ข่าว

เตือนคำปรารภ ส่อขัดรธน.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส.ว. ท้วงกันเอง เขียนคำปรารภข้อบังคับประชุม ส่อขัดรธน. ปมทำงาน ใต้แผนยุทธศสตร์ชาติ

 

"ส.ว." ท้วงกันเอง เขียนคำปรารภข้อบังคับประชุม ส่อขัดรธน. ปมทำงาน ใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ "ปธ.ข้อบังคับ" ยันไม่ขัด ก่อนโหวตใช้เนื้อหาตามที่กมธ. เขียน ส.ว.เร่งผ่านข้อบังคับ วันแรก ผ่าน 77 ข้อ จากทั้งหมด 196 ข้อ

 

ที่ประชุมวุฒิสภา ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุมได้พิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.... หลังจากที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ซึ่งนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. ฐานะประธานกมธ.ฯ  ได้พิจารณาแล้วเสร็จ สำหรับร่างข้อบังคับการประชุมส.ว. มีทั้งสิ้น 196 ข้อ โดยมีประเด็นที่กมธ. แก้ไขจำนวน 47ข้อ และเพิ่มเติมใหม่ 9 ข้อ นอกจากนั้นได้ตัดเนื้อหาออกจำนวน 10 ข้อ ทั้งนี้มี กมธ. สงวนความเห็นทั้งสิ้น 7 คนและมีส.ว. เสนอและสงวนคำแปรญัตติทั้งสิ้น 8 คน

 

          สำหรับการพิจารณาและอภิปรายของส.ว. มีเนื้อหาที่น่าสนใจ อาทิ ในส่วนของคำปรารภ ที่กำหนดกรอบการทำงาของส.ว. ซึ่งกมธ. ได้ตัดถ้อยคำว่า "คำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่า และเป็นไปโดยมีแบบแผนและยุทธศาสตร์ชาติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการปฏิรูป" ทำให้ถูกท้วงติง โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายโดยตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อตัดคำว่าประหยัดและคุ้มค่า เชื่อว่าส.ว.จะถูกประชาชนตั้งข้อสังเกตว่าอาจใช้งบประมาณในทางที่ไม่เหมาะสม จากเหตุการณ์ในอดีตที่พบว่ามีการจัดงบประมาณเพื่อท่องเที่ยว โดยอ้างว่าไปศึกษาดูงาน ดังนั้นฐานะเป็น ส.ว.ชุดรแกควรสร้างบรรทัดฐาน โดยไม่ใช้ภาษีอากรของประชาชนในทางที่ไม่เหมาะสม ส่วนกรณีที่ระบุว่าทำงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตนเชื่อว่าเป็นเนื้อหาที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดบทบาทให้ส.ว. มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบและเร่งรัดงานปฏิรูป ตามหมวด 16 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นควรแก้ไขให้ถูกต้องและไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

 

          ทั้งนี้นายสุรชัย ชี้แจงว่าเนื้อหาที่ถูกท้วงติงไม่ได้ทำให้เนื้อหาของข้อบังคับฯ ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งนี้ข้อกำหนดที่ระบุว่าให้การทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและผาสุขประชาชน ถือเป็นหลักการสำคัญของการทำงานที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

 

       

 

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการอภิปรายเนื้อหาส่วนของคำปรารภนั้น มีส.ว.อภิปรายท้วงติง แต่ กมธ.ฯ ยังยืนยันตามเนื้อหาที่แก้ไข ทั้งนี้มีผู้เสนอให้พักประชุมเพื่อหาข้อยุตินอกห้องประชุม แต่นายพรเพชร ยืนยันให้หารือให้เสร็จสิ้นภายในการประชุม ทั้งนี้ในข้อสรุปดังกล่าวที่ประชุมส.ว. ได้ลงมติ โดยเสียงข้างมาก 157 เสียง ต่อ 52 เสียง งดออกเสียง 5 เสียงเห็นด้วยกับการแก้ไขถ้อยคำตามที่กมธ.ฯ เสนอ

 

          ขณะที่การพิจารณาข้ออื่นๆ นั้น พบว่าเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมเห็นด้วยกับเนื้อหาที่กมธ.ฯ เสนอ อาทิ การเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อแสดงแสดงวิสัยทัศน์กับที่ประชุม , กรณีที่ประธานวุฒิสภาถูกเสนอชื่อมากกว่า 2 ชื่อให้ออกเสียงเป็นการลับ, การเสนอญัตติ กำหนดให้เสนอเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาล่วงหน้าและมีส.ว.ร่วมรับรองไม่น้อยกว่า 5 คนยกเว้นที่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น, สำหรับญัตติที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ไม่ต้องมีผู้รับรอง ทั้งนี้การเสนอญัตติว่าด้วยการตรวจสอบ , ให้รัฐมนตรีชี้แจงซึ่งเสนอเป็นญัตติต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 10 คน เป็นต้น

 

          ส่วนข้อที่ว่าด้วยกรรมาธิการ (กมธ.) นั้น กำหนดให้ตั้งกมธ. พิจารณาร่างพ.ร.บ., การกระทำกิจการ, สอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องตามอำนาจหน้าที่ได้ ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างข้อบังคับฯ วันแรกของส.ว. ได้พิจารณาถึงข้อที่ 77 ก่อนที่จะเลื่อนการพิจารณาเนื้อหาต่อเนื่อง ว่าด้วยการตั้ง กมธ.สามัญประจำวุฒิสภา ที่ร่างข้อบังคับเสนอให้มี 26 คณะและประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุม เวลา 18.00 น.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ