ข่าว

สนช.นัดประชุม 3 วัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สนช.นัดประชุม 3 วันรวดสัปดาห์หน้า วาระประชุมแน่นเอียดพร้อมปิดจ๊อบคดีถอดถอน          

          ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีคำสั่งนัดประชุมสนช.ครั้งที่ 21/2560เป็นพิเศษในวันพุธที่ 29 มี.ค. ครั้งที่ 22/2560ในวันพฤหัสบดี ที่ 30 มี.ค. และ ครั้งที่ 23/2560ในวันศุกร์ที่ 31 มี.ค.โดยมีวาระคือการพิจารณากฎหมายสำคัญหลายฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี  อาทิ ร่างพ.ร.บ.ธนาคารออมสิน  (ฉบับที่..) พ.ศ... ,ร่าง พ.ร.บ.ระบบการชำเงิน พ.ศ...  ,ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่..) พ.ศ...,ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่..) พ.ศ...,รวมถึงร่างพ.ร.บ.ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..)พ.ศ...และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่..) พ.ศ...นอกจากนี้การประชุมสนช.นัดพิเศษในวันที่ 29 มี.ค.มีวาระสำคัญคือการดำเนินการกระบวนการถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต รมว.ต่างประเทศออกจากตำแหน่งจากกรณีการออกหนังสือเดินทางให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯโดยมิชอบ โดยเป็นขั้นตอนการรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาของคู่กรณีคือ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้กล่าวหา และนายสุรพงษ์ ผู้ถูกกล่าวหา ก่อนที่จะนัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนในการประชุมสนช.วันที่ 30 มี.ค.ทั้งนี้เป็นสัปดาห์ที่มีการเรียกประชุมสนช.ถึง 3 วัน ซึ่งโดยปกติจะประชุมเพียง 2 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตอาจเป็นเพราะกระบวนการถอดถอนนายสุรพงษ์ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หากล่าช้าออกไปจนรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้กระบวนการอาจไม่เสร็จสิ้นเนื่องจากรัฐธรรมใหม่ได้ ตัดอำนาจการถอดถอนของวุฒิสภาซึ่ง สนช.ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ออกไป

                นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(วิปสนช.) กล่าวถึงการบรรจุวาระการประชุมสนช.ที่มีกฎหมายค่อนข้างมากว่า คงไม่ปฏิเสธว่าสนช.ต้องเร่งพิจารณากฎหมายเพราะเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งแม้จะนัดประชุมถึง 3 วัน แต่ก็ยังมีกฎหมายสำคัญอีกหลายฉบับยังไม่ได้บรรจุในวาระอย่างไรก็ตามการพิจารณากฎหมายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้จะต้องรับฟังความเห็นและศึกษาผลกระทบนั้น คงต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะขณะนี้ก็ยังตีความกันเป็น 2 ทาง คือมองว่าการเสนอกฎหมาย คือ รัฐ หมายถึง รัฐบาลจะต้องเป็นผู้ศึกษา ขณะที่ฝ่ายตีความว่าเป็นหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งกฎหมายที่เกรงว่าจะเป็นปัญหาคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน เช่น ทรัพยากรน้ำ จะต้องพิจารณาว่าเราได้รับฟังความเห็นรอบด้านหรือยัง ต้องทำประชาพิจารณ์อย่างไรจึงจะครบตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย.

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ