ข่าว

“ปลัดมท.”สั่ง5มาตรการ“ผวจ.-นอภ.”ทั่วปท.รับมือภัยแล้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“ปลัดมท.”สั่ง5มาตรการ“ผวจ.-นอภ.”ทั่วปท.รับมือภัยแล้งจี้ตั้งคกก.สำรวจข้อมูลแหล่งน้ำ-ปริมาณการใช้ขอน้อมนำแนวทางพระราชดำริดึงปชช.ร่วมบริหารจัดการ

          12มี.ค.60 -ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้บริหารองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.)ทั่วประเทศเพื่อแจ้งแนวทางการบริหารจัดการน้ำบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนมีเนื้อหาระบุว่าช่วงเดือนมี.ค.เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งหน่วยงานพยากรณ์สภาพอากาศได้คาดการณ์ว่าฤดูแล้งปีนี้ อาจมีระยะเวลาสั้นกว่าปีก่อนๆ

          "โดยฝนจะเริ่มตกในเดือนพ.ค.60และอาจเกิดฝนทิ้งช่วงสลับกันไปจนถึงเดือนมิ.ย.60ก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงปลายเดือนก.ค.60ซึ่งอาจทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ต่างๆไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนเพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจึงขอแนะนำจังหวัดให้ดำเนินการดังนี้1.ขอให้จังหวัดจัดตั้งคณะทำงานสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำและปริมาณการใช้น้ำในระดับพื้นที่หมู่บ้านตำบลอำเภอโดยแยกเป็นน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร"ปลัดมท. กล่าว

          ปลัดมท.กล่าวอีกว่า ในการดำเนินการส่วนที่2.ให้พิจารณามอบหมายรองผู้ว่าฯหรือปลัดจังหวัดตามความเหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะทำงานประกอบด้วยนายอำเภอหรือผู้แทนผู้แทนหน่วยงานกระทรวงทรัพย์ฯในจังหวัดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับน้ำ,ชลประทานพื้นที่,กปภ.จังหวัด,ปภ.จังหวัด,ผู้แทนอปท.,ตัวแทนประชาชนหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำฯลฯนำข้อมูลน้ำตามข้อ1มาวิเคราะห์เพื่อประเมินหรือคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำแต่ละประเภทว่าจะเพียงพอถึงช่วงเวลาใด

          3.ขอให้จังหวัดได้น้อมนำแนวทางตามพระราชดำริในเรื่องการบริหารจัดการน้ำและความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดจนหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำโดยให้พิจารณาดัดแปลงสภาพธรรมชาติของพื้นที่เช่นลำเหมืองเดิมทางน้ำไหลในฤดูฝนที่ราบลุ่มเชิงเขาแล้วนำมาทำเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเช่นเหมือง,ฝายชะลอน้ำ,หลุมขนมครกหรือแก้มลิงฯลฯเชิญชวนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมทำโครงการโดยอาจใช้วัสดุตามธรรมชาติในพื้นที่เข้าร่วมก่อสร้างโครงการจะเป็นการสร้างความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกความเป็นเจ้าของโครงการซึ่งอาจส่งผลในเรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัดหรือการบำรุงรักษาโครงการให้ยั่งยืนด้วยสำหรับพื้นที่ดำเนินการซึ่งอยู่ในเขตป่าประเภทต่างๆหรือที่สาธารณะให้ประสานงานมอบหมายหน่วยงานกระทรวงทรัพย์ฯในพื้นที่

         นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า 4.ขอให้นำสถานการณ์การขาดแคลนน้ำหรือประสบการณ์ปัญหาการใช้น้ำในปีก่อนๆมาปรับปรุงแก้ไขจัดทำเป็นเเผนบริหารการใช้น้ำในฤดูแล้ง5.สำหรับงบประมาณดำเนินการตามข้อแนะนำข้างต้นนั้นจังหวัดสามารถพิจารณาขอใช้งบประมาณด้านป้องกันภัยตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ซึ่งต้องพิจารณาเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณให้รอบคอบ

          "หรือประสานโดยตรงกับกรมปภ.อีกทางหนึ่งด้วยหรือใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาจังหวัดๆละ2ล้านบาทตามแผนพัฒนาจังหวัด,งบประมาณเหลือจ่ายจากโครงการแผนพัฒนาจังหวัด,กลุ่มจังหวัดปี60งบประมาณของอปท.พื้นที่รวมทั้งงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในพื้นที่หรืองบประมาณดูแลสังคมสิ่งแวดล้อม(ซีเอสอาร์)ของภาคเอกชนหรือประชารัฐด้วยก็ได้หากมีปัญหาอุปสรรคหรือข้อเสนอแนะที่อาจเป็นแนวปฏิบัติที่ดีขอให้รายงานกระทรวงมหาดไทยทราบด้วย" ปลัดมท. กล่าว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ