ข่าว

"เลือกตั้ง 66" พรรคการเมืองสาด นโยบายประชานิยม หวั่นใช้งบสูง 3.3 ล้านล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เลือกตั้ง 66" หลายพรรคการเมืองโหม นโยบายประชานิยม หวังโกยคะแนนชนะเลือกตั้ง แต่อาจก่อหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ระบุต้องใช้เงินมากถึง 3.3 ล้านล้าน เตือนสติประชาชนตัดสินใจก่อนเข้าคูหา

เหลือเวลาอีก 39 วันสำหรับการ เลือกตั้ง รัฐบาลใหม่ ในช่วงนี้ประชาชน หรือ โหวตเตอร์คงเห็นว่าหลายพรรคการเมืองเริ่มสาดนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อเรียกคะแนนเสียงมากมาย โดยเฉพาะ นโยบายประชานิยม ที่เรียกว่าได้ใจประชาชนคนไทยไปเต็มๆ เพราะ นโยบายประชานิยม จะสามารถช่วยฉุดให้คนไทยลืมตาอ้าปากได้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ โดยในเวทีเสวนาในหัวข้อ "อ่านเกมเลือกตั้ง66 นโยบายใครปัง ใครพัง?" จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่นมวลชน ได้ร่วมแสดงความเห็น รวมทั้งให้แนวทางสำหรับการ "เลือกตั้ง 66" ครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจ 

 

 

โดยนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างมาก โดยเฉพาะ นโยบายประชานิยม แจกเงิน พักหนี้ ประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งนโยบายเหล่านี้มีข้อน่ากังวล โดยเฉพาะการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลกว่า 3.3 ล้านล้านบาท สำหรับเป็นเม็ดเงินในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งในอนาคตนักวิชาการยังชี้ให้เห็นว่า นโยบายประชานิยมจะก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ และตกทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานที่ต้องแบกรับภาระต่อ ดังนั้นก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และเลิกคนที่จะมีเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจำเป็นจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน   

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี หัวหน้าทีมการปฏิรูปกฎหมาย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อธิบายถึงปัญหาของนโยบายสาธารณะของแต่ละพรรคการเมือง และการเลือกนโยบายของแต่ละพรรคไว้อย่างน่าสนใจ ว่า  สำหรับการ "เลือกตั้ง66"  มีพรรคการเมืองที่สื่อสารนโยบายออกมามากมาย ดังนั้นประชาชนจะต้องมีความรู้และทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจในการเลือกพรรค หรือ สส. ขณะนี้พรรคการเมืองได้มีการนำเสนอนโยบายหาเสียงประชานิยมจำนวนมาก แต่ยังไม่มีใครเสนอนโยบายที่แก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งนโยบายประชานิยมเหล่านั้นมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก  และในอนาคตอาจจะก่อให้เกิดหนี้  สาธารณะจำนวนมาก อาจจะส่งผลต่ออนาคต ดังนั้นประชาชนจะต้องมีการใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งครั้งนี้ให้รอบครอบเพื่อป้องกันปัญในอนาคต  เพราะปัญหาการใช้เงินนอกงบประมาณนำมาซึ่งปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใส เพราะงบพวกนี้จะไม่ผ่านสภา 

 

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี
 

ประชาชนควรจะพิจารณาว่านโยบายที่ควรจะเลือกจะต้องเป็นนโยบายที่แก้ปัญหาระดับโครงสร้าง และไม่ควรจะเลือกนโยบายที่เป็นแคการปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดย ดร.กิรติพงศ์  ได้แนะแนวทางสำหรับ "เลือกตั้ง 66" ครั้งนี้ ดังนี้ 

 

-นโยบายไม่ควรสร้างภาระทางการคลังที่เกินตัว เพราะจะสร้างหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะการใช้เงินนอกงบประมาณ หรือ มาตรการกึ่งการคลัง เพราะเงินเหล่านี้จะก่อให้ภาระหนี้แก่ลูกหลาน

 

-นโยบายไม่ควรสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวินัยการเงินและการคลัง เช่น นโยบายประกาศพักหนี้ หยุดหนี้ เพราะสร้างสัญญาณที่ไม่ถูกต้อง
รวมถึงนโยบายเครดิตบูโรก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับที่ไม่ดี

 

-ไม่ควรเน้นนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชน แต่ไม่มีนโยบายกลไกช่วยยกระดับพัฒนาขีดความสามารถของคนไทย เช่น ประกันราคาข้าว ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ในการทำการเกษตร ดังนั้นควรมีนโยบายที่จะใช้ในการพัฒนาระบบการทำเกาษตร Smart Farming 

 

-การพัฒนารีสกิล (Re Skill) อัพสกีล (Up Skill) แรงงานไทย เพราะขณะนี้แรงงานไทยเสียความสามารถด้านการแข่งขัน ทำอย่างไรที่จะเพิ่มความสามารถ 

 

อย่างไรก็ตามขณะนี้พรรคการเมืองยังไม่ฉายภาพที่จะมาแก้ปัญหาระดับโครงสร้าง ดังนั้นนโยบายที่ดีจะต้องสะท้อนว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้เกิดผลที่ดี หลายเรื่องยังติดข้อกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรคที่ต้องแก้และไม่ใช่เรื่องง่าย ประชาชนผู้เลือกตั้งต้องพิจารณาให้ดี 

 

  • สร้างประชาธิปไตยและความตื่นตัวของพลเมือง 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์ กล่าวระหว่างเสวนาว่า แม้ว่านโยบายต่างๆ จะเป็นประโยชน์ แต่การมุ่งในการหาเสียงมากเกินไป โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม ที่จำเป็นจะต้องมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก  3 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 1 เท่าของงบที่ใช้อยู่ ซึ่งหากจะใช้พรรคการเมืองต้องชี้แจ้งว่าจะเอาเงินมาจากไหน แหล่งที่มาของประมาณแน่นอนว่าหากจะเก็ยภาษีเพิ่มจะต้องดูที่ภาษีทรัพย์สิน เพราะ Vat จะขึ้นมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว ที่สุดแล้วคนที่กำหนดทิศทางของประเทศอาจจะไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นพรรคการเมือง ทั้งนี้หากมีการกู้เพิ่มโดยไม่เพิ่มภาษี รัฐบาลและพรรคจะต้องทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 10% ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ทางที่จะทำได้คือการกู้เงินแน่นอน 

 

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบนโยบายสาธารณะต่างๆ  นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งหมด ต้องประเมินผลกระทบ สั้น กลาง ยาว หากมีการกู้เงินเพิ่มโดยไม่เพิ่มรายได้ภาษี ถ้าไม่ถึง 10% จีดีพี จะเกิดเพดานหนี้สาธารณะ  เกิดความสูญเสียความเชื่อมั่นในลงทุนหากไม่มีการขยายความเติบโตทางเศรษฐกิจ  อีกปัญหาคือดอกเบี้ยขาขึ้น ที่ภาครัฐอุ้มอยู่ประมาณ 1.8 แสนล้าน หากต้องกู้เงินจากประชาชนโดยออกพันบัตรจะทำให้ดอกเบี้ยสูงมากยิ่งขึ้น สวนกับฐานะทางการคลังในปัจจุบันที่แบกรับนโยบายการแจกเงิน และก่อหนี้ที่ไม่คุ้มค่าอีกต่อไป เพียง 3-5 ปีข้างหน้าจะทำให้คนรุ่นหลังต้องมาแบกรับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น

 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

 

อย่างไรก็ตามนโยบายที่ พรรคการเมือง ทั้งหมดยังไม่ได้แก้ในเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย ประชากรระดับล่าง  20% ถือครองทรัพย์สินไม่ถึง 3% ส่วนแบ่งรายได้มีเพียง 3.5% ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้พบว่ากลุ่มที่เลี่ยงภาษีมากที่สุด คือกลุ่มที่ต้องเสียภาษีทรัพย์สิน ดังนั้นการเก็บภาษีทรัพย์สินจึงเป็นแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอีกทาง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงมาก  วัฒนธรรมเป็นแบบอำนาจนิยมผสมอุปถัมภ์ ฉะนั้นหากมีการเสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ทุกคนตอบสนองหมดเพราะคนส่วนใหญ่ลำบาก และคนส่วนใหญ่พึ่งพอใจกับเงินประกันรายได้เกษตรกร  

 

ดังนั้นต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ ต้องอาศัยนโยบายที่แตะปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ใช้นโยบายระยะสั้นที่ได้แต่คะแนนเสียง  ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย สร้างประชาธิปไตยที่มั่นคง สร้างความเป็นสภาบัน สร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ 

 

รศ.ดร.อนุสรณ์  ระบุต่อว่า  หากวิเคราะห์นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง พบว่ามีพรรคการเมืองเพียงไม่กี่พรรคที่ต้องเป้าในการลดช่องวางทางเศรษกิจ โดยเฉพาะการลดช่องว่างในระบบการผลิต เพื่อฟื้นเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้นโยบาย 

 

นอกจากนี้นโยบายที่สอดคล้องกับ SDGs(Sustainable Development Goals) หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ เป็นสิ่งที่หลายประเทศให้สัญญาว่าจะทำ และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำ เพราะเป็นผลประโยชน์ของมนุษยชาติ และสิ่งที่คนไทยจะได้รับ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวกล้อมที่จะต้องมีนโยบายชัดเจน และขณะนี้ยังไม่มีใครเริ่มต้นที่จะพูดถึง กรุงเทพมหานครในอีก 40 ปีข้างหน้า และการย้ายเมืองหลวง เลยแม้แต่พรรคเดียว ทั้งนี้ตนเห็นว่าการกระจายอำนาจเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานราก 

 

 

  • ถอดบทเรียนจากสหราชอาณาจักรแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเงินสุดท้ายไม่รอด

ด้านนายบากบั่น  บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหารเนชั่น กรุ๊ป และประธานกรรมการฐานเศรษฐกิจ  กล่าวว่า สำหรับการ "เลือกตั้ง 66" ซึ่งเหลือเวลาอีกแต่ไม่กี่วัน ดังนั้นประชาชนหรือโหวตเตอร์ คือ คนที่จะตัดสินว่าใครจะเป็นคนเข้ามานำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวิกฤตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแน่นอนว่านโยบายที่นำเสนอมานั้นส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ นโยบายประชานิยม ซึ่งตนได้มีการวิเคราะห์และถอดบทเรียนจากตัวอย่างของต่างประเทศ ดั้งนี้ 

 

1.นโยบาย ปอนด์ต่อปอนด์: ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิธีการหาเสียงมาตั้งแต่ปี 2540 มีบางพรรคเอานโยบายไปขายประชาชนเพื่อเรียกคะแนนโหวต ซึ่งยังไม่เห็นนโยบายที่จะก่อให้เกิดการปัญหาระยะยาว อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่มีนโยบายที่สนับสนุนก่อให้เกิดการจ้างงาน หลังจากนั้นเป็นนโยบายประชานิยมทั้งหมด และมีแค่มีนโยบายที่จับต้องได้เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ก็พบว่ามีปัญหาด้านงบประมาณตามมา 

 

พรรคการเมืองกว่า 80% ที่ออกนโยบาย เป็นนโยบายซึ่งหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแทบทั้งสิ้น เช่นเงินเดือน 20,000 บาท นโยบายค่าแรง ออกหวยเพื่อ SME  นโยบายตรวจสุขภาพประจำปีฟรี  ซึ่งแน่นอนว่าเป็นนโยบายที่โดนใจ แต่พบว่านโยบายซึ่งหน้าในแบบสวัสดิการค่อนข้างมีปัญหาในระบบสวัสดิการ  จนนำมาซึ่งคำถามว่าสังคมต้องการนโยบายแบบนี้หรือไม่ เช่น ออกนโยบายที่ดินแจกโฉนดให้ประชาชนมีที่ทำกิน 

 

นายบากบั่น  บุญเลิศ

 

2.ตัวบุคคล (Maker): ตัวนักการเมืองจะต้องเป็นคนขับเคลื่อนนโยบายให้สำเร็จ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่อยู่ที่คนทำ และกลไกลของประเทศ ตัวบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย บางพรรคมีอายุมากเกินไป บางพรรคไม่มีประสบการณ์ บางพรรคไม่แม้แต่รายชื่อในปาร์ตี้ลิส  พ้นการเลือกตั้งตัวบุคคลเหล่านี้อาจจะลาออกด้วยซ้ำ ดังนั้นนโยบายกับบตัวบุคคลเมื่อผนวกกันแล้ว คนไทยจะมีความหวังหรือไม่ บรรดานักการเมือง นักเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ ทั้งนี้พบว่านโยบายการเงินการคลัง 300 กว่านโยบายใช้เงินมากกว่า 3.2 ล้านล้านบาท ที่มุ่งเน้นในเรื่องของโหวตเตอร์ คะแนนเสียงที่นำมาซึ่งการชนะเลือกตั้ง 

 

 

3.ถอดบทเรียน: จากรัฐธรรมนูญ 2560 ถ้าใช้เงินต้องบอกที่มาของแหล่งเงิน มีพรรคการเมืองไหนบอกหรือไม่ว่าจะหาแหล่งเงินมาจากไหนที่จะทำให้ปังและปังไปตลอด 4 ปี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังมาดูแลรัฐ ต้องไม่ทำให้กรอบวินัยพังจากให้สัญญาไว้ ความจริงที่คนไทยต้องตั้งสติเพื่อให้เมืองไทยดีขึ้น  ตัวอย่างสหราชอาณาจักรประเทศต้นแบบที่ประชาธิปไตยเกิดขึ้น  ริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ได้มาท่ามกลางสภาวะ เช่นเดียวกับประเทศไทย เจอวิกฤตเศรษฐกิจพังทะลาย ภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป   ริชี ซูแน็ก  ประกาศนโยบายพร้อมกับรัฐมนตรี จะใช้เงินทั้งหมด 5,600 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 236,660 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาระบบเศรษฐกกิจทันที  โดย ริชี ซูแน็ก สามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้แค่ 40 วัน อย่างไรก็ตามอังกฤษมีกฎหมายหากจะใช้เงินต้องบอกที่มาของเงินด้วย และต้องแจ้งต้อง สำนักวินัยทางการเงินและการคลัง office of budget sustainability ไม่สามารถชี้แจ้งของเงินที่จำนำมาใช้ได้ เพราะไม่รู้จะหาเงินจากไหนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัว สงครามรัฐเซีย-ยูเครน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ