ข่าว

"ผบ.สส."ยันผบ.เหล่าทัพย้ำชัดทหารไม่มีปฏิวัติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ผบ.สส." ยันผบ.เหล่าทัพย้ำชัดทหารไม่มีปฏิวัติ และไม่ขอไม่ยุ่งการเมือง ซัดใครนำกำลังทหารออกเป็นกบฎ วอนปชช.เลิกเชื่อข่าวลือทำกองทัพแยกจากปชช. ฮึ่มใส่เขมร ลั่นไม่ถกจีบีซีที่อินโดฯ อ้างผิดข้อตกลงปี 38 กางข้อมูลแจงต้องคุยทวิภาคีเท่านั้น พร้อมย้ำไทยไม่ยอมให้ทห

         (5 เม.ย.)เมื่อเวลา 12.30 น. ที่กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ.ทรงกิตติ จักกบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วยพล.อ.ประยุทธ์   จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร   พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงษ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษาสบ. 10 ผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวภายหลังการประชุมผบ.เหล่าทัพ

  พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวการแถลงครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนลดความสับสนและมีความเข้าใจถึงการดำเนินงานของกองทัพ ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ การรักษาปกป้องอธิปไตย และการรักษาความสงบภายในประเทศ การช่วยเหลือประชาชนและจุดยืนของกองทัพต่อสถานการณ์การเมืองในอนาคต กองทัพถูกตราขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้รัฐมีอำนาจกำลังทหารไว้ป้องกันประเทศ อธิปไตยเหนือดินแดน รักษาปลอดพภัยชีวิตทรัพย์สิน และช่วยเหลือประชาชน

 โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)นั้น มีนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีผบ.ทบ.เป็นรองผอ.รมน. ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินการใดๆของกองทัพเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

 ส่วนเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ กองทัพมีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของประเทศและใช้กำลังส่วนหนึ่งรักษาความความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ องค์กรที่ถูกจัดให้มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีกำลัง 2 แสนคน ส่วนกองทัพพร้อมช่วยดูแลความสงบ แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตรวจสอบกฎหมายในการดำเนินการ แต่ในการปฏิบัติผบ.ตร.ยืนยันว่า ดูแลความเรียบร้อยในประเทศได้ ซึ่งตนก็มั่นใจว่า ผบ.ตร.ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการบรรเทาสาธารณภัยทางกองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพร้อมเข้าพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งเราทำงานด้วยความรักและความผูกพัน ขอให้ประชาชนมั่นใจกองทัพในการให้ความช่วยเหลือ

        “ ขอเลิกเชื่อข่าวลือที่บอกว่า ทหารจะปฏิวัติ ไม่มี อย่าเชื่อข่าวลือ อย่าเชื่อข่าวอ้าง กองทัพไทยอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอให้เชื่อว่า กองทัพจะไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ท่านเลิกเชื่อข่าวลือว่า ทหารจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น ทหารมีสิทธิ์ 1 เสียงหากมีการเลือกตั้งก็เลือกตั้งตามวาระ   รัฐธรรมนูญหมวด 4 มาตรา 70 - 74   ปี 2550 ข้าราชการไม่เกี่ยวพันทางการเมือง และข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ไม่ไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

 หากมีใครอยากดำเนินกิจกรรมทางการเมืองควรลาออกไปก่อน คำพูดของทหารเชื่อถือได้ ขอให้เชื่อว่า ไม่มีใครที่ก้าวล่วงเข้าไปดำเนินการกิจกรรมทางการเมือง ไม่ว่า จะกดดัน ผลักดัน แอบอิง หรือให้อิงแอบ เพื่อทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของประชาชน เสียงแต่ละท่านแต่ละเสียงมีคุณค่าต่อประเทศไทยในอนาคต ผมยืนยันว่า ผบ.เหล่าทัพ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ดังนั้นท่านอย่าไปกลัวไม่ต้องมามีข่าวว่า จะมีใครไปเดินตามคอยกดดัน ไม่ให้มีเสรีในการหาเสียง ทุกพรรคการเมืองสามารถขอเข้ามาหาเสียงในหน่วยทหารได้

 คิดว่าการยืนยันในวันนนี้จะทำให้ประชาชนมั่นใจว่า กองทัพไม่เกี่ยวพันการเมือง แต่ทำหน้าที่รักษาเกียรติ กองทัพรู้นห้าที่ของเราว่า ทำอะไร และควรเว้นทำอะไร แต่หากมีหน่วยใดเคลื่อนย้ายกำลัง โดยไม่ได้รับคำสั่ง ก็คือ กบฎ หากมีทหารคนใดเกี่ยวข้องการเมืองหรือกดดันท่าน ขอให้ร้องเรียนมา หากมีมูลจะสอบสวน” พล.อ.ทรงกิตติ กล่าว

 พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวอีกว่า ขอให้หยุดเอากองทัพมาอ้าง หยุดผลักกองทัพออกจากประชาชน เราขอเดินทางในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศ รักษาประเทศ และเกี่ยวแขนไปกับประชาชนเดินหน้าเพื่อให้ประเทศไทยมีเกียรติยศและชื่อเสียงต่อนานาประเทศ คิดว่า ต่อจากนี้จะไม่มีข่าวใดๆ ทำให้กองทัพออกจากประชาชน ให้กองทัพแยกออกจากกัน

     เมื่อถามว่า สิ่งที่ผบ.สส.ระบุว่า ทหารจะไม่ปฏฺวัติและไมยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นฉันทามติในที่ประชุมผบ.เหล่าทัพหรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า เมื่อวานผบ.ทบ.เพิ่งกล่าวไปก็เหมือนกัน ผบ.ทร.และผบ.ทอ.ก็คิดเหมือนกัน ถ้าเห็นว่า มีใครยุ่งการเมืองต้องมีหลักฐาน อย่ากล่าวทหารหรือสร้างข่าวกันลอยๆ หากสร้างข่าวแล้วสังคมบอกว่า คนนี้เลวไปแล้วมันไม่ใช่ เรารักประเทศชาติ เรายึดมั่นและถือครรลองอธิปไตย ถ้ายืนยันขนาดนี้ยังไม่เชื่อ แล้วจะให้นนอนยันกันหรืออย่างไร

 เมื่อถามว่า คนที่ออกมาพูดชี้นำส่วนใหญ่เป็นพวกนักการเมือง พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ส่วนตัวแต่ละท่านตนไม่ทราบ ตนมีหน้าที่ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ทั้งนี้ตนทำงานกับผบ.ทบ.มาตั้งแต่เด็ก และเมื่อเป็นทหารเราก็ยึดมั่น จะบอกว่า มีการปฏิวัติเงียบ ท่านพูดก็ต้องว่ากันไปทางดำเนินการทางการเมืองให้ดีที่สุด ประชาชนจะพิจารณา และเมื่อถูกเลือกแล้วรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลของประชาชน ไม่ต้องไปสนใจ เพราะไม่ใช่รัฐบาลของพรรค หากทุกคนทำงานตามหน้าที่ประเทศชาติน่าจะเจริญ

 ทั้งนี้ตนคงไม่ต้องติดตามหาตัวผู้ปล่อยข่าวลือ เพราะทำให้เสียเวลาการทำงาน ที่ผ่านมา 4 - 5 ปีมีแต่กระแสข่าว บางคนไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็พูด ผู้ที่ไม่รู้ก็พูด ผู้คิดว่า ตัวเองรู้ ก็พูแต่ไม่ได้รับผิดชอบ แต่คนที่รับผิดชอบพูดกลับไม่เชื่อ ส่วนการเลือกตั้งไม่เกี่ยวกับกองทัพ การเลือกตั้งจะมีขึ้นเมื่อหมดวาระการทำงานของส.ส. ส่วนจะมีก่อนหน้านี้หรือไม่ไม่เกี่ยวกับกองทัพ หากยุบสภาเป็นเรื่องสภา และเมื่อยุบสภากกต.จะดำเนินการเลือกตั้งเ เมื่อสร็จก็ตั้งรัฐบาล ส่วนทหารกับตำรวจก็ทำงานไป ยืนยันว่า หลังเลือกตั้งจะไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น รวมถึงการใช้มาตรา 7  


  พล.อ.ทรงกิตติ ยังกล่าวถึงกรณีความไม่เข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา  ว่า ในปี 2538 ได้มีการลงนามโดยผู้แทนของรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาในบันทึกความเข้าใจที่ตกลงกันเพื่อเป็นแนวทางดำเนินการอย่างสันติสุข เพื่อความมั่นคงต่อประเทศทั้งสองในระดับทวิภาคี โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด คือ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) โดยทั้ง 2 ประเทศได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน โดยมี ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ

 ซึ่งในบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาปี พ.ศ. 2538 ข้อที่ 1 กล่าวว่า จะมีการประชุมปีละ 1 ครั้งที่ประเทศไทยและกัมพูชาสลับกันไป แต่หากจำเป็นให้หารือกันที่จะจัดการประชุมโดยระบุเจ้าภาพและสถานที่ ซึ่งเราได้มีการประชุมสลับกันไปมาจนกระทั่งในปี 2553 โดยในปี 2554 นี้ต้องจัดการประชุมครั้งที่ 8 ในประเทศกัมพูชา ในช่วงเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งปีนี้จะต้องมีการประชุมตามข้อตกลงในปี 2538

                 “ กองทัพยึดมั่นในพันธกรณีในระดับทวิภาคีที่รัฐบบาลไทยกับกัมพูชาได้ตกลงกันไว้เมื่อปี 2538 ดังนั้นกองทัพยินดีร่วมประชุมจีบีซี ณ ประเทศกัมพูชาในเวลา สถานที่ที่เหมาะสม หากจำเป็นต้องประชุมอีกก็ต้องหารือกันว่า จะจัดการประชุมในที่ใด และใครเป็นเจ้าภาพ หากไม่ปฏิบัติตามนี้ถือว่า เป็นการยกเลิกพันธกรณีปี 38 ซึ่งกองทัพไม่สามารถทำได้ เพราะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล

 ทั้งนี้รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า รัฐต้องมีกำลังเพื่อรักษาอธิปไตย กองทัพยืนยันว่า เราจำเป็นต้องรักษาอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมิให้กำลังทหารจากประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามาประเทศไทย เพราะจะทำให้มีผลต่อการดำเนินกลยุทธ์ตามแผนป้องกันประเทศ สิ่งสำคัญ ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดน และเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้ การที่จะมีกองทัพอื่นเข้ามาในประเทศถือเป็นการละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งประเทศไทย

 ส่วนการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)นั้น เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ ผมไม่ก้าวก่ายขอบเขตของกระทรวงต่างประเทศ”ผบ.สส.กล่าว

 พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า การประชุมสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี)ได้ยืนยันชัดเจนตามเอกสารเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 54 โดยเรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชาหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดที่จะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน และแก้ปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการเจรจาแบบทวิภาคี

 ซึ่งในส่วนของกองทัพคือ การประชุมจีบีซี ถ้ากัมพูชาไม่พร้อมจัดการประชุมก็ให้รอ หรือหากไม่พร้อมมากให้เจรจากันว่า จะจัดการประชุมที่ไหน หากทำนอกเหนือจากนี้ถือว่า ไม่ทำตามพันธกรณีเมื่อปี 2538 รวมถึงมติของยูเอ็นเอสซี และมติที่ประชุมอาเซียน ซึ่งการที่ประเทศใดเข้ามาในพื้นที่พิพาทต้องได้รับการยอมรับจาก 2 ฝ่าย

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ