ข่าว

กฎหมายเปิดช่อง ป.ป.ช.เว้นลักษณะต้องห้าม กระทบสอบทุจริต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วิชา" เชื่อกระทบความไว้ใจสอบทุจริต หลังกฎหมายเปิดช่อง ป.ป.ช.เว้นลักษณะต้องห้ามไม่ขัดรธน. เชื่อปมคำวินิจฉัยศาลรธน. ถูกตั้งคำถามจากฝ่ายวิชาการ

 

          12 มี.ค. 61 - นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ความเห็นต่อประเด็นการเขียนเว้นการใช้ลักษณะต้องห้ามตาม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้กรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองมาไม่พ้นเวลา 10 ปี ปฏิบติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อคำวินิจฉัยออกมาเป็นดังว่าต้องยึดถือและยอมรับ แต่เชื่อว่าในทางวิชาการจะพบข้อถกเถียง โดยเฉพาะประเด็นการเขียนลักษณะต้องห้ามของกรรมการองค์กรอิสระที่รัฐธรรมนูญเขียนให้เป็นลักษณะที่เป็นมาตรการเด็ดขาด ซึ่งมีรวมทั้งสิ้น 24 กรณี ดังนั้นหากกฎหมายเขียนเว้นลักษณะต้องห้าม เพราะมองว่าพอรับกันได้ ตนถือว่าเขียนกฎหมายเพื่อยกเว้นรัฐธรรมนูญ

          นายวิชา กล่าวถึงประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. ที่ถูกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพื่อให้ดำรงตำแหน่งต่อไป ว่า อาจจะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะความเชื่อใจในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะอำนาจของป.ป.ช. คือการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการระดับสูง รวมถึงข้าราชการการเมือง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอำนาจ มีตำแหน่ง และที่สำคัญคือต้องมีบทบาทในการตรวจสอบทุจริต บูรณาการการปราบโกงทั้งระบบ ดังนั้นเมื่อกรรมการป.ป.ช.ถูกตั้งคำถามวาระดำรงตำแหน่งเชื่อว่าจะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ และถูกตั้งคำถามกลับมายังตัวบุคคลและองค์กรตรวจสอบ

          "ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นประเด็นสำคัญ ช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งยอมรับว่าถือเป็นแรงกดดันต่อการทำงาน เคยเจอภาวะที่ยากลำบากที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนต้องขนของย้ายที่ทำงาน แต่ตอนนี้เมื่อกรรมการป.ป.ช. ถูกตั้งประเด็นที่เกี่ยวกับการเคยเป็นข้าราชการการเมืองมาก่อน เชื่อว่าจะมีผลกระทบและปัญหาแน่นอนในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลคสช. ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ว่ากรรมการป.ป.ช.ที่เว้นลักษณะต้องห้ามแล้วจะตรวจสอบนักการเมือง ข้าราชการการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง" นายวิชา กล่าว

          อดีต กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ต้องจับตา คือบทบาทการทำงานของป.ป.ช. ต่อการประเมินหรือการพิจารณาจากองค์กรตรวจสอบสากล หากการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส ไม่เปิดเผย อาจจะเป็นประเด็นที่กระทบต่อการประเมินได้.

               


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ