ข่าว

ฝันค้าง!! “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” ไม่ผ่าน!!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” สะดุด หลัง กมธ.ปิโตรเลียม สนช.ยอมตัดมาตรา 10/1 ไปไว้ในข้อสังเกต ก่อนที่สนช.จะลงมติผ่านกม.ด้วยคะแนน 227 เสียง

 

               30 มี..60 -ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ...ปิโตรเลียม พ.....ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยพล..สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ...ปิโตรเลียม ชี้แจงก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา ว่า เรื่องนี้มีประชาชนไม่พอใจมาร่วมกลุ่มประท้วงให้ถอนร่าง เพราะกมธ.ไม่ได้เห็นชอบตามที่เสนอมาทั้งหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ การทำงานกมธ.เชิญนักวิชาการผู้ที่เกี่ยวข้องมา ทั้งภาคประชาชน เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ภาคธุรกิจ และผู้ต่อต้าน โดยสมาชิกแต่ละคนเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่สั่งซ้ายหันขวาหันได้ เราถูกโจมตีจากทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มนายทุนที่ว่าเราไปฟังประชาชนอย่างเดียวไม่ลืมหูลืมตา เราทำงานเพื่อประเทศ เป็นทหารอดทนได้แต่อย่ามากเกินไป มีขีดจำกัด

               พล..สกนธ์ กล่าวว่า กรอบการทำงานของ กมธ. ได้ปรับแก้ไขเนื้อหาในร่างเดิม 4 มาตรา เพิ่มขึ้นใหม่สองมาตรา โดยหลักคือการแก้ไขถ้อยคำจาก “สัญญาจ้างสำรวจผลิต” เป็น ”สัญญาจ้างบริการ” ส่วนการเพิ่มเรื่องบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ นั้นไม่ได้เริ่มต้นมาจากทางกรรมาธิการ แต่มาจากผู้แทนสนช. ในการประสานงานกับวิปรัฐบาล แจ้งว่ามีผู้สงวนคำแปรญัตติ จึงนำประเด็นนี้ไปเสนอต่อ ครม.พิจารณาแล้วจึงเห็นชอบให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ และบัญญัติใน พ...นี้ โดยให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารูปแบบวิธีดำเนินการหลังพ...นี้มีผลบังคับใช้

               “เรื่องบรรษัทน้ำมันแห่งชาตินั้น แผนระยะยาวไม่ใช่ทำทันที แต่จะต้องมีการศึกษา มติ ครม.เคยให้กระทรวงพลังงาน กระทรงการคลัง ศึกษาว่าจะใหญ่จะเล็ก มีอำนาจหน้าที่ โครงสร้างอย่างไร ทำทันทีไม่ได้ แล้วเอาคนจากไหนมาตั้ง ก็อาจเอาคนจาก ปตท.สผ. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมพลังงานทหาร สามส่วนมาร่วมกันได้”พล..สกนธ์ กล่าว

               จากนั้นเปิดให้สมาชิกอภิปราย เป็นรายมาตรา โดยในมาตรา 10/1 ที่กมธ.วิสามัญฯบัญญัติขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้มี บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ หรือ NOC (Nation Oil Company)เมื่อมีความพร้อม และศึกษารายละเอียดของรูปแบบและวิธีการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ อภิปรายว่า มาตราดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นใหม่ตามมติของครม.ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(วิปสนช.) ได้ประสานเพื่อสอบถามไปถึง 2 ครั้ง ซึ่งครม.ยืนยันว่าให้บัญญัติบรรษัทน้ำมันฯไว้ในร่างกฎหมาย รวมทั้งได้กำหนดให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ในร่างกฎหมายเขียนแค่เฉพาะให้ตั้งบรรษัทน้ำมันฯเมื่อมีความพร้อมเพียงอย่างเดียว ซึ่งเชื่อว่าถ้าเขียนแบบนี้บรรษัทน้ำมันฯไม่มีทางเกิดขึ้น ดังนั้นเราควรที่จะจัดทำร่างพ...อีก 1 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งบรรษัทเป็นการเฉพาะ

               นายวรพล โสคติยานุรักษ์ อภิปรายว่า เห็นใจและเข้าใจกมธ.วิสามัญฯ ที่พยายามเขียนแล้ว แต่ได้แค่ 2-3 บรรทัด ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้จะทำให้บรรษัทน้ำมันฯเกิดขึ้นยาก ด้านนายธานี อ่อนละเอียด กล่าวว่า มาตราดังกล่าวน่าจะมีปัญหาเนื่องจากผิดหลักการ ดังนั้นเห็นว่าควรนำไปไว้ในข้อสังเกตของร่างพ...เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน

               ขณะที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กล่าวว่า ทั่วโลกมีรูปแบบบรรษัทน้ำมันฯอยู่ 4 รูปแบบ สำหรับประเทศไทยอยู่ในรูปแบบที่รัฐไม่ได้ถือครอง 100 % และระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ มีบทบาทเฉพาะการลงทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หลายคนบอกว่าขณะนี้มูลค่าแหล่งพลังงานของไทยมีสูงถึง 7 แสนล้านบาท ถือว่ามีมูลค่ามาก แต่เมื่อเทียบกับพลังงานที่เรานำเข้าอยู่ขณะนี้มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จะเห็นว่าน้อยมาก ดังนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเทียบกับอะไร หากสนช.ผ่านร่างพ...ดังกล่าว คิดว่ากระทรวงพลังงานจะสามารถทำงานได้ แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือเรามีความจำเป็นต้องมีบรรษัทน้ำมันฯหรือไม่ รวมถึงต้องสรรหาเงินและบุคลากรให้เพียงพอ ทั้งนี้ ปตท.สผ.เป็นเพียงผู้ประกอบ ส่วนผู้ที่รักษาผลประโยชน์ของชาติ คือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกได้มีการอภิปรายจำนวนมากซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้สั่งพักการประชุม 10 นาที เพื่อให้\ ทั้งกรรมาธิการฯและผู้อภิปรายหลอมรวมความคิดเห็น เนื่องจากมาตรา 10/1 ใช้เวลาอภิปรายนานมากแล้ว

               ต่อมาเวลา 18.40 .การประชุมสนช.ได้กลับมาประชุมอีกครั้ง โดยพล...บุญเรือง ผลพานิชย์ สนช.อภิปรายว่า การเขียนกฎหมายเปิดไว้อย่างนี้ เป็นการเปิดช่องสุ่มเสี่ยงให้รัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง อาจจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรษัทผิดเพี้ยนไป โดยอ้างกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น ตนขอเสนอให้ใส่ลงไปในข้อสังเกตว่าการตั้งบรรษัทฯ ต้องทำภายใน 1 ปี หากไม่ทำ สมาชิก 25 คนสามารถเข้าชื่อเสนอเป็นกฎหมายให้มีการจัดตั้งได้ ทั้งนี้ พล..สกนธ์ ชี้แจงว่า เนื่องจากกมธ.ได้พิจารณาโดยรอบคอบและกำหนดเป็นมาตรา 10/1 แล้วก็ยังไม่สบายใจที่จะเปลี่ยนแปลง ดังนั้นตนขอยืนตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเราผ่านขั้นตอนมามากมายแล้ว

               ด้านนายสมชาย เสนอตัดมาตรา 10/1 แล้วให้เอาไปใส่ไว้ในข้อสังเกตอย่างหนักแน่นว่าจะมีการดำเนินการโดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง เมื่อพ...ผ่านไป 1 ปี จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ขณะที่พล..สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรมว.พลังงาน กล่าวว่า ทาง พล..อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน ได้ให้มายืนยันว่า กระทรวงพลังงานพร้อมนำข้อสังเกตไปสู่การศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม หาแนวทางรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการจัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมเกิดประโยชน์ประเทศชาติ เพื่อให้เกิดประเทศชาติสูงสุด ในที่สุดกรรมาธิการก็ยอมตามข้อเสนอ โดยพล..สกนธ์ แจ้งว่า ทางกมธ.ยอมรับในข้อเสนอของนายสมชาย แสวงการ และจะให้มาตรา 10/1 ไปอยู่ในข้อสังเกต เพื่อให้สภาเดินหน้าต่อไปได้

               จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเป็นรายมาตราผ่านวาระ 2 และมีมติผ่านในวาระ 3 คือวาระให้ความเห็นชอบ ด้วยคะแนน 227 ต่อ 1 งดออกเสียง 3 เพื่อให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยใช้เวลาพิจารณาเรื่องนี้เกือบ 6 ชั่วโมง

               จากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบกับตั้งข้อสังเกตข้อสังเกตการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยมีข้อความว่า ร่างพ...นี้ได้เพิ่มให้มีการนำระบบสัญญาสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจัดจ้างบริการ มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม ซึ่งการบริหารจัดการตามระบบที่เกิดขึ้นใหม่ทั้ง 2 ระบบ มีความแตกต่างจากการบริหารจัดการตามระบบสัมปทานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือระบบอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต รวมทั้งการดำเนินการตามระบบที่เพิ่มขึ้นใหม่ จะมีผลทำให้รัฐมีกรรมสิทธิ์ในผลผลิตปิโตรเลียมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด รัฐจึงควรจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่ในการรบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมนั้น ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยเร็วครม.จึงควรแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นภายใน 60 วันเพื่อพิจารณาศึกษาถึงรายละเอียดของรูปแบบและวิธีการในการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติที่เหมาะสมภายใน 1 ปี ต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ