ข่าว

จี้ กฟผ.เปิดสัญญา ซื้อ-ขายไฟฟ้า เอกชน ต้นเหตุ ค่าไฟแพง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์ รัฐธรรมนูญ เชื่อว่า สัญญา ซื้อ-ขาย ไฟฟ้าเอกชน เป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพง จี้ กฟผ. เปิดข่้อมูล

กำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศมีมากกว่า 53,659 เมกกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการใช้สูงสุดเมื่อปี 2565 มีเพียง 33,177.3 เมกกะวัตต์เท่านั้น ทำให้มีปริมาณไฟฟ้าสำรองสูงมากกว่า 60% ทำให้มีเสียงครหาเกิดขึ้นอย่างมากว่าสัญญาที่ กฟผ.ไปทำไว้กับโรงไฟฟ้าเอกชนแต่ละรายนั้น มีเงื่อนไขค่าพร้อมจ่าย

 

 

ส่งผลทำให้แม้จะหยุดเดินเครื่องไม่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้ กฟผ.ก็ต้องจ่ายเงินให้เอกชนตามสัญญา เป็นข้อสังเกตว่า คือสาเหตที่ทำให้ค่าไฟแพง หรือไม่ 

ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทำหนังสือส่งไปถึงผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เพื่อขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายข้อมูลข่าวสารในการขอสำเนาเอกสารหนังสือสัญญาที่ กฟผ.ซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของเอกชน ซึ่งสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่าเอฟที (FT) พุ่งและทำให้ค่าไฟแพงนั้น ต้นเหตุอาจมาจากการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนแพงเกินไป

 

ศรีสุวรรณ อธิบายว่านโยบายของรัฐบาลตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนสามารถผลิตไฟฟ้าขายให้กับ กฟผ.ได้ จึงทำให้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากประมูลขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ซึ่งมีสัญญาซื้อขายกันแล้ว 12 บริษัทรวม 17 โรงไฟฟ้า มีกำลังการผลิตตามสัญญารวม 17,023.50 เมกกะวัตต์

 

และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ที่มีสัญญาซื้อขายกันรวม 50 โรงไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติ มีใช้ถ่านหินเพียง 4 โรงเท่านั้นมีกำลังการผลิตตามสัญญารวม 9,331.08  เมกกะวัตต์

 

ที่ผ่าน ปัญหาที่ผ่านมา กฟผ.อ้างมาโดยตลอดว่ามีภาระหนี้กว่า 1 แสนล้านจากต้นทุนการผลิตที่ต้องซื้อก๊าซ LNG จากต่างประเทศมาผลิตไฟฟ้าในราคาสูง ซึ่งโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ที่ต้องใช้ก๊าซมีถึง 11 โรง มีปริมาณการผลิตจำนวน 9,086 เมกกะวัตต์  เมื่อก๊าซมีราคาแพง ทำไม กฟผ.ยังต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศในราคาที่แพงมาผลิตอีก

 

ทั้ง ๆ ที่มีโรงไฟฟ้าของเอกชนที่ทำสัญญาการผลิตป้อนให้ กฟผ.มีมากถึง 67 โรงอยู่แล้ว ส่วนเอกชนจะไปซื้อหาก๊าซมาผลิตไฟฟ้าจากไหนก็เป็นเรื่องของเอกชนที่ต้องรับภาระเอง ไม่ใช่ กฟผ.ต้องไปแบกรับภาระเสียเอง อีกทั้งโรงไฟฟ้าของเอกชนมีปริมาณการผลิตมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซของ กฟผ.เสียอีก หรือว่าการซื้อขายก๊าซดังกล่าวมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ด้วย

 

เชื่อว่า หาก กฟผ.เปิดเผยสัญญาทั้งหมดที่มีการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน จะพบข้อพิรุธมากมายที่จะได้นำมาเปิดเผยให้ประชาชนเจ้าของประเทศได้รับทราบ แต่หาก กฟผ.ไม่ยอมเปิดเผยคลต้องสู้กันถึงศาลปกครองแน่นอน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ