ข่าว

เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทยจุฬาฯเก็บประวัตินักการเมือง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จุฬาฯเปิดตัวโครงการ “เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย” เก็บประวัตินักการเมือง หวังวัดความต้องการปชช.ในแต่ละพื้นที่

 (5ก.ค.)  เมื่อเวลา 13.00 น . ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่ายเลือกตั้งอื่นๆ อาทิ พีเน็ต ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย จะมีการรวมตัวจัดทำ “เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย” เผยแพร่ทางเวบไซด์ www.tpd.in.th เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมด ให้ความรู้กับประชาชน โดยจากการประเมินนั้น การเลือกตั้งสมัยหน้าอาจมีขึ้นในเดือน มี . ค . จึงมีความคิดจะก่อตั้งเครือข่ายนี้ ซึ่งจะเริ่มทดลองในการเลือกตั้งซ่อมในปลายเดือน ก.ค.นี้ก่อน

 นายจรัส กล่าวต่อว่า สำหรับการทำงานของเครือข่ายนั้น จะมีการวิจัย เก็บข้อมูลของนักการเมืองแต่ละคน พื้นเพเป็นอย่างไร ประวัติการทำงานเป็นอย่างไร ฐานเสียงเป็นอย่างไร ภาพลักษณ์บุคคลและพรรคเป็นอย่างไร และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้งในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายทำงานเชิงรุกคือเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ว่าชอบนักการเมืองแบบไหน ไม่ชอบแบบไหน อยากให้นักการเมืองมีการสะท้อนปัญหาอะไร และนำผลสำรวจที่ได้มาเชิญชวนให้ประชาชนเลือกตั้งด้วยเหตุผล เน้นคุณสมบัติของนักการเมืองตามที่อยากได้

 นายจรัส กล่าวต่อว่าองค์กรอื่นๆ จะทำหน้าที่รณรงค์ หรือตรวจสอบการเลือกตั้ง แต่เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย จะเน้นเรื่องการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยจะหาอาสาสมัครเพื่อเก็บข้อมูลของนักการเมืองในแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งเบื้องต้นจะพยายามรวบรวมข้อมูลเรื่องความต้องการของประชาชนให้เสร็จก่อนเดือนธ.ค. หรือพยายามให้เสร็จก่อนที่แต่ละพรรคจะเสนอตัวผู้สมัคร แล้วจึงเก็บข้อมูลผู้สมัคร ทั้งนี้จะมีการทดลองการเก็บข้อมูลความต้องการประชาชนโดยเปิดเป็นเวทีในวันที่ 17 ก.ค.ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า )

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ