ข่าว

อาถรรพณ์‘รธน.’ไทยฉีกง่าย!พบเหตุใช้คำผิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อาถรรพณ์‘รธน.’ไทยฉีกง่าย! นักวิชาการศาสนาชี้ใช้คำผิด : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร รายงาน

             เมื่อช่วงเช้าวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2558 ได้รับแจ้งจาก ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ป.ธ.9 อดีตอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า "ได้เขียนบทความเรื่อง อัศจรรย์"รัฐธรรมนูญ"อาถรรพณ์เพราะใช้คำผิด? ลองพิจารณาดูนะ" ซึ่งอาจารย์ได้เผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวคือ"Banjob Bannaruji" เมื่อเวลา 9:36 น.ของวันที่  6 เมษายน พ.ศ.2558 แต่เนื่องจากมีภารกิจที่ต้องทำงานประจำจึงไม่ได้ดูในรายละเอียดมากนัก

             หลังจากกลับจากการทำงานตอนดึกขณะนั่งรถเมล์จึงได้มีเวลาเข้าไปอ่านบทความดังกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้ง และพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นบทความที่น่าสนใจประกอบกับได้เข้าไปสืบค้นคำว่า "รัฐธรรมนูญ" ในกูเกิลก็ไม่ได้ลงในรายละเอียดถึงรากศัพย์ของคำนี้ ส่วนใหญ่จะให้ความหมายไว้ว่า "หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ" เท่ากับเป็นการแปลความหมายเชิงอรรถไม่ได้แปลความหมายโดยพยัญชนะไว้

             ทั้งนี้อาจารย์บรรจบได้เขียนบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งภาษาไทยนั้นมีความว่า

             "@ วันนี้เป็นวันจักรี เป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง จึงขอมีความเห็นทางการเมืองบ้างดังนี้

             @ มีเพื่อนนักรัฐศาสตร์บอกผมว่า เมืองไทยมีสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง...รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งอัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ไทยต้องร่างแล้วฉีกไม่รู่กี่ครั่งต่อกี่ครั้ง เพื่อนนักอักษรศาตร์ผู้สันทัดด้านโหราศาสตร์เสริมว่า เป็นอาถรรพณ์ของประเทศ อาจมาจากเขียนคำว่า "รัฐธรรมนูญ" ผิด ก็เป็นได้

             @ วันนั้นเราคุยกัน แล้วค้นคว้าหาความหมายของคำสำคัญนี้ด้วยกันจนหมดชาญี่ปุ่นไปหลายกา และได้ผลสรุปว่า

             ...คำนี้มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต คือ รฏฺฐ (รัฏฐะ, ประเทศ) + ธรฺม (ธรรรม, หลักธรรม) + มนุญญ (ฟูใจ, ทำใจให้ยินดี) ไทยปรับมาใช้เป็น "รัฐธรรมนูญ" ซึ่งย่อมาจาก "รัฏฐธรรมมนุญญะ" นั้นคือ ย่อ รัฏฐ เป็น รัฐ, ขยาย ธรฺม เป็น ธรรม, แล้วปรับเสียง มนุญญะ เป็น มนูญ โดยลบ ญ ทิ้ง....ฉะนั้น จึงน่าจะเขียนเป็น "รัฐธรรมมนูญ" ตามรูปที่เป็นจริง แต่กลับเขียนทำ "ม" หายไป ๑ ตัว

             ...มีการอธิบายจากนักภาษาศาสตร์ว่า เสียง ม ที่หายไปเพราะเกิดการกลืนเสียง ม ด้วยกัน

             ...ม ที่หายไปไม่รู้ว่า ม จาก ธรรม หรือ ม จาก มนุญญ (หรือ มนูญ)

             ...ไม่ว่าจะหายไปจากคำไหน ก็ล้วนแต่ทำให้ขาดความหมายที่สมบูรณ์ คือ ม ที่ "ธรรม" ขาดก็เหลือเป็น "ธรร" ไม่มีความหมาย หรือ หาก ม ที่ มนูญ หายไปก็เหลือเป็น นุญญ หรือ นูญ ซึ่งก็ไม่มีความหมายอะไร ดังนั่น หากจะให้ได้ความหมายสมบูรณ์ต้องเขียนเป็น รัฐธรรมมนูญ (รัฐ + ธรรม + มนูญ)

             @ มนุญญะ หรือ มนูญแปลว่าอะไร ? คำตอบ คือ ทำใจให้ยินดี, ทำใจให้ฟู, ทำใจให้เบิกบาน มาจาก มน (ใจ) + อุ (ขึ้น, สูง) + ญะ (มาจากรากศัพท์ว่า ญา แปว่า ยินดี) เพื่อนนักบาลีเลยอธิบายโดยเขียนเป็นรูปวิเคราะห์ (analytical study) ให้ดูว่า รฏฺฐสฺส ธมฺโม = รฏฺฐธมฺโม ธรรมสำหรับประเทศ ชื่อว่า รัฐธรรม, รฏฺฐธมฺโม มนํ อุญฺเญติ อิติ รฏฺฐธมฺมมนุโญ= ธรรมสำหรับประเทศที่ทำใจให้ยินดี ชื่อว่า รัฐธรรมมนุญะ, ตสฺสเยว ภาโว รฏฺฐธมฺมมนุญฺญํ = ความเป็นธรรมสำหรับประทศที่ทำใจให้ยินดีนั่นเอง ชื่อว่า รัฏฐธรรมมนุญญะ หรือ รัฐธรรมมนูญ

             @ ที่น่าตีความต่อไปคือ "ทำใจให้ยินดี" หมายถึง ทำใจของใครให้ยินดี ตามความจริง คือ ทำใจของประชาชนทั่งประเทศหรือส่วนใหญ่ให้ยินดี แต่ที่บ้านเรา ดูเหมือนจะไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นการทำใจของคนส่วนไหนก็ไม่รู้ให้ยินดี เท่าที่มองออกตอนนี้ คือทำใจของคนร่างไม่กี่คนให้ยินดี....ถ้าอย่างนี้ เดี๋ยวก็ต้องร่างกันใหม่อีก เสียดายเวลา...

             @ สุดท้าย ขอมอบดอกกุหลาบ(สีแดง)เป็นของขวัญให้กับ "รัฐธรรมมนูญ""

             คงเป็นหน้าที่ของนักภาษาศาสตร์จะได้ให้เหตุผลว่าทำไมคำว่า "รัฐธรรมมนูญ" ถึงได้มีการเกิดการกลืนเสียงได้ขนาดนี้ จะคงไว้เช่นนี้หรือว่าจะมีการแก้ไขในช่วงที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ขณะนี้
 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ