ข่าว

"ปชป. –ภท." ยื่นข้อเสนอขั้วที่ 3 ให้ประชาชนตัดสิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปชป. –ภท. ยื่นข้อเสนอขั้วที่ 3 ให้ประชาชนตัดสิน หลังขั้ว 1 และ ขั้ว 2 ตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ ลั่นสังคมเอาด้วยพร้อมเดินหน้า หากใครค้านทางใครทางมัน

         เมื่อวันที่ 22 พ.ค. รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Anutin Charnvirakul ระบุว่า ทำงานกันอยู่นะครับ ไม่ได้มากินกันเฉยๆ ตามที่ได้พูดไว้ทุกอย่าง พร้อมปรากฎภาพ นายอนุทิน กับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส ประจวบคีรีขันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านทีเฮ้าส์ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นั้น

 

       รายงานข่าวเเจ้งว่าประเด็นสำคัญที่ทั้ง2 ฝ่ายหารือ คือ พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอเรื่องขั้วที่ 3 คือหากพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี ส.ส.จำนวน 52 เสียง และ พรรคภูมิใจไทย ที่มีส.ส.จำนวน 51 เสียง รวมกันสองพรรคจะได้ส.ส. 103 เสียง ที่สามารถไปเชื้อเชิญพรรคการเมืองต่างๆ มาร่วมรัฐบาล เพื่อเป็นทางออกของประเทศในเวลานี้

      รายงานข่าวกล่าวว่า  เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ขั้วที่ 1 และ ขั้วที่ 2 ยังจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ โดยเฉพาะคนในพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นไปหลายทิศทาง อาทิ ไม่สามารถไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยได้ บางกลุ่มก็ไม่สามารถสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ รวมทั้ง บางคนยังสนับสนุนให้เป็นฝ่ายค้านอิสระ 

       ขณะที่ฝั่งพรรคภูมิใจไทย ก็พบปัญหาหลากหลายไม่ต่างกันจากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากการการรับฟังความคิดเห็นของส.ส. ระหว่างการประชุมที่จังหวัดบุรีรัมย์เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยพบว่า ส.ส.บางคนเกรงว่าไปร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ก็จะมีปัญหาในพื้นที่เพราะมีกระแสต่อต้านทหาร หรือ บางคนก็บอกว่าไปร่วมรัฐบาลกับฝ่ายไหนก็ได้แต่ขอให้สามารถผลักดันนโยบายแก้ปัญหาปากท้อง และทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบได้

        รายงานข่าวแจ้งว่า ทั้งนี้การหาเรื่องขั้วที่ 3 ดังกล่าวนั้นนายอนุทิน และ นายเฉลิมชัย จะนำเรื่องนี้ไปหารือกับพรรคของตัวเอง ว่าเห็นด้วยกันแนวทางนี้หรือไม่ พร้อมทั้งรับฟังกระแสสังคมควบคู่กันไปในช่วงนี้ ว่าจะขานรับแนวทางขั้วที่ 3 ด้วยหรือไม่ หากประชาชนเห็นด้วยและสนับสนุนก็เชื่อว่าโอกาสของขั้วที่ 3 ด้วยจำนวนตั้งต้น 103 เสียง จะมีโอกาสเดินหน้าไปได้ที่จะชักชวนพรรคการเมืองต่างๆมาจัดตั้งรัฐบาล แต่หากสังคมไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคภูมิใจไทย ก็แยกย้ายไปตามแนวทางของตัวเองหรือเงื่อนไขที่เปิดรับในการร่วมรัฐบาลหรือต้องเป็นฝ่ายค้าน

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ