ข่าว

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สมพงษ์" ย้ำ ไม่ได้ปลุกระดม ปชช. แต่เสริมความรู้ความเข้าใจพิษ รธน.ที่ต้องแก้ไข "วันนอร์" ซัด ผ่าน 5 ปีรัฐประหาร เหมือนดูหนังเรื่องเดิม ปัญหาแก้ไม่ได้


                วันที่  21 ก.ค. 2562  ที่โรงแรมแลงคาสเตอร์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อเวลา 10.00 น. "7 พรรคร่วมฝ่ายค้านเพื่อประชาชน" จัดเสวนาหัวข้อ "ทางออกในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติ" โดยมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) , นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ (ปช.) , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ,พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) , นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ (พช.) , นพ.นิยม วิวรรธนดิษฐกุล รองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศม.) และนายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย (พลท.) ร่วมเป็นวิทยากร

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

                โดย "นายสมพงษ์" หัวหน้าพรรค พท. กล่าวเริ่มต้นการสัมมนาว่า การรัฐประหารตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้บ้านเมืองเสื่อมโทรม ประชาชนอดอยาก เศรษฐกิจไม่ขับเคลื่อน ขณะที่จากกระบวนการของรัฐธรรมนูญทำให้ผู้มีอำนาจยังกลับมา แต่รัฐบาลชุดนี้ก็มีเสียงปริ่มน้ำน้ำอาจทำให้การทำงานในสภาของรัฐบาลลำบากมากขึ้น ขณะที่การอภิปรายช่วงแถลงนโยบายของรัฐบาล ประโยคที่ตนจะพูดหากได้เจอกับ พล.อ.ประยุทธ์ คือเรื่องคุณสมบัติ

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

              ส่วนคำถามที่ว่าฝ่ายค้านจะเคลื่อนไหวนอกสภามากขึ้นหรือไม่ "นายสมพงษ์" หัวหน้าพรรค พท. กล่าวว่า การที่เราพูดกับประชาชนนั้น เป็นเรื่องสร้างความเข้าใจเรื่องแก้รัฐธรรมนูญฯ และเป็นความคิดความอ่านของเขา เราไม่ได้ไปปลุกระดม เราจะให้ความคิดเสริมต่อที่จะแก้ไขไม่ให้เกิดรัฐธรรมนูญเช่นนี้เกิดขึ้นอีก

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

              ทั้งนี้ "นายสมบัติ" หัวหน้าพรรค พท. ยังตอบคำถามย้ำถึงการแก้รัฐธรรมนูญฯ ต้นตอวิกฤติของประเทศด้วยว่า รัฐธรรมนูญฯ นี้เป็นอุปสรรคสำคัญรองลงมาจากการรัฐประหาร โดยรัฐธรรมนูญฯ กำหนดสิ่งต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ รัฐธรรมนูญฯ ที่ออกแบบมาต้องการเสียง 1 ใน 3 ส.ว. แต่เมื่อดูจากการโหวตนายกฯ แล้ว ส.ว.ไม่มีเลยที่เสียงหันเหแยกออกมา ดังนั้นการคิดจะแก้รัฐธรรมนูญฯ เราประชาชนต้องร่วมกัน ซึ่งงานของพรรคร่วมฝ่ายค้านเราก็ทำเรื่องการสานสัมพันธ์กับประชาชนด้วยก็ต้องถ่ายทอดเรื่องรัฐธรรมนูญฯ ให้พี่น้องเข้าใจว่าต้องแก้ไข เพราะการจะยื่นญัตติต่อสภาคงไม่ได้ผล ดังนั้นเราต้องช่วยกัน   

 

              ขณะที่ "นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา" หัวหน้าพรรค ปช. กล่าวว่า ตนมองรัฐบาลนี้ด้วยความสิ้นหวัง และสงสารประชาชนเพราะรอมา 5 ปีนึกว่าหนังจะเปลี่ยนเรื่อง ปรากฏว่าต้องดูเรื่องเดิม ซึ่งวิกฤตของชาติมีทางออกอย่างไรนั้น ตนเห็นว่าวิกฤติครั้งนี้ยิ่งใหญ่เหลือเกิน และขณะนี้ยังมีปัญหาภัยแล้งหลายพื้นที่ แต่หากมองลึก วิกฤติที่รัฐบาลสร้างให้กับประเทศร้ายแรงยิ่งกว่า โดยการจะแก้ปัญหาได้แม้นโยบายเป็นเรื่องสำคัญที่เขียนขึ้นมาอย่างดี แต่ที่สำคัญกว่าคือตัวคนที่จะมาเป็นรัฐบาลดูแล ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จต้องดูที่คนที่จะมากำกับดูแล แต่ถ้าให้ประเมินตนมองดูคนที่กำกับนโยบายแล้วไม่ผ่านสักคน ซึ่งวิกฤติที่ยังแก้ไม่ได้คือความศรัทธาและความหวังตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรี ไปจนถึงรัฐมนตรี ตัวอย่างคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 160 ซึ่งถ้ายังไม่เป็นที่ประจักษ์ก็ไม่ควรได้มาเป็นรัฐมนตรี อย่าง รมว.คลัง ที่ต้องดูแลเรื่องการเงินการคลังของประเทศ ต้องเป็นคนที่ประชาชนไว้วางใจ มีความสุจริตและเป็นที่ประจักษ์ ขณะที่ทางออกของวิกฤติยังต้องจัดการกับมะเร็งร้าย คือรัฐธรรมนูญฯ ที่ควรจะต้องทำการแก้ไขด้วย ขณะที่หากตนได้มีโอกาสพบ พล.อ.ประยุทธ์ครั้งแรกในการแถลงนโยบายรัฐบาล ก็อยากจะพูดว่า "ท่านครับ ท่านพอแล้วครับ ประชาชนเดือดร้อนมาก"  

 

              เมื่อถูกถามถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผ่านมา "นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค ปช." กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็อยู่มา 5 ปียังแก้ไม่ได้ ปัญหายาราคาตกก็ยังมีอยู่ ตนลงพื้นที่พบประชาชนและครูในโรงเรียนเอกชน ก็พบโรงเรียนมีนักเรียน 1,000 คน มาวันละ 600-700 ที่นั่ง อีก 300 คนที่ไม่ได้ไปเพราะไม่มีเงินเสียค่ารถมาโรงเรียน จากปัญหาปากท้องประชาชนจะทำให้กระทบทำให้คนขาดการศึกษาได้ แม้จะเรียนฟรีแต่เงินใช้จ่ายไม่เพียงพอไม่มีค่ารถส่งไปเรียน เรื่องปากท้องก็ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้อะไร บอกอย่างเดียวให้ไปขายที่ดาวอังคาร จริงๆ เมื่อเราเดินไปไหนเรากลัวเรื่องโจรวิ่งราวสร้อยคอ แต่ตอนนี้วิ่งราวเล็กๆน้อยไม่น่ากลัวเท่าปัจจุบันกลัวคนวิ่งราวอำนาจไปหมดเลย วิ่งราวโครงการของรัฐใหญ่ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า เมื่อวิ่งราวแล้วไปแบ่งกัน เมื่อก่อนคนจนจะวิ่งราวคนรวย เดี๋ยวนี้คนรวยมาวิ่งราวคนจน

 

              ขณะที่เมื่อให้มีการประเมินการทำหน้าที่ของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ และประธานรัฐสภา "นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา" ในฐานะอดีตประธานรัฐสภา กล่าวว่า ยังไม่ให้คะแนนสอบตก ให้ผ่านพอๆ กับเสียงรัฐบาลปริ่มน้ำ ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าการทำหน้าที่ของท่านซึ่งจะต้องรักษาชื่อเสียงของท่านที่สะสมไว้ และเกียรติยศของสภา โดยสภาเป็นของประชาชน สภาไม่ใช่ของประชาธิปัตย์ สภาไม่ใช่ของนายชวน

 

              ด้าน "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส" หัวหน้าพรรค สร. เมื่อถูกถามว่าหากเจอหน้า พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในสัปดาห์หน้าแล้วจะพูดอะไร "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ตอบว่า คุณจะเป็นยามที่บ้านผมยังไม่เอาเลยและนาฬิกาคืนเพื่อนไปยัง ? โดยการเสวนาครั้งนี้ "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ได้กล่าวถึงประเด็นมรดก คสช.ว่า ตั้งแต่การยึดอำนาจปี 2557 กลุ่ม กปปส.ได้ดีหมดเลย จนถึงการจัดปาร์ตี้ลสิต์ กระทั่งชาวบ้านคิดกันว่าหัวหน้า กปปส. คงไม่ใช่นายสุเทพ เทือกสุบรรณแล้ว และเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญถ้าไม่มี ส.ว.250 คน จะมาเป็นนายกฯ ได้อย่างไร ส่วนองค์กรอิสระอย่าง กกต. ก็ยังมีปัญหาเรื่องคิดคำนวณจำนวน ส.ส. และยังเรื่องวินิจฉัยที่ได้ร้องเรียนเกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐในการเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ , โต๊ะจีน ส่วนใหญ่ก็ยุติหมด แต่ในเรื่องการตรวจสอบการคำนวณจำนวน ส.ส. อย่างตนได้คะแนน 800,000 กว่า ถ้าคำนวณควรได้ 11.635 แต่กลับให้พบ 10 คน  หายไป 1 เท่ากับเสียงแสนกว่า กลับเอาไปให้คน 30,000 แต่เรื่องนี้ยังไม่จบแน่เพราะตนกำลังเอกสารตรวจสอบ โดยทำหนังสือถึงคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารเมื่อจะขอเรียกดูเอกสาร จะตรวจดูมติ เหตุผล หากผิดก็จะได้ดำเนินคดีถูกคนต่อไป ตนเป็นตำรวจเก่าทำอะไรต้องชัดเจน

 

             

"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ยังกล่าวตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การตั้งรัฐบาลที่ผ่านมาก็ยังแก่งแย่งกันในพรรค และต้องตั้งแบบว่าแบ่งผลประโยชน์กันไป คนที่ได้เป็นรัฐมนตรีแต่ไม่ได้แบบตามที่ต้องการหรือสัญญาไว้ ส่วนใครที่ไม่ได้เป็นคงต้องเสียใจ ก็ไม่รู้จะแหกโค้งเมื่อไร 251 เสียงก็เตือนเอาไว้ และก็ยังมีรัฐมนตรีมีคดีติดตัว อย่างเรื่องยาเสพติดถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก แต่เนติบริกรกลับบอกว่าไม่ผิด เมื่อก่อนเนติบริกรคนนี้เป็นร่วมประชุม ก.ตร.กับตนยังยกย่องว่าคนนี้ความรู้เรื่องกฎหมายได้เลย โดยสมัยรัฐบาลทักษิณเขาเคยเป็นรองนายกฯ มายุคเผด็จการก็เป็นรองนายกฯ จะกี่ครั้งก็เป็นรองนายกฯ ความจริงเรื่องนี้ควรจะมีการขอคำพิพากษาจากศาลในประเทศออสเตรเลียมาก็จบแล้ว โดยถ้าไม่ใช่เจ้าตัวเอามา ก็ควรเป็นรัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรมเอามา

 

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

ส่วน "นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรค อนค. ได้กล่าวว่าผู้ร่วมเสวนาว่า รู้สึกอิจฉากับทุกคนมากเลยเพราะมีโอกาสที่จะได้คุยกับคุณประยุทธ์ ส่วนตนไม่มีโอกาสได้คุยกับคุณประยุทธ์ ก็หวังว่าทุดคนจะทำหน้าที่แทนตนด้วย ส่วนวิกฤติของประเทศไทยที่หนักมาก สำหรับตนก็คือเรากำลังจะส่งสังคมที่แย่กว่านี้ให้กับลูกหลานของเรา ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างลุกหลานที่โตมาจะได้รับมรดกจากเราเป็นสังคมที่แย่กว่าปัจจุบัน โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รายได้ภาคเกษตรกรรมนั้นเพียง 3 % หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น 28%

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

ส่วนคนที่รวยในประเทศไทยกลับมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ขณะที่หลังการเลือกตั้งมีการใช้อำนาจตาม รธน.ชั่วคราว มาตรา 44 ออกนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนโทรคมนาคม ไปช่วยลดดอกเบี้ย และยืดเวลาชำระ แต่ในส่วนของกลุ่มเกษตรกรเงินกู้ ธกส.ไม่มีโอกาสได้รับนโยบายรีไฟแนนซ์ ช่วยลดดอกเบี้ย ยืดเวลา เป็นการปฏิบัติต่อกันอย่างเหลื่อมล้ำ อย่างการทำโครงการรถไฟเชื่อมไปยังสนามบิน น่าจะเอาเม็ดเงินไปทำระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดแต่ละที่ให้สมบูรณ์ทั่วถึงดีกว่าอย่างจังหวัดท่องเที่ยว ให้เชื่อมโยงตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำการของรัฐ การมีรถส่วนตัวก็ไม่จำเป็น ลดต้นทุนประชาชนได้จากการสร้างส้นทางคมนาคมที่ดี

 

หรืออย่างประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสามารถทำทางฟุตบาทใช้วิลแชร์เชื่อมทางจากบ้านไปตลาดด้วยตัวเองได้หรือไม่ ถ้าทำได้จะช่วยลดต้นทุนการดูแลคนแก่-ผู้ใช้วิลแชร์ การต่อสู้ของเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา การแย่งชิงพื้นที่โลกาภิวัตน์เราต้องเตรียมความพร้อม แต่เรายังไม่ได้เตรียมการที่เป็นอย่างนี้เพราะไม่มีประชาธิปไตย ปัญหาการพัฒนาที่เหลื่อมล้ำเพราะรัฐไทยไม่เคยคิดถึงประชาชน

             

ดังนั้นต้องด้วยการเมืองที่ดีเท่านั้น ระบบเศรษฐกิจจึงจะดีและเท่าเทียมกันได้ และข้อสรุปการเมืองที่ดีสิ่งที่สำคัญมากคือ ความเห็นต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันหาทางออกอย่างสันติได้ โดยตนคิดว่าเราจะแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กันได้ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ และระบบการเมือง ทำควบคู่พร้อมกัน ซึ่งเราต้องมาทบทวนว่าระบบการเมืองที่ดีที่คนจะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ระบบการเมืองที่มีประชาชนอยู่ข้างในประเทศ นี่คือภารกิจที่พวกเราจะต้องส่งต่อให้ลูกหลานที่ดีกว่านี้ การแก้ปัญหาไม่ใช่เพียงแค่ให้คุณประยุทธ์ไป แต่ระบบการสืบทอดอำนาจยังมีอยู่ ตราบใดที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยแก้ปัญหาไม่ได้

 

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

 

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

7พรรคฝ่ายค้านดันต้องแก้รธน.ขอเสียง ปชช.ร่วมด้วยช่วยกัน

ทั้งนี้ "นายธนาธร" หัวหน้าพรรค อนค. ยังตอบคำถามที่ พล.อ.ประยุทธ์ เคยบอกเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย 100 % แล้ว ด้วยว่า จะพูดอย่างไรก็แล้วแต่ นี่คือผลของความพยายามสืบทอดอำนาจที่วางแผนไว้แล้ว 5 ปีที่ผ่านมา ตนอยากย้อนถึงบทสัมภาษณ์นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่แถลงข่าวช่วงตกลงจะร่วมพรรค พปชร. ได้บอกว่าการจะทำนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ให้เห็นจริงจังก็ต้องตั้งอยู่บนความจริง ถ้าประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับฝั่งนี้อย่างไรก็มีไม่ถึง 375 เสียง ดังนั้นการมองโลกแห่งความเป็นจริงคือเข้าร่วมกับพลังประชารัฐ ซึ่งตนเห็นว่าการดำรงอยู่ของ 250 ส.ว.บิดเบือนการตัดสินใจของพรรคการเมือง ดังนั้นที่มาของคุณประยุทธ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแน่นอน

 

ด้าน "นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรค พช." กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดวิกฤติ ก็สืบเนื่องจาก 5 ปีที่แล้วที่มีรัฐประหารแล้วฉีกรัฐธรรมนูญ จนเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้วกลายเป็นปัญหามากที่สุด เป็นอุปสรรคการบริหารประเทศ ผู้มีอำนาจเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว เกิดความเหลื่อมล้ำ ยังมีปัญหาคอรัปชั่น ผู้ค้ารายย่อย รายเล็กรายน้อยประสบปัญหา สุดท้ายเงินก็เข้ากระเป๋าเจ้าสัวไม่กี่คน ที่ผ่านมาเราต้องจำยอมเพราะไม่มีทางเลือก ซึ่งตนก็ยังไม่เชื่อว่ารัฐบาลนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำได้เพราะช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคนที่มีอำนาจที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ก็ยังมาอยู่จุดเดิม นโยบายแม้เขียนดีอย่างไร แต่จะปฏิบัติได้หรือไม่ซึ่งหากทำได้คงทำไปตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว อย่างแรงที่หาเสียงขึ้นค่าแรงของพรรคพลังประชารัฐที่บอกจะแก้ความเหลื่อมล้ำ จะพูดอย่างไรก็พูดได้ แต่วิธีการหาเงินรายได้ของรัฐทุกวันนี้คือหาทางการขึ้นภาษีอย่างเดียว  เก็บภาษีให้ได้มากที่สุด โดยที่ผ่านมาเรามีหนี้เพิ่มขึ้นเทียบจากปี 2540 นับ 10 เท่า อดีตมีหนี้ประมาณ 6 แสนกว่าล้าน ตอนนี้หนี้นับล้านล้านบาท ถ้าอยากจะคิดว่ารัฐบาลเครดิตดีกู้ได้เยอะก็ได้

 

ขณะที่ "นพ.นิยม วิวรรธนดิษฐกุล" รองหัวหน้าพรรค ศม. ได้กล่าวย้ำว่ารากเหง้าปัญหา คือระบบการเมืองช่วง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งส่งผลถึงปัจจุบันทั้งสังคม เศรษฐกิจ มีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มาไหลไปไหน ก็ไหลไปสู่นายทุน ราคราพืชผลเกษตรตกต่ำ ก็กลายเป็นยุคข้าวยาก หมากแพง ในส่วนที่ครั้งนี้การร่วมรัฐบาลมีพรรคประชาธิปไตย พรรคภูมิใจไทย เข้ามาเพิ่มเติม ความหวังก็ยังเป็นเรื่องที่ตนรู้สึกว่าเป็นไปได้ยาก

 

 สุดท้าย "นายนิคม บุญวิเศษ" หัวหน้าพรรค พลท. ได้กล่าวถึงการคัดเลือก ส.ว.250 คนที่ผ่านมาว่า ส่วนใหญ่เป็นการเลือกกันเองของฝ่ายผู้มีอำนาจ โดย ในกลุ่ม กก.สรรหามี 6 คน ก็มาเป็น ส.ว.ด้วย เป็นกลุ่มทหาร-ตำรวจ ประมาณ 104 คน และที่เหลือเป็นญาติพี่น้องเป็นเครือข่าย ส่วนนี้จะนำไปพูดในวันอภิปรายในสภาอีก ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 113 ระบุไว้ว่า วูมิสภาต้องไม่ฝักใฝ่ หรือยอมอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใด

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ