ข่าว

แบ่งเขตเลือกตั้ง"กทม.-อีสาน-เหนือ-ใต้"ส.ส.ลด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ระบุจำนวนส.ส.ทั่วประเทศ พบ 23 จังหวัด จำนวนส.ส.ลดลง กทม.-อีสาน-เหนือ-กลาง-ใต้ ส่วนตะวันออก-ตะวันตก มีส.ส.คงที่  

 

          19 กันยานน 2561 กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ระบุจำนวนส.ส.ทั่วประเทศ พบ 23 จังหวัด จำนวนส.ส.ลดลง กทม.-อีสาน-เหนือ-กลาง-ใต้ ส่วนตะวันออก-ตะวันตก มีส.ส.คงที่

 

 

 

 

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นการเตรียมการเลือกตั้งส.ส.ที่จะมีขึ้น โดยจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค.60 มีจำนวน 66,188,503 คน  เป็นฐานในการแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งจำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 189,110 คน ต่อส.ส. 1 คน 

 

          ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนส.ส.ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ทั้งสิ้น 23 จังหวัด  ประกอบด้วย  กรุงเทพมหานคร เดิม 33 คน เหลือ 30 คน กระบี่ เดิม 3 คน เหลือ 2 คน  กาฬสินธุ์  เดิม 6 คนเหลือ 5 คน ชัยภูมิ เดิม 7 คน เหลือ 6 คน  เชียงใหม่ เดิม10 คนเหลือ 9 คน  ตรัง เดิม 4 คน เหลือ 3 คน นครราชสีมา เดิม 15 คน เหลือ 14 คน นครศรีธรรมราช เดิม 9 คน เหลือ 8 คน นนทบุรี เดิม 7 คน เหลือ 6 คน   บุรีรัมย์ เดิม 9 คนเหลือ 8 คน พระนครศรีอยุธยา เดิม 5 คน เหลือ 4 คน  เพชรบูรณ์ เดิม 6 คนเหลือ 5 คน  แพร่ เดิม 3 คนเหลือ 2 คน ร้อยเอ็ด เดิม 8 คน เหลือ 7 คน  เลย เดิม 4 คน เหลือ 3 คน สกลนคร เดิม 7 คนเหลือ 6 คน  สระบุรี เดิม 4 คนเหลือ 3 คน สุพรรณบุรี  เดิม 5 คนเหลือ 4 คน สุรินทร์  เดิม 8 คนเหลือ 7 คน อ่างทองเดิม 2 คนเหลือ 1 คน   อุดรธานี เดิม 9 คน เหลือ 8 คน  อุตรดิตถ์ เดิม 3 คน เหลือ 2 คน และอุบลราชธานีเดิม 11 คนเหลือ10 คน ส่วนอีกมี 54 จังหวัดที่มีจำนวนส.ส.เท่าเดิม

 

          โดยสรุป ภาคเหนือ 9 จังหวัด เดิมมีส.ส.  36 คน ลดเหลือ 33 คน ภาคอีสานเดิมมีส.ส. 126 คน ลดเหลือ 116 คน ภาคกลางเดิมมีส.ส. 82 คน ลดเหลือ 76 คน ภาคใต้เดิมมีส.ส. 53 คน ลดเหลือ 50 คน และกรุงเทพมหานครเดิมมีส.ส. 33 คน ลดเหลือ 30 คน ส่วนภาคที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงคือ ภาคตะวันออกมีส.ส. 26 คน และภาคตะวันตกมีส.ส.  19 คน เท่าเดิม


          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง กำหนดให้ผอ.กกต.จังหวัดแบ่งเขตแต่ละจังหวัดตามจำนวนสส.ในสามรูปแบบ ภายใน 14 วัน และภายใน 10 วัน รับฟังความเห็นจากพรรคการเมือง ประชาชน จากนั้นภายใน 3 วัน ผอ.กกต.จังหวัดประมวลความคิดเห็นว่าจะมีการปรับปรุงหรือไม่ รายงานต่อ กกต. โดยกกต.มีเวลา 20 วันในการพิจารณาเพื่อเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด เพื่อประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง  รวมใช้เวลา 50 วัน ตามระเบียบของกกต. แต่กกต. คาดการณ์ว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 60 วันซึ่งจะครบกำหนดประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2561 ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส.จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 จากนั้นจะเริ่มนับถอยหลัง 150 วันสู่การเลือกตั้ง

 

          สำหรับข้อมูลการกำหนดจำนวน ส.ส. และ เขตเลือกตั้ง แต่ละจังหวัด 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ของกกต. แบ่งออกเป็น 6 ภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี ส.ส. 33 คน ลดลงจากเดิม 3 เขต ประกอบด้วย 1.จังหวัดเชียงราย 7 คน (เท่าเดิม)2.จังหวัดเชียงใหม่ 9 คน (ลดลง 1 เขต)  3.จังหวัดน่าน 3 คน (เท่าเดิม) 4.จังหวัดพะเยา 3 คน(เท่าเดิม) 5.จังหวัดแพร่ 2 คน (ลดลง 1เขต) 6.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 คน (เท่าเดิม)  7.จังหวัดลำปาง 4 คน (เท่าเดิม) 8.จังหวัดลำพูน 2 คน (เท่าเดิม) 9.จังหวัดอุตรดิตถ์ 2 คน (ลดลง 1เขต)

 

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี ส.ส. 116 คน ลดลงจากเดิม10 เขต ประกอบด้วย 1.จังหวัดกาฬสินธุ์ 5คน (ลดลง 1เขต)  2.จังหวัดขอนแก่น 10คน (เท่าเดิม) 3.จังหวัดชัยภูมิ 6คน (ลดลง 1เขต) 4.จังหวัดนครพนม 4คน (เท่าเดิม) 5.จังหวัดนครราชสีมา 14คน (ลดลง 1เขต) 6.จังหวัดบึงกาฬ 2คน (เท่าเดิม) 7.จังหวัดบุรีรัมย์ 8คน (ลดลง 1เขต) 8.จังหวัดมหาสารคาม 5คน (เท่าเดิม) 9.จังหวัดมุกดาหาร 2คน (เท่าเดิม) 10.จังหวัดยโสธร 3คน (เท่าเดิม) 11.จังหวัดร้อยเอ็ด 7คน (ลดลง 1เขต) 12.จังหวัดเลย 3คน (ลดลง 1เขต) 13.จังหวัดสกลนคร 6คน (ลดลง 1เขต) 14.จังหวัดสุรินทร์ 7คน (ลดลง 1เขต) 15.จังหวัดศรีสะเกษ 8คน (เท่าเดิม) 16.จังหวัดหนองคาย 3คน (เท่าเดิม)  17.จังหวัดหนองบัวลำภู 3คน (เท่าเดิม) 18.จังหวัดอุดรธานี 8คน (ลดลง 1เขต) 19.จังหวัดอุบลราชธานี 10คน (ลดลง 1เขต) 20.จังหวัดอำนาจเจริญ 2คน (เท่าเดิม)

 

          ภาคกลาง 21 จังหวัด มี ส.ส. 76 คน ลดลงจากเดิม 6 เขต (ไม่นับกรุงเทพมหานคร ไม่ถือเป็นจังหวัด) ประกอบด้วย 1.จังหวัดกำแพงเพชร 4คน (เท่าเดิม) 2.จังหวัดชัยนาท 2คน (เท่าเดิม) 3.จังหวัดนครนายก 1คน (เท่าเดิม) 4.จังหวัดนครปฐม 5คน (เท่าเดิม) 5.จังหวัดนครสวรรค์ 6คน (เท่าเดิม) 6.จังหวัดนนทบุรี 6คน (ลดลง 1เขต)  7.จังหวัดปทุมธานี 6คน (เท่าเดิม) 8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4คน(ลดลง 1เขต)  9.จังหวัดพิจิตร 3คน (เท่าเดิม) 10.จังหวัดพิษณุโลก 5คน (เท่าเดิม) 11.จังหวัดเพชรบูรณ์ 5คน (ลดลง 1เขต) 12.จังหวัดลพบุรี 4คน (เท่าเดิม) 13.จังหวัดสมุทรปราการ 7คน (เท่าเดิม) 14.จังหวัดสมุทรสงคราม 1คน (เท่าเดิม) 15.จังหวัดสมุทรสาคร 3คน (เท่าเดิม) 16.จังหวัดสิงห์บุรี 1คน (เท่าเดิม) 17.จังหวัดสุโขทัย 3คน (เท่าเดิม) 18.จังหวัดสุพรรณบุรี 4คน (ลดลง 1เขต) 19.จังหวัดสระบุรี 3คน (ลดลง 1เขต) 20.จังหวัดอ่างทอง 1คน (ลดลง 1เขต) 21.จังหวัดอุทัยธานี 2คน (เท่าเดิม)

 

          ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี ส.ส. 26 คน  1.จังหวัดจันทบุรี 3คน (เท่าเดิม) 2.จังหวัดฉะเชิงเทรา 4คน (เท่าเดิม) 3.จังหวัดชลบุรี 8คน (เท่าเดิม) 4.จังหวัดตราด 1คน (เท่าเดิม)  5.จังหวัดปราจีนบุรี 3 คน (เท่าเดิม) 6.จังหวัดระยอง 4คน (เท่าเดิม)7.จังหวัดสระแก้ว 3คน (เท่าเดิม)

 

          ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี ส.ส. 19 คน 1.จังหวัดกาญจนบุรี 5คน (เท่าเดิม) 2.จังหวัดตาก 3คน(เท่าเดิม)  3.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3คน(เท่าเดิม) 4.จังหวัดเพชรบุรี 3คน (เท่าเดิม) 5.จังหวัดราชบุรี 5คน(เท่าเดิม)

 

          ภาคใต้ 14 จังหวัด มี ส.ส. 50 คน ลดลงจากเดิม 3 เขต ประกอบด้วย  1.จังหวัดกระบี่ 2 คน (ลดลง 1เขต) 2.จังหวัดชุมพร 3คน (เท่าเดิม)  3.จังหวัดตรัง 3คน (ลดลง 1เขต)  4.จังหวัดนครศรีธรรมราช 8คน (ลดลง 1เขต)  5.จังหวัดนราธิวาส 4คน (เท่าเดิม)  6.จังหวัดปัตตานี 4คน (เท่าเดิม) 7.จังหวัดพังงา 1คน (เท่าเดิม) 8.จังหวัดพัทลุง 3คน (เท่าเดิม) 9.จังหวัดภูเก็ต 2คน (เท่าเดิม) 10.จังหวัดระนอง 1คน (เท่าเดิม) 11.จังหวัดสตูล 2คน (เท่าเดิม) 12.จังหวัดสงขลา 8คน (เท่าเดิม) 13.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 6คน (เท่าเดิม) 14.จังหวัดยะลา 3 คน (เท่าเดิม)

 

          กรุงเทพมหานคร มี ส.ส. 30 คน ( ลดลง 3 เขต)

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ