ข่าว

ภตช. ชงปปง. เร่งเชือด!!ทุจริตCCTVใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภตช. ชงปปง. เร่งเชือด!ทุจริตCCTV รัฐสูญ 300 ล้านบ.ระบุซอฟต์แวร์ไม่ครบ ศูนย์ควบคุมไม่มี ดูผ่าน มือถือ-แจ้งเตือน สพฐ. กอ.รมน.ไม่ได้ เชื่อใจ"บิ๊กตู่"ปราบทุจริตได้

       เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2560 ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) นำโดย นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์  หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และ เลขาธิการคณะกรรมการเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ และ คณะฯ ได้เดินทางมายื่นหนังสือ ต่อ พลตำรวจเอกชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ผ่าน ร.ต.อ.ไพรัตน์ เทศพานิช เลขานุการกรม ปปง. เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการอาจจะกระทำความผิดตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3(5) และ มาตรา 4(ตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน อายัดการเงินและทรัพย์สิน ถ้าผิดดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป) กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับ 8-11 สังกัด สพฐ.

ภตช. ชงปปง. เร่งเชือด!!ทุจริตCCTVใต้

        เลขาธิการ ภตช. กล่าวอีกว่า ช่วง จัดซื้อจัดจ้าง เซ็นสัญญา (มี อดีต เลขาธิการ กพฐ อดีต ผอ.ศูนย์ใต้ สพฐ ผอ.ศูนย์ใต้ สพฐ. ผอ.เขต รอง ผอ.เขต) เอกชนผู้รับสัญญา อาทิ 1. บริษัท ไทยทรานสมิชชั่น อินดี้สทรี จำกัด(TTI) 2.บริษัทบางกอกอีเล็กโทรนิคส์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(BE) 3.บริษัทเทคโน-ซายน์ จำกัด(TNS) 4.บริษัท ลิบร้า เน็ตเวิร์ค แอนด์เซอร์วิส จำกัด(LIBRA) 5.บริษัท ซีซีทีวี(ประเทศไทย) จำกัด(CCTV) และ เจ้าหน้าที่ทหารบางคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด(ประธานจัดซื้อจัดจ้าง ประธานการตรวจรับพัสดุ )

ภตช. ชงปปง. เร่งเชือด!!ทุจริตCCTVใต้

      "ขบวนการดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากล ในการจัดซื้อกล้องวงจรปิด(cctv) และการส่งมอบงานติดตั้ง โครงการ safe zone school ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) วงเงิน 405,079,680 บาท(งบประมาณปี พ.ศ.2557 สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ต่อเนื่อง รัฐบาล คสช) หลังจากนั้น คณะทำงานฯก็ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ส่งผู้แทนเข้าไปสังเกตการณ์จัดซื้อจัดจ้าง ส่งผู้แทนเข้าไปตรวจสอบการติดตั้ง-ส่งมอบงาน จนกระทั้ง นำคณะทำงานการตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ภายใต้ ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ"้เลขาธิการ ภตช. กล่าว

ภตช. ชงปปง. เร่งเชือด!!ทุจริตCCTVใต้

      เลขาธิการ ภตช.  กล่าวเพิ่มเติมว่า ภตช.ได้ลงพื้นที่อีกครั้งช่วง วันที่ 2-3 มีนาคม 2560 ต่อจาก การลงพื้นที่ตรวจสอบของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่ 9 ที่สรุปแล้วว่า มีการส่งมอบงานไม่ครบตามสัญญา หลังจากนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดย นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ได้มอบให้ พลโทโกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. ลงตรวจสอบเพิ่มในวันที่ 27-30 มีนาคม 2560 ได้ข้อสรุปว่า น่าจะมีการทุจริตจริง ส่งมอบงานไม่ครบหลายกรณี โครงการล้มเหลว ดูแล นักเรียน ครู 5 จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ได้ แล้วเบิกจ่ายไปแล้ว 11 เขตพื้นที่การศึกษา อีก 1 เขตพื้นที่การศึกษายังไม่ได้เบิกจ่าย ชี้รัฐเสียหายกว่า 300 ล้านบาท

      "พอจะได้ข้อสรุปดังนี้  กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง อาจจะมีขบวนการฮั้วประมูลของ ดังนี้ บริษัท ไทยทรานสมิชชั่น อินดี้สทรี จำกัด(TTI) ได้สัญญา 6 สัญญาได้แก่ สพป.ปัตตานี เขต 1,2 สพป.ยะลา เขต 1,สพป.นราธิวาส เขต 1,2 สพป.สงขลา เขต3,บริษัท บางกอกอีเล็กโทรนิคส์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(BE) ได้สัญญา 1 สัญญาได้แก่ สพม.เขต 16, บริษัทเทคโน-ซายน์ จำกัด(TNS) ได้สัญญา 3 สัญญาได้แก่ สพป.ปัตตานี เขต 3 , สพป.ยะลา เขต 2 ,สพป.นราธิวาส เขต3,บริษัท ลิบร้า เน็ตเวิร์คแอนด์ เซอร์วิส จำกัด(LIBRA) ได้สัญญา 2 สัญญาได้แก่ สพม เขต 15,สพป.ยะลา เขต 3 และบริษัท ซีซีทีวี(ประเทศไทย) จำกัด(CCTV) อาจจะเข้าแข่งขันเป็นพิธี ใน สพป.ปัตตานี เขต1  มีพฤติกรรมอาจจะสมยอมจงใจไม่แข่งขันราคากันอย่างเป็นธรรม มีการไม่นำของมาแสดงแบบไขว้กันจงใจแพ้ ไขว้กันจงใจชนะ เป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยเป็นอย่างมาก"เลขาธิการ ภตช. กล่าว

      เลขาธิการ ภตช.  ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการตรวจรับงาน จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจรายโรงเรียนในกลุ่ม 1,092 โรงเรียน กับ 12 สำนักงานเขต พบว่ามีการส่งมอบงานไม่ครบตามคุณลักษณะเฉพาะทางวิชาการ และ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาในโครงการ safe zone school ดังนี้ 1.อาจจะไม่มีการปฏิบัติตาม ข้อกำหนดทางเทคนิคทั่วไป ข้อ 5..จะต้องออกแบบระบบกล้องวงจรปิด สามารถดูผ่าน Web Browser และสามารถแสดงภาพผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS และ Androild ได้เป็นอย่างน้อย หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบ สามารถดูกล้องวงจรปิดทั้ง 6 กล้อง ได้ทุกที่ผ่านระบบออนไลด์ ตลอดเวลา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้รับผิดชอบ สามารถดูกล้องวงจรปิดทั้ง 140 จุด 840 กล้อง(ตัวอย่าง สพป.ปัตตานี เขต 1) ได้ทุกที่ผ่านระบบออนไลด์ในเวลาเดียวกันตลอดเวลา จะต้องมีห้องคอลโทรลเพื่อง่ายต่อการควบคุม เลขาธิการ กพฐ หรือผู้รับผิดชอบ สามารถดูกล้องวงจรปิดทั้ง 1,104 จุด 6,624 กล้องได้ทุกที่ผ่านระบบออนไลด์ในเวลาเดียวกันตลอดเวลา จะต้องมีห้องคอลโทรลที่ สพฐ.เพื่อง่ายต่อการควบคุม แม่ทัพภาคที่ 4 หรือผู้รับผิดชอบ สามารถดูกล้องวงจรปิดทั้ง 1,104 จุด 6,624 กล้องได้ทุกที่ผ่านระบบออนไลด์ในเวลาเดียวกัน จะต้องมีห้องคอลโทรลที่ กอ.รมน.ภาคที่ 4 ส่วนหน้า เพื่อง่ายต่อการควบคุม

      2. อาจจะไม่มีการปฏิบัติตาม คุณลักษณะเฉพาะโครงการ Safe Zone School(CCTV) ข้อ 1.2.12 มีระบบรองรับแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้(Alarm condition) ข้อ 1.2.12.1 พบการเคลื่อนไหวในตำแหน่งที่กำหนด(Motion Detection) ข้อ 1.212.2 มีสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอก(Alarm Input) ข้อ 2.12.3 เมื่อระบบขัดข้อง ขาดการเชื่อมต่อหรือถูกกู้คืน(Network loss and recovery ข้อ1.2.13 มีระบบรองรับแจ้งเตือนในรูปแบบดังต่อไปนี้ได้เป็นอย่างน้อย(Alarm function) ข้อ 1.2.13.1 ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ภายนอก ผ่าน(Alarm Output ) ข้อ 1.2.13.2 ส่งภาพนิ่ง หรือ ข้อความแจ้งเตือนผ่าน E-mail  เมื่อระบบไม่เชื่อมต่อตามข้อ 1 ข้อ 2 ก็ส่งสัญญาณ ไม่ได้ การติดกล้องวงจรปิดก็ไร้ประโยชน์

       3.อาจจะไม่มีการปฏิบัติตาม ในTor ส่วนแนบท้ายสัญญา ระบุว่า ข้อ 1.2.2 สามารถบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดชนิด IP NETWORK CAMERA ได้ไม่น้อยกว่า 16 กล้อง แต่เมื่อทางผู้เชี่ยวชาญระบบซอฟแวร์ ทำการทดสอบระบบเชื่อมต่อกล้องที่ 7-16 โดยผู้เชี่ยวชาญจาก มจธ. ร่วมกับ นายอรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว ผอ.สพป.ปัตตานี เขต 1 เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถเชื่อมต่อกล้องที่ 7-16 ได้ เพราะว่ามีซอร์ฟแวร์ลิขสิทธิ์จีฟิน แค่ 6 ไลด์เซ่น ซึ่งยังไม่ครบตามเอกสารแนบท้ายสัญญาข้อ 1.2.2 และท้ายสัญญาที่ระบุชื่อซอร์ฟแวร์ จีฟิน ในการเชื่อมระบบ เพราะทางบริษัทคู่สัญญาทั้ง 12 เขต ได้ตกลงเซ็นสัญญากับเขตพื้นที่ไว้ทั้งหมดแล้วอีกทั้งไม่ได้เปิดช่องว่างให้เปลี่ยนซอร์ฟแวร์ได้ ซอร์ฟแวร์ที่ติดตั้งต้องเป็นแบบถาวรตลอดอายุการใช้งาน ซอร์ฟแวร์ชั่วคราวก็ติดตั้งไม่ได้

     4.ข้อสังเกตเพิ่มเติม มีดังนี้  มีการจ้าง บริษัท MIDWAY จำกัด ติดตั้ง ทั้ง 11 เขตพื้นที่การศึกษา โดย บริษัท ไทยทรานสมิชชั่น อินดี้สทรี จำกัด(TTI) ได้สัญญา 6 สัญญาได้แก่ สพป.ปัตตานี เขต 1,2 สพป.ยะลา เขต 1,สพป.นราธิวาส เขต 1,2 สพป.สงขลา เขต 3 บริษัทเทคโน-ซายน์ จำกัด(TNS) ได้สัญญา 3 สัญญาได้แก่ สพป.ปัตตานี เขต 3 , สพป.ยะลา เขต 2 ,สพป.นราธิวาส เขต 3 บริษัท ลิบร้า เน็ตเวิร์คแอนด์ เซอร์วิส จำกัด(LIBRA) ได้สัญญา 2 สัญญาได้แก่ สพม เขต 15 ,สพป.ยะลา เขต 3 ยกเว้น บริษัท บางกอกอีเล็กโทรนิคส์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(BE) ได้สัญญา 1 สัญญาได้แก่ สพม.เขต 16 เพียงบริษัทเดียวที่ติดตั้งเอง

        อุปกรณ์การติดตั้ง อาทิ กล้อง CCTV , เครื่องบันทึก NVR, ฮาร์ดดิส ,สายแคตซิก,ซอฟแวร์การติดตั้ง,จอแสดงผล ใน 12 เขตพื้นที่การศึกษา น่าจะเป็นอุปกรณ์มาจากแหล่งเดียวกันทั้งหมด ถ้าซื้อในปริมาณมาก ราคาจะถูก,อุปกรณ์ต่างๆที่นำมาทดสอบการเชื่อมต่อ ณ วันที่เสนอราคา น่าจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันทั้งหมด

      “สุดท้ายเพื่อเป็นการไม่ให้ปล่อยคนผิดลอยนวล ย่ำยีความปลอดภัยของ นักเรียน ครู ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ตามชื่อของโครงการ ปปง ก็ควรเร่งดำเนินการดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องคอยให้ผู้กระทำความผิดนำเงินไปไว้ต่างประเทศก่อนแล้วอีก 20 ปีค่อยไปทวงคืน มันช้าไป ศธ., ปปง., ปปท., สตง. ควรประสาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่าให้บุคคลเหล่านี้ ที่อาจจะกระทำความผิด หนีออกนอกประเทศไปก่อนได้ ผมเชื่อมันอย่างมากในความตั้งใจในการแก้ปัญหาทำลายระบอบทุจริตในประเทศไทยให้สิ้นซาก ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และผมคิดว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็มั่นใจเช่นกันเหมือนกับผม”เลขาธิการ ภตช. กล่าว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ