ข่าว

คปพ. หนุนตั้ง "บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คปพ. แถลงโต้ "หม่อมอุ๋ย" ลั่นไม่รับตำแหน่งใดๆใน "บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ" ยันประชาชนได้ประโยชน์ แต่ค้าน ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เตรียมเสนอ "บิ๊กตู่" ใช้ ม.44 ยุต

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดย นางรสนา โตสิตระกูล อดีตสว. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อมกลุ่มสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. ร่วมกันแถลงจุดยืนคัดค้านร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ พร้อมชี้แจงตอบโต้ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ 

                โดยนายธีระชัย กล่าวถึงกรณีม.ร.ว.ปรีดิยาธร ออกมาคัดค้านการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยเฉพาะข้อกังวลจะมีกรมทหารเข้ามาบริหารจัดการน้ำมันว่า  เหตุใดจึงไม่ต้องการให้เชื้อเพลิงธรรมชาติมาตกอยู่ในมือของรัฐ เพราะการให้รัฐจัดการ จะทำให้รัฐและประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง 100% จึงไม่อยากให้กังวลว่าทหารจะเข้ามาจัดการ เพราะทหารก็น่าจะนึกถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก  การที่กรมพลังงานทหารเข้ามาก็ยิ่งทำให้การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติทำได้ทันที แต่การบริหารขึ้นอยู่กับโมเดล โดยบทบาทบรรษัทสามารถทำเป็นบันได 3 ขั้น ซึ่งขั้นที่ 1 ต้องมี 2 บทบาท คือ ขายปิโตรเลียมแทนเอกชน เพราะหากให้เอกชนมาจัดการ หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบเอกชนได้ และบทบาทในการถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐ เช่น ท่อก๊าซ แท่นขุดเจาะ หากใช้โมเดลแรกก็สามารถตั้งได้ทันที และไม่จำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางเศรษฐกิจ และไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการรวมศูนย์อำนาจ หรือการเมืองจะเข้ามาแทรกแซง เพราะทุกอย่างต้องทำอย่างโปร่งใส
 
                นายธีระชัย กล่าวว่า ส่วนบันไดขั้นที่ 2 ต้องมีบุคคลากรที่มีความรู้ ไม่ต่างจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลต. หรือเอกชน และให้ผลตอบแทนน่าพึงพอใจ ซึ่งบันไดที่ 1-2 สามารถทำได้ โดยไม่ต้องใช้คนมาก สำหรับบันไดขั้นที่ 3 บรรษัททำธุรกิจเองทุกขั้นตอน แต่อยากให้ดูตัวอย่างจากประเทศเม็กซิโก เพื่อดูว่าประเทศไทยพร้อมถึงขั้นนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ก็ไม่จำเป็น เป็นงานยาก เราต้องมานั่งประเมินตัวเองว่าพร้อมหรือไม่  ตนคิดว่าขั้นแรกเราสามารถดำเนินการจัดบรรษัท ได้ทันที ใช้เงินไม่มาก บุคลากรไม่มาก ขั้นที่2 เป็นสิทธิกระทรวงพลังงานตัดสินใจ จะโอนงาน กรมเชื้อเพลงธรรมชาติหรือไม่ เพื่อความสะดวก ตนย้ำว่าการมีบรรษัท จะทำให้ผลประโยชน์เบี่ยงแบนไปจากเดิม ที่เคยอยู่ในมือของเอกชนที่ผู้มีสิทธิ์ในขณะนี้ ได้สิทธิในการรับซื้อ ปิโตรเลียม ณ ปากหลุมอยู่คนเดียวเป็นสิทธิผูกขาด จะย้ายมาเป็นสิทธิของบรรษัท และกำไรที่เกิดขึ้น จากการซื้อและขายก๊าซก็จะเป็นของประชาชน
                 
    ส่วนที่ม.ร.ว.ปรีดิยากร ยกตัวเองย้อนกลับไปในอดีตว่า ตลาดน้ำมันของประเทศไทย ตลาดที่ครองน้ำมันเป็นหลักเป็นบริษัทต่างชาติ  แล้วการตั้งการปิโตรเลียมแปรรูปมาเป็นปตท. ทำให้ปตท.ประสบความสำเร็จอยู่ระดับที่ใหญ่ เป็นบริษัทต้นๆของโลก สามารถขยายกิจการไปได้ในประเทศเพื่อบ้านได้อย่างดี และในเมื่อมีบริษัทที่ทำหน้าที่รัฐวิสาหกิจดีอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องตั้งบรรษัท  ในอนาคตอันใกล้  จะมีการเปลี่ยนแปลงในสถานะการณ์ธุรกิจพลังงานของประเทศไทย ที่ไปจากกระบวนการทำงานเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ จาก 2 ปัจจัย  ปัจจัยที่1 พอเราเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต จะเป็นครั้งแรกที่รัฐมีสิทธิในด้านต่างๆโดยเฉพาะสิทธิในการที่จะขายปิโตรเลียม ปัจจัยที่ 2 สัมปทานที่กำลังจะทยอยหมดอายุ ทำให้รัฐได้รับทรัพย์เข้ามาของรัฐจำนวนมาก จะทำให้เกิด ทรัพยสิทธิ กรรมสิทธิ์หรือสิทธิต่างๆ  ในรูปแบบใหม่ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และเราเอาสิทธิเหล่านี้ไปให้บริษัทเอกชนได้หรือไม่ ทำไม่ได้
 
                “ยกตัวอย่างปตท.ตอนแปรรูปปตท.มีการให้สิทธิในการจองหุ้นกับคนหลายกลุ่ม กลุ่มที่1 กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กลุ่มที่ 2 ผู้มีอุปการะคุณ กลุ่มที่ 3 กลุ่มนักการเมืองหรือสมาชิกรัฐสภาได้รับสิทธิในการซื้อหุ้น และสิทธิในการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งอาจจะเป็นคนที่มี่บัญชีอยู่นอกประเทศเอาสิทธินี้ไปใช้หรือไม่” นายธีระชัย กล่าว  
 
                นายธีระชัย กล่าวต่อว่า หากรัฐเอาสิทธินี้ให้กับบริษัท มีผู้ถือหุ้น โดยเฉาพะมีผู้ถือหุ้นต่างประเทศทำให้ประชาชนเสียหาย เป็นการเอาผลประโยชน์ประชาชนทั้งประเทศ ไปให้ประโยชน์ของคนกลุ่มเล็ก หรือให้ต่างชาติ การเอาทรัพยสิทธิ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ยกไปให้กับใครก็ตาม ทำให้ประโยชน์ไม่ต้องกับประชาชนร้อยเปอร์เซ็น  ย้ำว่า ทรัพยสิทธิ จำเป็นต้องเอาเข้ามาเป็นกรรมสิทธิของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ  ทั้งนี้หากจัดตั้งและดึงกรรมสิทธิ์มาตั้งรวมศูนย์ จะต้องยุบกิจการขนาดใหญ่หยุดลง อาจเกิดปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจได้  ตนติดตามการทำงานเห็นว่าหลายบริษัท โฆษณาตัวเองว่ามีธรรมาภิบาลสูง โปร่งใส ผู้บริหารสูงเป็นที่ยอมรับ มีกำไรต่อเนื่อง  จึงอย่าไปกังวลแทนเขา  
 
                อย่างไรก็ตามตนเสนอให้สนช. แก้ไขมาตรานี้  ให้มีการจัดตั้งบรรษัททันที  ต้องจัดตั้งก่อนการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณ  แหล่งบงกช เพราะจำเป็นที่ต้องให้เปิดผลประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน และการเปิดประมูลให้มีการแข่งขันเต็มที่ ให้สร้างกติกาก่อน ค่อยยืนข้อเสนอ ว่าใครทำอะไร บรรษัทจำเป็นให้เอกชนเห็นก่อนการยื่นข้อเสนอต่างๆ
 
                ด้านน.ส.รสนา กล่าวว่า บรรษัทนำมันแห่งชาติ เป็นผลประโยชน์สำคัญของประเทศ ต้องบอกว่า พรบ.ปิโตรเลียม 2514 ได้บัญญัติ ไว้ว่าจะให้สัมปทานกับเอกชนเพียง2 ครั้ง ในยุคแรก บงกชและเอราวัณ การที่กฎหมายปิโตรเลียมให้ 2 ครั้งแสดงว่ามีเจตนารมณ์ต้องการให้สัมปทานเพื่อให้เอกชนพัฒนาก่อนในยุคแรกและในเวลา 39-50 ปี เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีสืบทอดและมาบริหารต่อ การที่รัฐบาลในอดีตมีการตั้งปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและปตท สข. เพื่อถ่ายโอนเทคโนโลยี  แต่ปรากฏว่า ในระยะเวลาที่ผ่านมา นักการเมืองในแต่ละสมัย ก็มีการแปรรูปตั้งแต่ให้เป็นเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์  ในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลเลยไม่ได้มี บรรษัทน้ำมันแห่ชาติ ซึ่งเป็นในเจตนารมณ์ของพรบ.ปิโตรเลียม 2514  เมื่อให้2 ครั้ง ไม่ให้ต่อสัมปทานอีก หมายถึงให้รัฐกลับมาทำเอง ซึ่งเวลา 39-50 ปี เพียงพอที่คนไทย ทำหน้าที่นี้ต่อไป  
 
                ทั้งนี้แหล่งเอราวัณกับแหล่งบงกช กำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี 2565 2566  และต่อสัมทปทานไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้กฎหมายปิโตรเลียม และรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานพูดชัดเจน การแก้กฎหมายปิโตรเลียมในครั้งนี้ เพื่อนนำมาจัดการ เอราวัณและบงกช ในเรื่องการต่ออายุ แต่กฎหมายบอกไว้แล้วห้ามต่อสัมทปทานอีก จึงจำเป็นต้องใส่ที่เรียกว่าระบบ แบ่งปันผลผลิตเข้ามา กฎหมายฉบับนี้มี 3 ระบบ แต่ไม่นิยาม ว่าต่างกันอย่างไร  กฎหมายกำลังแก้มี3 ระบบ เรียกว่า จ้างบริการคืออะไร คือรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิม เป็นรูปแบบนายหน้า เพราะคนที่ได้สัมปทานไปแล้วก็ไปจ้างคนอื่นมา ถ้าเรามีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมา และแหล่งน้ำมันหมดอายุ ก็ตั้งขึ้นมาเป็นของประเทศ  ไม่ต่างจากโทรคมนาคม เวลาหมดสัมปทาน ก็ต้องโอนกลับมาในการบริหารต่อไป จึงจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานรัฐที่รับมอบ
 
                น.ส.รสนา กล่าวว่า บรรษัทจะเป็นตัวสำคัญที่จะมาดูเรื่องของปริมาณและการจัดการส่วนแบ่ง ปตท.พาสื่อไปดูงานความล้มเหลวของเม็กซิโก แต่น่าไปดู ปิโตรนัส เพราะเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซ็น แต่ก็ทำสัญญาเอกชนให้เอกชนเข้าประมูล ระบบประมูล จะเป็นระบบที่โปร่งใสที่สุด แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นการประกวดความงาม  และที่อ้างว่าจะมีเงินต่างประเทศถึง 5,000 ล้าน หากคิดแล้วเป็นแค่ 1 เปอร์เซ็นที่ได้ใน 1ปีเพราะมีรายได้ถึง 5 แสนล้านบาท  ถ้าเราตั้งบรรษัท ก็ใช้เงินไม่ต้องมาก หลังจากนั้นจะมีเงิน 2แสนล้านบาทเข้ามาจากแหล่งของ เอราวัณและบงกช สมมุติประมูลแล้ว รัฐ60 เอกชน 40 รัฐมีหน้าที่บริหารขาย แต่กฎหมายฉบับนี้ ไม่มีบรรษัท  สมมุติให้คู่สัญญาเป็นผู้ขายและถ้าหากคู่สัญญา ตั้งบริษัทลูกมารับงานเอง
 
                ทั้งนี้สิ่งที่เราคัดค้านเพราะเราไม่ใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานที่โลกใช้กันอยู่ เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตกำมะลอ แบ่งปันจำแลง เป็นสงครามแย่งชิง การกำหนดกติกา จะมาบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งมีมูลค่า4-5 แสนล้านบาท การที่กลุ่มทุนพลังงาน พาสื่อไปดูเขียนข่าวโฆษณาว่า ความล้มเหลวที่เดินตามรอยนั้น เรื่องที่สังคมต้องจับตาดู บรรษัท หัวใจสำคัญของผลประโยชน์กลับมาอยู่ของประเทศชาติหรือผลประโยชน์อยู่ที่ประชาชนต่อไป  การใช้ระบบสัมปทานทำให้เอกชน มาข้อสัมปทานเร่ขายในต่างประเทศได้ ทำกำไรหลายพันล้าน ประเทศไม่ได้อะไร  ถ้าเป็นระบบผลผลิตเอกชนจะไม่สามารถเอาแหล่งปิโตรเลียม ของเราไปขายต่อได้ ไม่สามารถเอาแผ่นดินไปเร่ขายได้  เชื่อว่านายกฯมีเจตนาดีกับบ้านเมืองแต่กลุ่มทุน ราชการ แวดล้อมที่อยู่รอบตัวท่าน ทำให้ท่านไม่ได้ยินเสียงของพวกเรา

                ขณะที่นายปานเทพ กล่าวว่า เนื้อหายังแก้ไขไม่ตอบโจทย์ตามที่ประชาชนเรียกร้อง เพราะถึงแม้จะมีการกำหนดให้มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มาจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติจริง แต่ไม่ได้กำหนดให้จัดตั้งทันที เท่ากับว่าเป็นการเปิดช่องให้บริษัทรายเดิม ได้ต่อสัมปทานรอบใหม่ อีกทั้งตามระบบแบ่งปันผลผลิตและจ้างผลิตไม่ได้กำหนดให้มีการประมูลอย่างยุติธรรม สุดท้ายจะเกิดช่องว่างการใช้ดุลยพินิจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายเดิมอยู่ดี   ทั้งนี้ยืนยันว่า คปพ.จะไม่รับตำแหน่งใดๆทั้งสิ้นในบรรษัทน้ำมันแห่งชาติอย่างแน่นอน และในวันที่ 30 มี.ค. เวลา 08.00 น. จะเข้ายื่นหนังสือคัดค้านร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ต่อประธานสนช.และหากสนช. ยังผ่านร่างกม.ดังกล่าว จะยื่นหนังสือให้นายกฯดำเนินการโดยใช้มาตรา 44 เพื่อยุติร่างดังกล่าว แต่หากไม่ได้รับคำชี้แจงจากนายกฯ ก็จะปักหลักชุมนุมบริเวณหน้า กพร. จนกว่ารัฐบาลเลิกกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามตนอยากทราบว่า ภายใต้หน้ากากประยุทธ์จะทำเพื่อกลุ่มทุนหรือทำเพื่อประชาชน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ