Lifestyle

หนึ่งศตวรรษ “องุ่น มาลิก” ครูผู้ให้แห่งชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนึ่งศตวรรษ “องุ่น มาลิก” ครูผู้ให้แห่งชีวิต

 

          ทุกปี มูลนิธิไชยวนา มีการจัดงาน “มหกรรมการแสดงแสนหรรษา” ขึ้นในเดือนมิถุนายน เพื่อรำลึกถึง “องุ่น มาลิก” หรือ “แม่ครูองุ่น” ผู้มากด้วยค�ลิก ดอกไม้แสนงาม” ที่สถาบันปรีดีพนมยงค์ ซอยทองหล่อ และดูลูกศิษย์ลูกหาได้นัดหมายรวมตัวกันมากกว่าครั้งไหน

          ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2460 องุ่น มาลิก เกิดในครอบครัวของช่างไม้ช่างทำสวนในรัชกาลที่ 6 นามว่า พระรุกขชาติบริรักษ์ และ นางบู่ สุวรรณมาลิก ถึงแม้เป็นลูกผู้หญิง แต่ก็ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและส่งให้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ กระทั่งจบคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แต่ด้วยเป็นคนชอบเรียนรู้ ได้เข้ารับการอบรมหลายหลักสูตร ทั้ง “วิชาสังคมศาสตร์” สำหรับอาชีพครูที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพครู ที่ A.U.A (American Univesity Alummi Association), หลักสูตรสาขาบรรณารักษศาสตร์ เท่านั้นยังเรียนที่ครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นรุ่นแรกอีกด้วย

          ความเป็นครูฉายแววมาตั้งแต่ยังสาว หลังจากได้ควักกระเป๋าซื้อที่ดินย่านถนนสุขุมวิทผืนหนึ่งแล้ว ก็ปรับจากผืนนาเป็นบ้านสวนให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้มาพบปะเสวนาพูดคุย โดยเรียกขานกันว่า “สโมสรปรียา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ดรุณสาร” และ “สตรีสาร” สมัยนั้น จึงก่อเกิด “นักกลอน” และคนทำงานศิลปะมากมาย

          ต่อมาได้ทุนไปเรียนต่อปริญญาโทด้านจิตวิทยาจากมหาลัยอิลลินอย์ ที่เออร์บานา ประเทศสหรัฐอเมริกา จนจบในปี 2508 มาสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร และย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ยังพัฒนาพื้นที่รอบบ้านเป็นแหล่งรวมคนหนุ่มสาวแห่งยุคสมัยด้วย โดยรู้จักกันในนาม “สวนอัญญา” ส่งเสริมนักศึกษาคนหนุ่มสาวทำกิจกรรม หนึ่งนั้นคือ คำรณ คุณดิลก กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ที่ออกค่ายนักศึกษาเป็นประจำ

          ช่วง 2516-2519 ที่เหตุการณ์บ้านเมืองแหลมคม ครูองุ่นจึงถูกมองว่าเป็น “ซ้าย” ไปด้วย ยิ่งได้ไปสัมผัสเรื่องราวของ สหพันธุ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ จึงมีผลต่อชีวิตครูองุ่นไม่น้อย จากที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดูมีราคาแพงแต่ได้หันกลับมาเรียบง่ายด้วยเส้อผ้าม่อฮ่อมทำมือด้วยตัวเอง และเริ่มทำ “หุ่นมือ” ไปด้วย เพื่อให้นักศึกษานำไปเล่นละครกัน

          หลัง 6 ตุลาคม 2519 ครูองุ่นถูกจับไปอยู่ “ศูนย์การุณยเทพ” เพื่อปรับทัศนคติ แต่ได้ระยะหนึ่งทหารก็ส่งกลับไปยังกรุงเทพฯ ครูองุ่นยังคงไม่ละทิ้งความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือสังคม บ้านในซอยทองหล่อกลายเป็นศูนย์ของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง

          โดยเฉพาะภายหลังจากเหตุการณ์ “ป่าแตก” บรรดานักศึกษาและคนหนุ่มสาวหลายคนที่ออกจากป่า “คืนสู่เมือง” ได้เลือกมาพักพิงจิตใจอยู่ที่บ้านของครูองุ่นด้วย หนึ่งในนั้นคือ หงา คาราวาน ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต เมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงก้าวเดินไปตามเส้นทางชีวิตต่อไป และทุกคนต่างรู้ดีว่า ประตูบ้านของครูองุ่นเปิดกว้างเสมอ

          ด้วยการศึกษาพระพุทธศาสนาและเรียนจิตวิทยามา แม่ครูองุ่นจึงมีคำสอนและข้อคิดให้กับบรรดาคนหนุ่มสาวเสมอ อาทิเช่น

          "ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ยืนตระหง่านสู้ความจริง มีค่าล้ำกว่าการยอมจำนน" หรือ

          "ถ้าบุคคลดำรงชีวิตจริงได้คล้องจองกับภาพพจน์ที่สร้างไว้ให้ตัวเอง ก็เรียกว่าไม่ได้สวมหน้ากากย่อมมีจิตใจอิสระประพฤติปฏิบัติตรงไปตรงมา ตรงกันข้าม ถ้าหากเนื้อหาชีวิตเป็นอย่างหนึ่ง และสวมหน้ากากไว้อีกอย่างหนึ่งเพื่อจะได้มีหน้ามีตาในสังคม ความขัดแย้งย่อมตามมา ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนบุคลิกภาพ เขาจะมีฉายาว่า ‘หน้าไหว้หลังหลอก’ " และอีกมากมายที่กลายเป็นธรรมนำชีวิตในเวลาต่อมาให้กับคนหนุ่มสาว

          หัวใจครูองุ่นยิ่งใหญ่ ในวันที่ทราบข่าว ปรีดี พนมยงค์ เสียชีวิตเมื่อ 2 พฤษภาคม 2526 ครูองุ่นในวัย 66 มิรอช้า ได้สืบสานเจตนารมณ์ทางด้านการสร้างสังคมไทยของ อาจารย์ปรีดี ด้วยการมอบที่ดินเพื่อจัดตั้ง “สถาบันปรีดีพนมยงค์” กระทั่งมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อ 10 ธันวาคม 2531 ตอนที่ที่ครูองุ่นอายุได้ 71 ปี

          แต่ก่อนที่การก่อสร้าง “สถาบันปรีดีพนมยงค์” จะสำเร็จและเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2538 แม่ครูองุ่นได้จากไปเสียแล้วก่อนหน้านั้น 5 ปี ฝากไว้เพียงมรดกและอุดมการณ์เล่าขานให้กับชนรุ่นหลังที่เสียสละให้กับสังคมตลอดชีวิตของท่าน “สถาบันปรีดีพนมยงค์” กลายเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมการคิด-การเขียนต่างๆ อันสร้างประโยชน์แก่สังคมทุกกลุ่ม

          อีกผลงานที่โดดเด่นคือการส่งเสริมเด็กเยาวชน ด้วยการทำหุ่นมือ โดยเป็นบุคคลแรกๆ ที่ทำหุ่นมือขึ้น โดย ประดิษฐ์จากเศษผ้าและวัสดุเหลือใช้ ยัดด้วยนุ่น เป็นรูปตุ๊กตาละครต่างๆ เพื่อนำไปแสดงให้ความรู้ ความบันเทิง และแจกเด็กๆ โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ 

          รวมทั้งคนหนุ่มคนสาวผู้สนใจที่จะทำงานเพื่อเด็กด้วย ก่อเกิดเป็น “คณะละครยายหุ่น” ในปี 2544 เพื่อสืบทอดงานสร้างสรรค์ละครหุ่นมือเรื่อยมา ไม่เพียงสร้างความสนุกและปลุกจินตนาการเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นเครื่องมือและสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนมาแล้วหลากหลายรุ่นจวบจนกระทั่งทุกวันนี้


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ