

ประวัติการทำงาน

 

  • รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
  • คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรรมการกฤษฎีกา 

 

ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2566

 

       อุดม รัฐอมฤต 

 

 

 

ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย 2 คน ที่ค้านคำสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คือ นายนภดล เทพพิทักษ์ และนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราช

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย การพ้นสมาชิกภาพ สส.ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 ว่านายธนาธร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชน ส่งผลให้เป็นผู้ลักษณะต้องห้าม ไม่ให้ผู้ถูกร้องใช้สิทธิรับสมัครรับเลือกตั้ง สส. ทำให้สมาชิกภาพ สส.สิ้นสุดลง

 

ยุบพรรคอนาคตใหม่

 

วันที่ 21 ก.พ.  2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 ให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ให้พรรคกู้ยืมเงินจำนวน 191.2 ล้านบาท และศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และมาตรา 92 วรรคสอง ประกอบหนึ่ง (3)

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ