ข่าว

"6 พรรคการเมือง"ชี้ประชารัฐทำถดถอย 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"6 พรรค"เสวนาเศรษฐกิจไทยชี้ประชารัฐทำถดถอยเสนอแนวทางแก้ภาคเกษตร-อุตสาหกรรม-ท่องเที่ยว การจัดงบเหมาะสม-ส่งเสริมการศึกษา-ทำบูรณาการ

 

               6 ธันวาคม 2561 "มหาวิทยาลัยรังสิต"ร่วม"มูลนิธิปรีดีพนมยงค์"จัดสัมมนาทางวิชาการประจำปีคณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 12 เรื่อง "การปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง"   

 

               โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวว่า ภาพรวมของปัญหาเศรษฐกิจมันเกิดทั่วโลก เศรษฐกิจทุกประเทศเผชิญความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ประการแรก เทคโนโลยีเข้ามาสร้างความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ ประการสอง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้หลายประเทศพบปัญหาความเหลื่อมล้ำ ส่วนไทยเผชิญปัญหาอื่นๆ เช่น ความถดถอยทางการเมือง และกำลังก้าวเข้าสู้สังคมสูงวัย

 

               ทั้งนี้ ปัญหาเศรษฐกิจไทยอัตราเติบโตต่ำกว่าควรจะเป็น เพราะสูญเสียขีดความสามารถ ความเหลื่อล้ำมากขึ้น คำถามเกิดขึ้นรุนแรงช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ปัญหามาจากอะไร คือ ผู้บริหารปรับแนวความคิดตัวเองในแนวเศรษฐกิจไม่ทันความเปลี่ยนแปลง ยังอยู่อำนาจนิยม ศูนย์รวมอำนาจ รัฐเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง สงบเรียบร้อยทุกมิติ 

 

               "เมื่อมีแนวคิดไม่เข้าใจเศรษฐกิจ จนกลายเป็นปัญหาหลายอย่าง แม้ขณะนี้รัฐพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจและใช้งบมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ทำไมไม่เป็นผล เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงินทั้งหมดที่ส่งไป บังคับใช้ในร้านธงฟ้าประชารัฐ สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่สะดวก เงินทั้งหลายไม่ออกมาหมุนเวียน แต่เงินกลับไปร้านค้าที่รัฐกำหนด เมื่อไม่เข้าใจบริบทกลับกลายเป็นการกระจุกตัวในชุมชนและไม่กระตุ้นเศรษฐกิจ"นายอภิสิทธิ์ กล่าว

 

               นอกจากนี้ แนวคิดที่อยู่ยุคเก่าอนุรักษ์นิยม ไม่สดคล้องกับเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่ต้องใช้เสรีภาพทางความความคิด แต่กลับไม่เปิด สุดท้ายเกิดปัญหายากจน เหลื่อมล้ำ ส่วนการปฏิรูปไม่มีหลักคิดวิสัยทัศน์พื้นฐานตั้งแต่ต้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน เป็นสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่และหลังเลือกตั้ง ดังนั้น พรรคการเมืองต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการนำพาให้หลุดพ้นเหล่านี้ ต้องยอมรับทุกปัญหาเชื่อมโยงกัน มีหลักการที่ชัดในเรื่องเศรษฐกิจ การปฏิรูปจะจัดการอย่างไร ซึ่งการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันทางความคิด ดังนั้น ควรเปิดให้ประชาชนตัดสินใจ  

 

               นายจาตุรนต์ ฉายแสง พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวว่า  ถ้าดูการดำเนินนโยบายช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา จะรู้สึกว่าไม่พบการปฏิรูปใดๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจพบว่ายังเสียโอกาส ศักยภาพประเทศถอยหลัง มีปัญหาเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น แม้จะคุ้นเคยคำว่าเศรษฐกิจไทยโตขึ้น 1-4% และได้ยินเสียงวิจารณ์ความเดือดร้อน 3-4% ไม่มีเงินในกระเป๋า ไม่มีรายได้ เพราะมันเกิดสภาพรวยกระจุก จนกระจาย 

 

"6 พรรคการเมือง"ชี้ประชารัฐทำถดถอย 

 

               "ถ้าดูตัวเลขการเติบโตจริงๆ ของเศรษฐกิจไทย โตเป็นอันดับเกือบต่ำสุดอาเซียน และปี 14 -17 เศรษฐกิจไทยโตเพียง 2.8% ขณะเพื่อนบ้าน 6-7% ยกเว้นบรูไนที่โตหลังไทย ขีดความสามารถการแข่งขันไทยย่ำอยู่กับที่ จากอันดับ 37 เป็นอันดับ 38 ความเหลื่อมล้ำความมั่งคั่งทางทรัพย์สินไทยเป็นอันดับหนึ่งของโลก สิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่มีการปฏิรูปชัดเจน ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เสียทั้งการส่งออก การใช้งบประมาณ หลายมาตรการซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ และเศรษฐกิจโตช้า"นายจาตุรนต์ ระบุ

 

               นอกจากนี้ นโยบายช็อปช่วยชาติ แม้กระตุ้นการจ่ายเงิน แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ประโยชน์ คนจ่ายเงินไม่ได้รวยมาก ต้องการออมด้วยซ้ำ เป็นมาตรการไม่ได้ส่งเสริมให้คนคิดหารายได้ส่งเสริมอาชีพ การท่องเที่ยวเป็นจักรสำคัญให้เศรษฐกิจไทยโตได้ช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ทำให้ยั่งยืนมีคุณภาพ 

 

               ขณะเดียวกัน โอนเงินงบประมาณเป็นงบกลางใช้ตามใจชอบจนเสียระบบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานล่าช้า โครงการขนาดใหญ่มีปัญหาเรื่องการประมูล เช่นเดียวกับโครงการประชารัฐ ธุรกิจใหญ่ได้ง่ายที่ทำงานร่วมกับรัฐ ทั้งหมดกลายเป็นการบริหารทำให้รายใหญ่ได้ประโยชน์ จนเกิดความเหลื่อมล้ำ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร สำคัญต่อเศรษฐกิจสมัยใหม่ เศรษฐกิจดิจิตอลสำคัญต่อโลกปัจจุบัน แต่ไทยยังช้ามาก แต่จะเก็บภาษี โดยไม่เข้าใจความสำคัญของโครงสร้าง

 

               ขณะที่ นายศิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ผลโพลล่าสุดประชาชนอยากให้พรรคออกนโยบายแก้ไข ดูแลช่วยเหลือเกษตรกร ปลดหนี้ ความยากจน 47% เน้นการค้าท่องเที่ยวสร้างรายได้ 45% พูดจริงทำจริงพัฒนาจังหวัดและท้อถิ่น 33% ระบบขนส่ง การศึกษา พลังงาน 28% จะเห็นได้ว่าปัญหา 4 อย่าง คู่กับประเทศไทยมาโดยตลอด 

 

               "เราพยายามหลายครั้งในการแก้ปัญหา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการแก้ระยะสั้นตั้งแต่รัฐบาลในอดีต เรามักมีคำถามชาวนาขายข้าวเปลือกถูก แต่กลับซื้อข้าวสารแพง ส่วนเกษตรกรต่างประเทศร่ำรวย แต่ไทยจนซ้ำซ้อน หากเกษตรกรยากจนไม่เปลี่ยนทำอาชีพอื่น ซึ่งเปลี่ยนไม่ได้เพราะเป็นวิถีชีวิต แต่พืชผลที่รัฐให้การสนับสนุนมีปัญหามากในเรื่องการควบคุมปริมาณหรือคาดการณ์ได้ ก็เป็นอีกปัญหาทางภาคเกษตร"นายศิริพงศ์ กล่าว

 

"6 พรรคการเมือง"ชี้ประชารัฐทำถดถอย 

 

               ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว อยากให้มีการท่องเที่ยวชุมชน ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา แต่เมื่อเข้ามาถามว่ารองรับไหวหรือไม่ แค่เพียงบางเมืองเท่านั้น โดยเฉพาะเมืองที่พร้อมก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่าย แต่เมืองรองและเมืองเล็กไม่ได้รับการเหลียวแล ซึ่งการบริหารภาครัฐในอดีตที่ผ่านมา ใช้ความคุ้มค่ามากกว่าให้โอกาส เห็นได้จากภาษีมรดก ไม่เห็นคนรวยได้รับความเดือดร้อน แต่ที่เห็น คือ พ่อแม่เสียต้องขายมรดก เพราะไม่มีเงินเสียภาษี ภาษีที่ดิน คนรวยก็ยังรวย  คนรับภาระคือชั้นกลางและชั้นล่าง กฎหมายไทยตลก รังแกคนขยันและอดออม

 

               ขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของทั้ง 6 พรรคนั้นเริ่มจาก "นายจาตุรนต์" มองว่าเมื่อปัญหาที่เกิดภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย มีข้อจำกัดหลายอย่างส่งผลให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นจากนี้นักการเมืองก็ต้องการบ้านกันมากขึ้น และใช้ประโยชน์ที่รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประชาชนมีส่วนร่วม มากกว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย โดยลำดับแรกต้องฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนมาในไทย

 

                รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้วย ซึ่งฝ่ายการเมืองต้องมีเสถียรภาพ มีความแน่นอนชัดเจนในเรื่องการให้คุณให้โทษ การส่งออกก็ต้องรีบเจรจาเปิดช่องทางให้มากขึ้น เช่นเดียวกับเรื่องการท่องเที่ยวก็สำคัญต้องรีบดึงความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ความสะดวก และต้องทำให้ยั่งยืน สร้างระบบคมนาคมที่พร้อมให้บริการเพื่อความสะดวก ถ้าทำจริงจังยอกจากบริการที่ดีแล้ว ก็ควรเสริมสร้างการบริการต้อนรับแบบไทยๆ สร้างความประทับใจ เรื่องดึงดูดนักลงทุนด้วยมาตรการที่ชัดเจน เช่น การประมูล และในเรื่องของงบประมาณ ควรจัดงบใหม่

 

               เช่นโครงการใหญ่ ๆ อย่างเรื่องดำน้ำ ถ้าไม่มีประสิทธิภาพต้องปรับ วินัยการคลังต้องสร้างคืนมา ไม่ใช่ใช้เงินตามใจชอบ ซึ่งช่วง 4-5 ปีเสียหายที่สุดจนขาดความเชื่อมั่นทั้งในประเทศและต่างปนะเทศ ก็ต้องไม่ให้มีแล้ว และภาพรวมเราต้องเตรียมพร้อมนับสงครามการค้าระดับโลก เศรษฐกิจสมัยใหม่ เศรษฐกิจดิจิตอลกำลังเกิดขึ้นขณะที่ในประเทศโครงสร้างแรงงานก็กำลังเปลี่ยน เราต้องเตรียมพร้อมเพื่อไม่ให้เขาย้ายไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่อื่น เราต้องสร้างแรงงานที่มีทักษะ

 

               ขณะที่ต้องสร้างความสัมพันธ์เศรษฐกิจไทยกับแรงงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพด้วย หรืออย่างกฎหมายไซเบอร์อาจได้เรื่องความมั่นคง แต่ก็เป็นปัญหาเรื่อง Privecy ที่กระทบเศรษฐกิจดิจิตอลได้ สุดท้ายเรื่องการผูกขาดต้องดูแลไม่ให้รวยกระจุก จนกระจาย ซึ่งบางธุรกิจผูกขาดเกินไปก็ต้องกระจายบ้างลดความเหลื่อมล้ำ เหมือนการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ ไม่ใช่แบบประชารัฐอแต่เน้นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนจำนวนมาก ไม่ใช่เอาเงินคนรวยมาแจกให้คนจนแบบให้เปล่าแบบนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเร่งด่วนทันที เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

 

"6 พรรคการเมือง"ชี้ประชารัฐทำถดถอย 

 

               นายสมพงษ์ สระกวี ที่ปรึกษาพรรคเสรีรวมไทย ระบุว่า ทั้ง 6 พรรคการเมืองก็เห็นปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยพรรคเสรีรวมไทยนั้นเห็นว่าเราจมปลักกับการพูดถึงปัญหามานานมาก ปัญหาก็รู้เห็นมานานมาก ซึ่งสิ่งที่ควรเพิ่ม คือ ปัญหาเกษตรกร 30 กว่าลานคน ที่ติดลบมาตลอด  4-5 ปีตกต่ำยิ่งกว่าตกต่ำ เช่น ยาง กิโลละ 30 กว่าบาท ทั้งที่เคย 40 บาท หรือ 80 บาท ไม่ต้องพูดเรื่องปาล์ม หรืออุจสาหกรรมน้ำตาล ที่สาหัสเช่นกัน โดยเราควรต้องใส่ใจปัญหาประชากรภาคเกษตร

 

               โดยต้องปรับราคาให้สมเหตุสมผลแบบอยู่ได้วางตัวเลขเบื้องต้นให้จับต้องได้ และที่สำคัญคือการเพิ่มผลผลิตด้วย เช่น ปัญหายาง เราไม่ภูมิใจแค่เป็นประเทศส่งออกยางที่ดีทึ่สุด แต่เราต้องพัฒนาด้วยการประกาศตัวที่จะเป็นประเทศสร้างผลิตภัณฑ์อื่นจากยางพาราที่ดีที่สุดของโลกแทน โดยที่ผ่านมาปริมาณยางเราผลิตยางดิบได้ 87 % แต่แปรรูปยางเพียง 13 % ดังนั้นเราเพิ่มมูลค่าวัตถุที่เรามีด้วยการผลิตแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางอื่นส่งออก เป็นการยกระดับราคาสินค้าเกษตร เราต้องพร้อมปรับตัวไม่ยอมล้าหลัง เราบ่นแค่ราคาพืชผลถูก การที่เรามีรัฐบาลิำนาจนิยมอาจเป็นเรื่องดีที่ทำให้เราเห็นว่าเราควรต้องแก้ปัญหาอย่างไร เราต้องใส่ใจอย่างไร ปัญหาของประชาชนต้องอยู่บนบ่าของเรา ไม่ใช่ปล่อยวางไว้ 

 

               "นายกิตติรัตน์" รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การบริหารเศรษฐกิจของประเทศภาพรวมก็เหมือนวงดนตรีออเคสต้า ที่นักดนตรีเล่นได้แม่น ถูกจังหวะหรือไม่ โดยแต่ละจุดต้องเล่นสอดประสานให้ได้ ถ้าจะแก้ปัญหาก็เรียกว่าต้อง บูรณาการระหว่างภาครัฐกับเอกชน รวมทั้งปัญหากฎหมายที่มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่นภาครัฐต้องดูว่าอะไรมีข้อจำกัด อย่างการพัฒนาการท่องเที่ยวต้องจัดโครงสร้างกำกับดูแลให้คล้ายกับสภาธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีหน่วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยจัดลำดับสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่นหรือปัญหาภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังผูกขาดเป็นการปิดกั้นการแข่งขันทั่งรายกลาง รายเล็ก รายย่อย ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายควบคุมได้ด้วยความระมัดระวัง หรือการลดกฎระเบียบทำให้เกิดการแข่งขันได้

 

               ดังนั้นจะต้องสร้างกฎหมาย เงื่อนไข สิ่งแวดล้อมที่เอื้อการทำงานร่วมกัน การตัดสินใจแบบองค์คณะร่วมกันเศรษฐกิจไทยจะถูกปลดปล่อย มิใช่แค่รัฐบาลกลางจัดทำ แต่ต้องเป็นผู้สนับสนุนดำเนินการ ดังนั้นการจะปบอดปล่อยพันธนาการเศรษฐกิจไทยด้วยการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานราชการที่เหมาะสม และปลอดพันธนาการเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นมากขึ้น และมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนในทุก ๆ หมวด ทุกกลุ่มธุรกิจอย่างสอดประสาน จะเป็นโอกาสขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า และที่ภาครัฐหวังจะทำตัวเป็นผู้รู้ดีขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโครงการนั้น โครงการนี้ ความจริงภาครัฐเพียงอยู่ในส่วนของตนเองให้เหมาะสม จัดงบประมาณอย่างเหมาะสมเพื่อจะสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ หรือมีนโยบายอุดหนุน เจือจุน ในส่วนที่จำเป็น ตนคิดว่านั่นก็เพียงพอ

 

               ขณะที่นายศิริพงศ์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเกษตรดร มีแนวคิดเรื่อง Profit Sharing ด้วยการปันส่วนจากการนำทุกส่วนมาลงทะเบียนเก็บข้อมูลและปลายฤดูกาลมาแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่มาลงทะเบียน เช่นเรื่องข้าว เกษตรกรได้รับ 70 % , 15 % ให้โรงสี 15 % ให้ผู้บรรจุข้าวถุง ให้หลุดวงจรประกันราคาข้าว ถ้าทำได้ก็ขยายผลสู่ผลผลิตเกษตรอื่นๆ หรืออย่างปาล์มน้ำมัน ก็ทำเป็นอย่างอื่นด้วยเช่น ทำเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นการสนับสนุนอำนาจการซื้อขายให้เกษตรกร โดยความเหลื่อมล้ำทางโอกาสสำคัญสุดเพราะโอกาสคนจน คนชั้นกลาง คนรวยไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากข้อกำหนดด้วย เช่นการกู้เงินลงทุน และโอกาสที่ต่างอีก คือโอกาสทางการศึกษา

 

  "6 พรรคการเมือง"ชี้ประชารัฐทำถดถอย 

 

               ดังนั้นต้องสร้างระบบการศึกษาแบบ Thailand Sharing University คือสร้างทางเลือกการศึกษาและตอบโจทย์ลักษณะศึกษาออนไลน์ให้ผู้ศึกษาได้เลือกว่าจะศึกษาที่ไหนก็ได้เพราะมีมือถือ มี wifi ก็จะเป็นทางออกให้เรียนในสิ่งที่ชอบด้วย เช่น ลูกคนแรงงานก่อสร้างต้องมีโอกาสได้เรียนเพื่อสร้างโอกาสเท่าเทียมกัน ขณะที่เศรษฐกิจก็สร้าง Sharing Economy ตัวอย่างปัจจุบันคนใช้รถ Grab แต่กฎหมายไม่เอื้อให้รถป้ายขาวทำขนส่งได้ การทำให้เท่าเทียมคือทำให้ทุกคนต้องสามารถหารายได้ให้ได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยถ้ามีกำแพงอะไรที่ขวางกั้นโอกาส ก็ต้องทุบกำแพงนั้น เช่นถ้ามีกฎหมายปิดกั้นต่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นกับการใช้ชีวิตประจำวัน เราก็จะแก้เหมือนที่พรรคภูมิใจไทยบอกเเสมอมา คือ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน

 

               ขณะที่นายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจขอเสนอ 3 ข้อ 1.ปลดล็อกการผูกขาดใยประเทศไทยในทุกอุตสาหกรรม โดยทุนใหญ่ส่วนใหญ่นอนเตียงเดียวกับทหาร และเป็นความสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกัน และการปลดปล่อยแหล่งทุน  2.การสร้างงานประเทศอย่างมหาศาล โดยหมดเวลาแล้ว ที่กรุงเทพฯ หรือจังหวัดภาคตะวันออก จะศูนย์กลางจ้างงาน โดยเราต้องสร้างอุตสาหกรรมในประเทศไทย ด้วยคนไทย เพื่อคนไทย โดยให่คำนึงว่าอุตสากรรมต้องยังไม่เคยมีขึ้นในเมืองไทย , สอดคล้องกับทิศทางกานพัฒนาของประเทศ , อุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในปนะเทศไทย อย่างนี้เราไม่ต้องรอต่างชาติมาลงทุนเลย แต่ภาครัฐลงทุนได้เลย เช่นโครงการทำนถไฟ ทำไมเราต้องใช้เงินล้านล้านบาทไปสร้างงานในจีนหรือเยอรมัน 

 

               โดย "นายอภิสิทธิ์" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวสุดท้ายถึงกานแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่า ประเด็นสำคัญการแก้ปัญหามองแยกส่วนไม่ได้ โดยเรื่องการผูกขาดปัญหาอยู่ที่เชิงโครงสร้าง ก็ต้องกำหนดกติกาให้ชัดเรื่ิองการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่าง เช่น เรื่องพลังงาน ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหาร ขณะวันนี้เราบอกกันว่าประชารัฐไม่ใช่คำตอบ แต่ประชานิยมก็ไม่ใช่คำตอบ ดังนั้นเราจะสร้างตัวการชี้วัดความเป็นอยู่ใหม่ โดยเราต้องพิจารณาถึงคนที่มีรายได้ปานกลาง รายได้เป็นค่ากลางสำคัญและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ว่ารายได้สูงคุณภาพชีวิตจะดี และการทำนโยบาย มาตรการ โครงการต่าง ๆ ว่าทำไปแล้วคนได้ประโยชน์คือใคร ใครเสียประโยชน์ ประเมินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

 

               แล้วเติมกำลังประชาชนในแง่โครงสร้างพื้นที่เพื่อเปิดพื้นที่ให้เข้าถึงทรัพยากร เช่นรถไฟความเร็วสูงที่เคยจะทำออกสิงคโปร์เชื่อมโยงจีน มีไทยเป็นศูนย์ แต่ตอนนี้ทำแค่ 3.5 กิโลเมตร แม้มีเจตนาจะให้ทำต่อแต่ดูว่าเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยฉลาดเท่าใด และวิธีการเขียนกฎหมายโดยหลักถ้ากฎหมายไม่เคยห้ามไว้ก็ให้ทำได้ ไม่เช่นนั้นจะอ้างแต่รอกฎหมายรับรอง ขณะการกระจายอำนาจสู่งท้องถิ่นก็สำคัญ เช่นเดียวกับการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลโดยที่ไม่กระทบสิทธิบุคคล ขณะที่ปีหน้าไทยจะเป็นประธานจัดประชุมอาเซียน ประชาธิปัตย์ก็ต้องใช้เวทีนั้นให้เป็นประโยชน์ในการทำสิ่งเหล่านี้ด้วย

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ