ข่าว

เวทีกกต.พบพรรคการเมืองระอุ รุมอัดแบ่งเขตอืด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กกต. ยอมรับเขตเลือกตั้งสำคัญ พรรคต้องทำงานกับเขตเลือกตั้ง เร่งลดขั้นตอนงานธุรการ-ฐานข้อมูลสมาชิกอำนวยความสะดวกให้พรรค


           โรงแรมเซ็นทรา – 22 พ.ย.61-กกต. ยอมรับเขตเลือกตั้งสำคัญ พรรคต้องทำงานกับเขตเลือกตั้ง เร่งลดขั้นตอนงานธุรการ-ฐานข้อมูลสมาชิกอำนวยความสะดวกให้พรรค  ย้ำคำสั่งคสช.16/61 คุณสมบัติสังกัดพรรค 90 วันยังคงอยู่ รับประกันพรรคยื่นจดจัดตั้งพรรคภายในวันพรุ่งนี้ ลงเลือกตั้งทันแน่  ขณะที่ฝ่ายพรรคการเมืองรุมจวก  แบ่งเขตช้า "ชูศักดิ์" ปูดแบ่งแขตรูปแบบที่ 4 ปลิวว่อน ตั้งคำถามกกต.เตรียมทำผิดกฎหมายหรือไม่

           นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแนวทาการดำเนินกิจการแก่พรรคการเมือง ครั้งที่ 4 โดยมีตัวแทนพรรคการเมือง 72 พรรค และผู้ยื่นจดแจ้งเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง 14 กลุ่ม รวม 306 คน เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้สมัครและส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง         

           เวทีกกต.พบพรรคการเมืองระอุ รุมอัดแบ่งเขตอืด

                 โดยนายอิทธิพร กล่าวว่า  รัฐธรรมนูญกำหนดให้กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งและดูแลพรรคการเมือง ขณะที่คำสั่ง หัวหน้าคสช.13/61 กำหนดวิธีการให้พรรคการเมืองสรรหาสมาชิกและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.  สำนักงานกกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองจึงจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติ   โดยเฉพาะเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการรับสมัครและส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคการเมืองจะได้นำแนวทางไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  ซึ่งปัจจุบันมีพรรคการเมือง 89 พรรค ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าประชาชนตื่นตัวในระบอบประชาธิปไตยและจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง จึงขอให้แต่ละพรรคการเมืองดำเนินการตามเจตนารมณ์และอุดมการณ์ในการจัดตั้งพรรค กกต.ขอให้ความมั่นใจอีกครั้งว่า กกต.จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง สุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย และพร้อมให้คำแนะนำปรึกษากับทุกพรรค เพื่อให้การดำเนินกิจกการของพรรคการเมืองถูกต้องตามกฎหมาย กตต.มีหน้าที่สนับสนุนพรรคให้เป็นสถาบันการเมืองที่มีคุณภาพ  

           เวทีกกต.พบพรรคการเมืองระอุ รุมอัดแบ่งเขตอืด  

           นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการกกต.กล่าวถึงการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า ตามกฎหมายกกต.จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งให้เสร็จก่อนวันที่ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มีผลบังคับใช้ หรือก่อนวันที่ 10 ธ.ค.นี้  ซึ่งเขตเลือกตั้งมีความสำคัญมากกับพรรคการเมือง มากกว่าสำนักงานกกต. เพราะพรรคการเมืองต้องทำงานกับเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนและการรับสมัครอยู่ที่เขต เขตเลือกตั้งจึงมีความสำคัญ และตราบใดที่ยังไม่มีเขตก็ตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดไม่ได้ เพราะการตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดต้องใช้สมาชิกที่มีภูมิลำเนาในเขตเลือกตั้ง เมื่อยังไม่มีเขตก็ยังไม่รู้ว่าใครจะอยู่ตรงไหน  

          รองเลขาธิการ กกต. กล่าวอีกว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีเขตเลือกตั้ง กกต.ได้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพรรคการเมือง โดยแก้ประกาศนายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง เรื่องการรายงานทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองรับสมาชิกและรายงานสมาชิกทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคเข้าใช้ฐานข้อมูลได้โดยตรง พรรคการเมืองสามารถแก้ไขเพิ่มเติมสมาชิก กรณีเพิ่มลดให้เป็นปัจจุบันได้ และสามารถตรวจสอบความเป็นสมาชิกพรรคเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของสมาชิกพรรค โดยวันนี้ (22 พ.ย.) พรรคจะได้รับยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดจากสำนักงานกกต.

เวทีกกต.พบพรรคการเมืองระอุ รุมอัดแบ่งเขตอืด

               นอกจากนี้กกต.ได้ตั้งกรุ๊ปไลน์ตามกลุ่มงาน 4 กลุ่ม เพื่อประสานการปฏิบัติงานทางธุรการและตามกฎหมาย รวมทั้งเป็นช่องทางตอบข้อซักถามของแต่ละพรรค ประกอบด้วย กลุ่มด้วย กลุ่มกิจการพรรคการเมืองและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง กลุ่มการเงินและบัญชีพรรคกรเมือง กลุ่มฐานสมาชิกพรรคการเมือง และกลุ่มกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองและการสนับสนุนโดยรัฐ จึงขอให้พรรคการเมืองส่งเจ้าหน้าที่มาเข้ากรุ๊ปไลน์เพื่อพรรคการเมืองจะได้นำข้อมูลไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ทั้งหมดนี้เป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพรรคการเมืองซึ่งกกต.พยายามอย่างเต็มที่

             นายแสวงกล่าวถึงคำสั่งคสช.ที่ 16/61  เรื่องการสรรหารผู้สมัครรับเลือกตั้งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ว่า ขณะนี้มีผู้แทนพรรคโทรหาทุกวัน มากกว่า 20 สาย สอบถามเรื่องหลักเกณฑ์ 90 วันหายไปหรือยัง สามารถย้ายพรรคได้ตลอดหรือไม่ จึงขอชี้แจงว่า กำหนดระยะเวลาสรรหาเป็นคนละเรื่องกับคุณสมบัติของผู้สมัคร หากวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 24 ก.พ. 62 การ สังกัดพรรคและเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน ต้องเป็นสมาชิกก่อนวันที่ 26 พ.ย.นี้  เว้นแต่เป็นพรรคการเมืองจัดตั้งใหม่ที่เข้ายื่นจดจัดตั้งภายในวันที่ 23 พ.ย.นี้ ความเป็นสมาชิกจะย้อนกลับมาถึงวันที่ยื่นจดแจ้ง ขอรับประกันว่าถ้ายื่นจดจัดตั้งพรรคพรุ่งนี้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งทันแน่นอน  ขณะนี้มีพรรคการเมืองสมบูรณ์แล้ว 89 พรรค รวมทั้งพรรคเก่าและใหม่ เหลือกลุ่มการเมืองที่รอตรวจสอบเป็นพรรคอีกจำนวนหนึ่ง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีพรรคการเมืองกว่า 100 พรรค ถือว่าเพียงพอที่จะจัดการเลือกตั้งได้

            นายแสวง กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเมืองตั้งครั้งแรก หรือมินิไพรมารี ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไพรมารีฉบับเต็ม ตามบททั่วไปของพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อแบ่งเบาภาระพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งแรก จากการ "เลือก"เป็น "รับฟัง"  เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยการส่งผู้สมัครให้ส่งจากสาขาหรือตัวแทน อย่างน้อยแต่ละพรรคต้องมี 1 สาขาหรือ 1 ตัวแทน จึงสามารถส่งผู้สมัครในจังหวัดนั้นได้ การรับฟังต้องเป็นไปตามข้อ 4 แก้ไขมาตรา 144 ของพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/61 คือกรณีจัดตั้งสาขาให้รับฟังจากหัวหน้าสาขาและสมาชิก กรณีแต่งตั้งตัวแทนให้รับฟังจากตัวแทนและสมาชิก

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงตอบข้อซักถามของตัวแทนพรรคการเมือง นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ยิ่งมาฟังการชี้แจงของกกต. วันนี้ยิ่งมีความสับสนมากขึ้น ทั้งประเด็นสาขาของพรรคและระยะเวลาการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครที่จะต้องสังกัดพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน จะเป็นผลตามรัฐธรรมนูญคือต้องสังกัดพรรคภายในวันที่ 26 พ.ย.นี้  เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
            "ทั้งนี้ขอถามไปยัง กกต.ว่าเหตุใดจึงยังชักช้าในการประกาศเขตเลือกตั้งซึ่งล่วงเลยมานานจนทำให้มีคำสั่งคสช.ที่ 16/61 ที่ให้อำนาจกกต.ทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ได้ แม้จะขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่วางไว้ กลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และยังเขียนหน้าด้านไปถึงขนาดให้การพิจารณาของกกต.เป็นที่สุด ซึ่งก็ไม่ได้รู้ว่า กกต.เตรียมทำอะไรที่ผิดกฎหมาย หรือผิดระเบียบที่ตัวเองร่างขึ้นหรือไม่ เพราะพรป.การเลือกตั้ง ส.ส. เขียนไว้ชัดว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องทำอย่างไร ขณะนี้ในต่างจังหวัดมีรูปแบบการแบ่งเขต รูปแบบที่ 4 ปลิวว่อนไปหมด และมีข่าวว่ากกต.จะไม่เอา 3 รูปแบบที่รับฟังความเห็น รวมทั้งมีผู้สมัครจากบางพรรคการเมืองไปคุยโม้ว่าแบบที่ 4 กำลังจะมีขึ้น"นายชูศักดิ์ กล่าว

เวทีกกต.พบพรรคการเมืองระอุ รุมอัดแบ่งเขตอืด

          ในเรื่องของการสรรหาผู้สมัคร ที่ต้องรับฟังความคิดเห็นจากหัวหน้าสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดและสมาชิก  ซึ่งมองว่าตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดก็ตั้งจากสมาชิกในเขตอยู่แล้ว แต่ยังไปกำหนดว่าต้องรับฟังความเห็นจากสมาชิก มันจะทำอย่างไร พรรคต้องลงไปคุยกับสมาชิกในแต่ละเขตหรือติดประกาศไว้ในเวปไซต์ได้หรือไม่ ตรงนี้มันลำบากและถ้าเกิดปัญหาในการรับฟังความคิดเห็น  เช่น หากคณะกรรมการสรรหาเลือกนายดำเป็นผู้สมัคร แต่สมาชิกบอกไม่เอาแต่หัวหน้าสาขาจะเอานายดำ กรณีเช่นนี้จะเอาอย่างไร

           นายแสวง กล่าวชี้แจงว่า เรื่องการสังกัดพรรค 90 วันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการสรรหาผู้สมัครขอให้รับฟังจากสมาชิก เขตที่ให้รับฟังคือในพื้นที่ที่สาขานั้นตั้งอยู่หรือในจังหวัด ซึ่งก็ขอให้มีสมาชิกในจังหวัดนั้นๆ ส่วนรูปแบบการรับฟังขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคว่าจะออกแบบอย่างไร จะตั้งเป็นสาขาพรรคหรือตัวแทนพรรค

 

"ไทยรักษาชาติ" ชี้ ไม่จำเป็น ต้องเลื่อนเลือกตั้ง 

           นายพิชิต ชื่นบาน ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ว่า ส่วนตัวเห็นว่าการจัดประชุมของกกต.วันนี้ ถือเป็นเรื่องดีที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแม็ป ส่วนหลักเกณฑ์การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งและเรื่องการแบ่งเขตนั้น คงต้องรอฟัง กกต. อธิบายให้เกิดความชัดเจน ซึ่งพรรคมีข้อสังเกตในเรื่องการแบ่งเขต แต่ก็ต้องให้กำลังใจ กกต. เพราะมีบางอย่างเหนือการทำงาน 

         ทั้งนี้ส่วนตัวยังสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ.62 สำหรับประเด็นเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อนนั้น มองว่าถ้ารอให้ทุกพรรคการเมืองพร้อมก็คงไม่ได้ แต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพทุกพรรคการเมือง แต่อยากให้นึกถึงประชาชน และมั่นใจว่า กกต.จะดำเนินการตามโรดแม็ป เพราะกระบวนการทั้งหมดไม่มีเหตุจำเป็นทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ