ข่าว

"นักวิชาการ"เรียกร้อง ตัดอำนาจ สว.เลือกนายกฯ เคารพเสียงประชาชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"นักวิชาการ" เสวนา เรียกร้อง ตัดอำนาจ สว.เลือกนายกฯ เคารพเสียงประชาชน "อ.ปริญญา" ตั้งข้อสังเกตเสนอแก้รธน. ขยายเวลานายกฯ 8 ปี แลกต่ออายุสว.

เมื่อวันที่ 26.. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนา เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย : หยุดให้อำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ เพื่อเรียกร้องให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ โปร่งใส เคารพเสียงประชาชน เปิดให้ภาคประชาชนและนานาชาติเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ได้  โดยมี นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 , ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยรังสิต , ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ร่วมอภิปราย

 

ผศ.วันวิชิต เปิดเผยว่า การเมืองที่ผ่านมาติดหล่มมาตลอด 8 ปี หลังเลือกตั้งเมื่อปี 62 เราคิดว่าการเมืองไทยจะดีขึ้น แต่ปัญหาหลายอย่างก็ติดกับดักรัฐธรรมนูญ หรือ ใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีติดวังวนแบบนี้มาตลอด 4 ปี

 

ประชาธิปไตยถูกท้าทายและล้มล้างเข้าสู่อำนาจนิยมแบบอำพราง ผู้มีอำนาจจึงออกแบบให้ตัวเองมีประโยชน์สูงสุด โดยหยิบยกตัวอย่างปี 2559 ห้ามกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองวิพากษ์วิจารณ์จุดแข็งจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2560 จึงทำให้คนที่ไม่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญอย่างลึกซึ้งพอ ทั้งนี้ตนเคยร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี แต่ก็ถูกคว่ำอย่างบรรจงจากวุฒิสภา

 

ประเด็นนี้สังคมไทยควรตั้งคำถามอย่างกว้างขวางว่าเหมาะสมหรือไม่และสมควรยกเลิกได้แล้วหรือยัง ไม่เคยเห็นที่ไหนให้อำนาจ สว. ออกมาตรวจสอบฝ่ายค้าน ออกมาปกป้องรัฐบาล เสนอความคิดแจกเงินสนับสนุนให้ประชาชนไปเลือกตั้ง 500 บาท  ด้วยเหตุผลจูงใจประชาชนออกมาใช้สิทธิ ซึ่งความจริงแล้ว ความคิดแบบนี้มีตั้งแต่ 2557 ช่วงรัฐประหารใหม่

ตอนนั้นเสนอ 300 บาท ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้วไม่ต้องแจกเงิน เพียงแค่ติดกระดาษA4 ก็ได้ ไม่แคร์เรื่องตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิ เพราะมาจากความรู้สึกของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ได้มาจากการกดดันหรือบีบบังคับให้ออกมาใช้สิทธิ ก็จะได้นักการเมืองที่มาจากประชาชน

 

ส่วนกรณีที่ สว. ขอแก้รัฐธรรมนูญ อายุนายกฯ 8 ปี นั้น หากไม่ใช่คนที่คุณสนับสนุนจะเป็นอย่างไร ตนมองว่า สว.ที่เหลืออายุเพียงปีเศษจะหมดวาระ ไม่รู้ว่าขั้นตอนที่ สว. ชุดใหม่จะมามาอย่างไร คนที่เป็นบทเฉพาะการ จะมีโอกาสกลับมาอีกหรือไม่ หรือ เว้นวรรค 2 ปี และจะมีการแก้ไขกติกาอะไรหรือไม่ ที่อาจนำไปสู่การเอื้อประโยชน์

 

อย่างไรก็ตามขอ เรียกร้องไห้นักวิชาการ นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็น เป็นไฟนำทางส่องสว่างให้กับสังคมด้วย

 

ด้านผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า การทำประชามติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตนมองว่าควรถาม เห็นด้วยหรือไม่ที่วุฒิสภามีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2534 ที่อาจารย์มีชัย ฤชพันธ์ ก็เคยยัดไว้เพื่อให้คณะรัฐประหาร รสช. สืบทอดอำนาจแต่ทำไม่สำเร็จ แต่มาสำเร็จในปี 2560 โดยแอบยัดซ่อนไปในคำถามพ่วงในการประชามติ ซึ่งเป็นการอำพรางหลอกลวงประชาชน ซึ่งสว.จะมีอำนาจ 5 ปี แต่ผลพ่วงอาจจะไปจนถึง 8 ปีเพราะเลือกนายกรัฐมนตรีได้ 2 ครั้ง หรือ อาจไม่ใช่แค่ 8 ปีอาจจะยาวกว่านั้น

เสวนา “เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย : หยุดให้อำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ”

ตนจึงขอเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่เป็นผู้ยึดอำนาจ ไม่ใช่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ออกมารับผิดชอบที่สัญญาไว้ว่า ขอเวลาอีกไม่นานความสงบสุขจะกลับคืน จะปฏิรูปประเทศ แต่วันนี้จะครบ 9 ปีแล้ว ประเทศได้รับการปฏิรูปไปถึงไหนแล้ว การเมืองไทยวันนี้แตกต่างกันหรือไม่กับการเมืองไทยก่อนท่านยึดอำนาจ ท่านทำการเมืองไทยซ้ำรอยการเมืองเก่า และทำให้ระบบตรวจสอบทั้งประเทศแย่ไปกว่าเก่า

 

ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า 5 สิงหาคม 2559 ก่อนประชามติรัฐธรรมนูญ 60 เพียง 2 วัน ขอให้รับรัฐธรร มนูญฉบับนี้และสัญญาว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ แต่ยังสืบทอดอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่เรื่องกติกาการเมือง 8 ปี ก็ยังไม่ปฏิบัติและพยายามจะขยายเวลาออกไปอีก  ในทางกฎหมายไม่สามารถทำได้ เพราะถ้าแก้ไขต้องเขียนว่าสำหรับนายกฯ คนต่อไปเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับคนเก่า

 

การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ขอให้เคารพเสียงข้างมาก เสียงประชาชน จะได้ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกัน เพราะที่ผ่านมาประชาชนเลือกท่านแค่ 116 เสียงจาก 500 คน แต่ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเสียงสว. จึงมองว่า สว.พยายามเสนอแก้ นายกฯ 8 ปีนั้น เพื่อเป็นการโยนหินถามทางดูกระแสสังคมว่าเห็นด้วยหรือต่อต้าน ขยายเวลาของสว.ให้อยู่เกิน 5 ปีสว. หากเป็นเช่นนั้น จะยิ่งทำให้กระบวนการประชาธิปไตยไม่เริ่มต้นสักที

 

แม้ 2 ป. จะแยกกันเดิน แต่ไม่ได้แปลว่าสว.จะแยกกัน ดังนั้นเสียงประชาชนก็ไม่มีความหมาย ซึ่งจะแยกกันก็ต่อเมื่อ 2 ป. แย่งกันจัดตั้งรัฐบาล เรียกร้องให้สว.ประกาศเคารพเสียงประชาชนจะเป็นตัวชี้ในการจัดตั้งรัฐบาล สิ่งนี้ยากที่จะเกิด ดังนั้นเห็นควรว่า ต้องถสใเสียงประชาชนอีกครั้งหนึ่งผ่านการทำประชามติปิดสวิตช์สว.ก่อนจะมีการเลือกตั้ง

 

ด้าน รศ.ดร.พิชาย กล่าวประเด็น สว.เสนอให้รัฐจ่ายให้ประชาชนคนละ 500 บาทเพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยไม่ขายเสียงและรู้คุณแผ่นดิน แสดงถึงวิธีคิดของ ส.ว. ที่คิดว่านักการเมืองเป็นต้นตอของปัญหา ขณะที่ประชาชนคิดว่า รัฐประหารและ ส.ว.เป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน

 

โดยเทียบการซื้อสิทธิขายเสียงระหว่างไทยและอังกฤษ ที่ต้องสร้างจิตสำนึกทางการเมือง ไม่ใช่กฎหมาย ตนเห็นว่า อำนาจ ส.ว.ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน มี ส.ว. เพียง 23 คนเท่านั้นที่ร่วมโหวตตัดอำนาจตนเองในร่างแก้ไขรัฐธรรมที่ผ่านมา แต่ส่วนใหญ่ติดกับดักอำนาจรัฐประหาร ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านจะได้เกิน 300 เสียง แต่พรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบันจะได้เสียงไม่ถึง 200 เสียง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ