ข่าว

ศาลชี้นายกฯมีอำนาจไล่เสื้อแดงพ้นราชประสงค์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง “นายกฯ” ขอศาลออกคำบังคับให้เสื้อแดงพ้นราชประสงค์ ชี้ “มาร์ค” มีอำนาจ ผอ.รมน. ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ป้องกัน ปราบปรามสถานการณ์กระทบความมั่นคงอยู่แล่ว ขณะที่ประกาศ ศอ.รส. ห้ามชุมนุมมีผลบังคับทันที ส่วนการชุมนุมเสื้อแดงชัดเจนละเมิดสิท

 ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 5 เม.ย.53 เวลา 18.25 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) ตามซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อออกมาตรการบังคับให้นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงทั้งหมด

พร้อมด้วยทรัพย์สินและยานพาหนะทุกชนิดของแกนนำ และผู้ชุมนุม ออกจากพื้นที่ ถ.ราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์ถึงแยกประตูน้ำ , ถ.ราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์ ถึงสถานีรถไฟฟ้าราชดำริ , ถ.พระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกราชประสงค์ถึงแยกปทุมวัน และถ.เพลินจิต ตั้งแต่แยกราชประสงค์ ถึงแยกชิดลม ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รส.) ประกาศข้อกำหนด ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 รวมทั้งขอให้ศาลสั่งห้ามแกนนำทั้งห้า และผู้ชุมนุมเข้าไปในบริเวณ ถ.พระราม 4 ด้วยโดยให้มีผลบังคับทันทีตามที่ศาลมีคำสั่ง

 โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนฟังได้ว่าการกระทำของแกนนำทั้ง 5 และผู้ร่วมชุมนุมเป็นการปิดกั้นกีดขวางเส้นทางคมนาคมและการใช้ยานพาหนะของประชาชนทั่วไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำคัญ รวมทั้งเกิดความเดือดร้อนต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตของประชาชน จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพการเดินทางของประชาชนที่จะใช้เส้นทางสาธารณะและกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมที่เกินกว่าขอบเขตของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ม.34 และ 63 บัญญัติไว้

 ดังนั้นเมื่อ ผอ.รมน.โดย ผอ.ศอ.รส. รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ได้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 18 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ออกข้อกำหนดและข้อประกาศห้ามแกนนำทั้งห้าและผู้ชุมนุมทั้งหมดออกจากพื้นที่ที่ชุมนุมแล้ว ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจึงมีสภาพบังคับอยู่ในตัว และเมื่อมีประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาร้องขอให้ศาลออกคำบังคับตามข้อกำหนดดังกล่าวอีก และหากมีการฝ่าฝืน ผู้ฝ่าฝืนนั้นย่อมมีโทษตาม ม.24 ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ กอ.รมน.มีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควรและตามความจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและประกาศ ซึ่งหมายถึงมีอำนาจในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้งและแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 16 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ

 กรณีของผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลอีก ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.55

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ