ข่าว

หายอีก!บัญชีรายชื่อประชามติที่เชียงใหม่2หน่วย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มือมืดป่วนออกเสียงประชามติที่เชียงใหม่ขโมยบัญชีรายชื่อหายไปจากหน่วยออกเสียง 2 จุด คาด 99% กลุ่มชาติพันธุ์ไปออกเสียงโดยไม่เข้าใจร่างรธน.

           เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 2 ส.ค. พล.ต.ต.มนตรี สัมบุณณานนท์ ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ ได้รับแจ้งจาก พ.ต.อ.อัครินทร์ กาสา ผกก.สภ.สันป่าตอง ว่าที่หน่วยออกเสียงประชามติ ที่ 14 บ้านบ่อก๊าง ม.14 ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ มีการสูญหายของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงประชามติ ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งไว้ และทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการแจ้งความกับ พงส.สภ.สันป่าตอง เพื่อใช้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งได้เข้าทำการตรวจสอบ โดยเบื้องต้นทราบว่าการสูญหายดังกล่าวเป็นลักษณะที่ถูกขโมยไป  และไม่มีร่องรอยของการเกิดจากภัยธรรมชาติเช่น ลมพัดหรือไฟไหม้แต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ประสานแจ้งให้ทางฝ่ายทะเบียนอำเภอรับทราบพร้อมทั้งได้ให้ทางอำเภอดำเนินการตีพิมพ์บัญชีรายชื่อใหม่ นำไปติดตั้งตามเดิมแล้ว

           ด้านนายธนู แสนจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 14 บ้านบ่อก๊าง ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า บัญชีรายชื่อที่สูญหายไปในครั้งนี้คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อกลางดึกของคืน 30 กรกฎาคมที่ผ่านมาและชาวบ้านมาทราบว่าบัญชีรายชื่อได้หายไปในช่วงสายของวันที่ 31 กรกฎาคมจึงได้เข้าแจ้งความที่ สภ.สันป่าตอง จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นคนกลุ่มไหนหรือบุคคลใดที่มาขโมยบัญชีรายชื่อดังกล่าว 

           ล่าสุดในวันนี้ทางอำเภอได้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อมาให้ใหม่ เพื่อนำไปติดตั้งอีกครั้งแล้ว ซึ่งหน่วยเลือกตั้งดังกล่าว มีผู้มีสิทธิ์ในการออกเสียงประชามติทั้งสิ้น 222 คน จึงได้นำมาติดตั้งไว้ที่หน่วย ในช่วงกลางวันเพื่อให้ชาวบ้านได้มาตรวจสอบบัญชีรายชื่อและเมื่อถึงเวลากลางคืนคณะกรรมการประจำหน่วยออกเสีย งก็มีมติให้ผู้ใหญ่บ้านถอดเก็บรักษาไว้และได้นำมาติดตั้งอีกครั้งในช่วงเช้าจนกว่าจะเสร็จสิ้นการออกเสียงประชามติในครั้งนี้

           ขณะเดียวกันภายหลังทางผู้สื่อข่าวทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ติดต่อสอบถามไปยัง นายเกรียงไกร พานดอกไม้ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นนายเกรียงไกร ได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ซึ่งทางตนได้รับทราบข้อมูลแล้ว นอกจากนี้ยังมีการรายงานบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงประชามติสูญหายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2 จุดคือ หน่วยออกเสียง ที่14 บ้านบ่อก๊าง ม.14 ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และอีกจุดคือ ที่บ้านวังมุ่น ม.4 ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งยังไม่พบตัวผู้ก่อเหตุทั้งสองที่

           “อย่างไรก็ตามในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นนั้นได้มีการสั่งการให้ทางเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่ พร้อมทั้งได้มีการแจ้งความกับทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจพนักงานสอบสวนประจำสภ.ในพื้นที่แล้ว และได้มีการนำบัญชีรายชื่อใหม่ที่ตีพิมพ์ไปติดตั้งอีกครั้ง พร้อมทั้งมอบหมายให้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แต่งตั้งให้ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะครู ค.ที่รับผิดชอบในพื้นที่เป็นผู้นำในการดูแลตรวจตราอย่างเข้มงวดขึ้น ซึ่งสำหรับในพื้นที่อื่นๆ พบว่าเหตุการณ์ยังปกติอยู่” นายเกรียงไกร กล่าว


คาด99%กลุ่มชาติพันธุ์ไปออกเสียง โดยไม่เข้าใจร่างรธน.

           เมื่อเวลา 09.00 น.   ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดเวที สวนา ชาติพันธุ์ สนทนา ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 โดยมี ดร.ไกรศักดิ์ ชุนหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายพฤ โอโดเชา คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ นายสุมิตรชัย กัตถสาร ผู้อำนวยการ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

           นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า จากระยะเวลาที่เหลืออีกเพียงไม่กี่วันซึ่งจะถึงวันที่ออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เชื่อว่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิประมาณร้อยละ 50 ซึ่งหากมีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยหลังจากที่ผลออกมาไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ จะถูกมองถึงความชอบธรรมที่เกิดขึ้นประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ประชาธิปไตยแบบตรง กับประชาธิปไตยแบบตัวแทน

           การออกเสียงประชามติเป็นประชาธิปไตยแบบตรง ประชามติจะมีผลตามกฎหมายผลออกมาอย่างไรจะเป็นแบบนั้น ซึ่งแตกต่างจากประชาพิจารณ์ การออกเสียงประชามติในครั้งนี้หากผลออกมาว่าร่างฉบับนี้ผ่าน ต่อไปการออกเสียงประชามติจะเป็นหน้าที่ของประชาชนที่พึงปฏิบัติ ดังนั้นการที่ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิในครั้งนี้หรือไม่นั้นเป็นสิทธิของประชาชนเองที่จะตัดสินใจ ซึ่งผลจะออกมาอย่างไรบ้านเมืองก็ยังคงต้องเดินต่อไป ประชาชนจะเป็นผู้รับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเองทั้งหมด

           นายพฤ โอโดเชา คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า ได้เรียนรู้ในเรื่องรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่เมื่อปี 2540 ที่ผ่านมาได้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องของสิทธิที่ดินทำกินของชาติพันธุ์ พ.ร.บ.ป่าชุมชน และสิทธิชุมชนที่อยู่ในพื้นที่มาก่อน ซึ่งได้เห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญ กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในป่าในดอย ไม่มีโอกาสได้รับทราบข้อมูลของร่างรัฐธรรมนูญมากนัก ทั้งนี้รวมไปถึงกลุ่มชนชายขอบด้วย ในปี 2550 ได้มีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิที่ดินทำกินของชนเผ่าที่อยู่ในพื้นที่ดั้งเดิมแต่ติดขัดที่ราชการหน่วยงานไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ประสบปัญหาก็จะเข้าไปพบกรรมการสิทธิเพื่อให้ช่วยโต้แย้งในเรื่องสิทธิชุมชน ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีการออกเสียงในวันที่ 7 นี้ กลุ่มชาติพันธุ์รับทราบน้อยมาก มีการพูดเพียงแต่ว่าจะมีการดูแกลุ่มชาติพันธุ์เพียงเล็กน้อย

           ทั้งนี้หมายถึงกลุ่มที่บัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น การดูแลกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากคนในเมือง ซึ่งน่าจะมีการมีกฎหมายออกมาดูแลกลุ่มชาติพันธุ์โดยเฉพาะ สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีกำหนดออกมาชัดเจน ความเข้าในร่างรัฐธรรมนูญกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญเลย การที่จะออกมาใช้สิทธิจึงออกมาอย่างว่างเปล่าไม่มีความรู้ความเข้าในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ร้อยละ 99 จึงไปใช้สิทธิออกว่างเปล่าไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องร่างรัฐธรรมนูญเลย ที่เหลือร้อยละ 1 พอจะเข้าใจบ้างบางส่วนเท่านั้นผ่านจากการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ แต่ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างชัดเจนมากนัก ทราบแต่เพียงว่าสิทธิชุมชน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ถูกริดรอนไปหลายข้อ ดังนั้นหากเป็นไปได้อยากจะให้นำรัฐธรรมนูญปี 50 กลับมาใช้บางส่วน โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์

           ดร.ไกรศักดิ์ ชุนหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องสิทธิเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หลังจากรัฐธรรมนูญปี 40 หรือ ปี 50 ก็ได้มีการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องไม่ได้มีการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการเพิ่มการคุ้มครองสิทธิมนุษย์ของกลุ่มชาติพันธุ์เข้าไป โดยระบุให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลกลาชาติพันธุ์ การคุ้มครองสิทธิจะดูที่รัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่ได้จะต้องใช้กฎหมายมาควบคู่ด้วย

           นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ประชามติเป็นสิทธิที่ประชาชนจะต้องออกไปใช้สิทธิ เนื่องจากประชามติจะมีผลออกมาใช้กับประชาชนโดยตรง ซประชามติในวันที่ 7 มีความสำคัญต่อรัฐธรรมนูญที่จะออกมาใช้บังคับเป็นกำหมายสูงสุดของประเทศ เมื่อปี 40 ไม่ได้มีการทำประชามติเป็นการร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้ออกมาเลย ใครครั้งนี้รัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในร่างรัฐธรรมนูญ จึงได้กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญอย่างมากที่ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สำหรับรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ครอบคลุมในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากที่สุด แต่ฉบับนี้ มีความสับสนในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิ และมีการเพิ่มหมวดหน้าที่ของรัฐขึ้นมาจะมีผลใช้อย่างไรนั้นประชาชนเกิดความสับสน

           รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการที่ได้มีโอกาสได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ จึงอยากจะให้คงสิทธิของประชาชนในปี 50 โดยเฉพาะสิทธิของผู้หญิง ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ถูกจัดทอนไปหลายข้อ แต่ก็ได้เข้าเรียกร้องเพื่อให้สิทธิบางข้อของผู้หญิงกลับมาได้บางส่วน โดยเฉพาะมาตรา 27 ที่หญิงชายมีสิทธิเท่าเทียมกันนั้น แต่เดิมมีการขยายประเด็นออกไปได้ 12 ประเด็น ฉบับนี้ในตอนแรกตัดออกเหลือเพียง 3 ข้อเท่านั้น และได้เรียบร้อยกลับมาเพิ่มเติมบางส่วน สิ่งที่เสียในสิทธิของผู้หญิงเสียไปอย่างมาก บางส่วนถูกโยกไปอยู่ในนโยบายของรัฐ นอกจากนั้นในเรื่องของการศึกษาได้มีการปรับรูปแบบในการสนับสนุนการศึกษาโดยกำหนดให้เรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มผู้หญิงจึงได้มีการตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลในเรื่องของการศึกษาของเยาวชน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ