ข่าว

สรุปเหตุการณ์20-22พ.ค.57คณะ'คสช.'ยึดอำนนาจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปเหตุการณ์ 20-22 พ.ค.2557 คณะ 'คสช.' ยึดอำนนาจ

� � � � � รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council ) โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง และขอความร่วมมือในหลายเรื่อง เช่น ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศ โทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชน ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น
� � � � � เบื้องหลังลำดับเหตุการณ์ 20 พฤษภาคม
� � � � � 03:30 น. - กำลังทหารพร้อมอาวุธ เข้าควบคุมที่ทำการช่องโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง โดยร้องขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
� � � � � 04:00 น. - สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่คำสั่ง ประกาศกฎอัยการศึก และประกาศจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)
� � � � � 06:30 น. - ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึก ทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
� � � � � 08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอด แถลงการณ์จากกองทัพบก ทุกครั้งที่ได้รับการประสาน
� � � � � 08:42 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 2 ให้ผู้ชุมนุมทางการเมืองอยู่ในพื้นที่เดิม โดย กปปส. ให้อยู่ที่ถนนราชดำเนิน เขตพระนคร และถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงหน้าศูนย์ราชการฯ เขตหลักสี่ ส่วน นปช. ให้อยู่ที่ถนนอักษะ เขตทวีวัฒนา
� � � � � 09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ
� � � � � 10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต
� � � � � 11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
� � � � � 12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุม แก้ปัญหาความไม่สงบ
� � � � � 14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม
� � � � � 19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย
� � � � � 19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียม ระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง
� � � � � 20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.
� � � � � 20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง
� � � � � 21:04 น. พันเอกวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึก ว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

21 พฤษภาคม
� � � � � ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กอ.รส. ไม่ได้ออกประกาศเพิ่มเติม และกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่มยังคงดำเนินกิจกรรมของตัวเองตามปกติ โดยเหตุการณ์สำคัญมีเพียงแค่การตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาออนไลน์เท่านั้น�
� � � � � และในช่วงบ่ายก็ได้มีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 7/2557 เพื่อเรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี-รังสิต โดยห้ามมิให้มีผู้ติดตามเดินทางมาด้วย โดยรายนามผู้ที่ถูกเรียนเชิญมีดังต่อไปนี้
� � � � � ผู้แทนรัฐบาล ประกอบด้วย รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนวุฒิสภา ประกอบด้วย รองประธานวุฒิสภาท่านที่ 1 พร้อมคณะอีก 4 ท่าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้ง 5 ท่าน ผู้แทนพรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน ผู้แทนคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. พร้อมคณะอีก 4 ท่าน
� � � � � ผู้แทนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และคณะอีก 4 ท่าน โดยการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันพรุ่งนี้เวลา 14.00 น.เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธคงไม่คิดจะทำการรัฐประหารแน่นอน
22 พฤษภาคม

� � � � � 14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 โดยมี ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุมระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ โดยได้สอบถาม นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช้หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษมระบุว่านาทีนี้ไม่ลาออกและต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง และเมื่อสิ้นสุดเสียง เจ้าหน้าที่ทหารกว่าหลายร้อยนายได้เข้ามาชาร์จผู้ประชุมทั้ง 7 ฝ่ายและพาขึ้นรถออกไปทันที โดยไม่ทราบจุดหมายปลายทาง
� � � � ��16:30 น. (ประกาศจริง เวลา 17.00 น.) - พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศตั้ง "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council อักษรย่อ: คสช.) เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ในทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) สิ้นสุดอำนาจทันทีเช่นกัน แต่ทั้งนี้คำสั่งต่างๆ ยังคงมีผลต่อเนื่องอยู่
� � � � ��18:00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง
� � � � ��18:20 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามมิให้ประชาชนออกจากเคหะสถานตั้งแต่เวลา�22.00 น.-05.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ จากกรณีนี้สถานที่สำคัญหลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป �และระบบขนส่งมวลชนต่างๆ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. �โดยจะเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหมอชิตและสถานีแบริ่ง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. �โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหัวลำโพง และสถานีบางซื่อ และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท
� � � � � 18:30 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 4 บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี งดออกรายการตามปกติ และให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง
� � � � ��19:00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมกลับสู่ภูมิลำเนาของตนตามเดิม โดยทางกองทัพบกได้จัดขบวนรถจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่ออำนวยความสะดวก และได้ออกคำสั่งให้ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ช่วยจัดการบริหารให้ประชาชนสามารถเดินทางกลับได้อย่างปลอดภัย
� � � � ��19:10 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 โดยมีเนื้อความดังนี้
ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดอำนาจลงชั่วคราวทุกหัวข้อ ยกเว้นหมวดที่สอง (พระมหากษัตริย์) หมวดหน้าที่วุฒิสภา และองค์กรอิสระให้มีอำนาจอยู่เช่นเดิมให้ สมาชิกวุฒิสภา ยังคงดำรงตำแหน่งตามปกติแต่นับจำนวนสมาชิกใหม่ตามสมาชิกที่เหลืออยู่ในวุฒิสภาในขณะที่ออกคำสั่งฉบับนี้ ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ทุกตำแหน่งหมดอำนาจตั้งแต่ประกาศฉบับนี้ �ยกเลิกการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นช่วงนี้ทั้งหมดให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ ที่ถูกจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดำเนินงานตามปกติ
� � � � ��19:19 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 6 โดยให้แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ร.อ. ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรองหัวหน้า คสช. และ พล.ต. อุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการ
� � � � ��19:42 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 7 สั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน
� � � � ��20:55 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 โดยให้ยกเว้นข้อห้ามการออกจากเคหสถานยามค่ำคืนตามประกาศที่ 3/2557 เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยให้ยกเว้นกับกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้ กลุ่มบุคคลที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ กลุ่มบุคคลที่ต้องประกอบอาชีพแบบผลัดเวลา (เข้ากะ) เช่น โรงงาน โรงพยาบาล ธุรกิจการบิน กลุ่มบุคคลที่ต้องเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าที่มีอายุจำกัด หรือสินค้าเย็น กลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระจำเป็น เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระนอกเหนือจากข้างต้น ให้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ก่อนออกเดินทาง
� � � � ��20.30 น. 7-11โพสต์ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก จะปิดให้บริการ�
� � � � ��22.00-05.00 ตามการประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศ ฉบับที่ 3 ห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 22.00-05.00น.
� � � � ��21.06 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 9/2557 ให้สถานศึกษา ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน หยุดการเรียนการสอน 23 - 25 พฤษภาคม 2557
� � � � ��21.40 น. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 22:00น. และเปิดให้บริการตั้งแต่ 05:00น. มีผลตั้งแต่วันนี้จนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลง
� � � � ��21.55 น. คสช.ขึ้นตัววิ่งในหน้าจอโทรทัศน์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบนสื่อออนไลน์ ที่มีการระบุว่าจะมีการปิดสัญญาณอินเตอร์เนต ปิดไลน์ ปิดยูทูป ปิดโซเชียลมีเดีย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ