ข่าว

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม ' น้ำท่วม' ภาคใต้กลายพื้นที่ เฉพาะบ้านบาลอ กลายเป็นเมืองบาดาล บางพื้นที่ไม่เคยน้ำท่วมก็ท่วม แม้สั่งฟ้า สั่งฝนไม่ได้ แต่ต้องบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ไม่นั่งรอให้มวลน้ำทั้งหมด มันไหลไปลงสู่ทะเลตามยถากรรม ควรเน้นป้องกันแทนเยียวยา

วันที่ 31 ธ.ค. 2566 นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่น้ำลดเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟู โดยที่บ้านบอมิ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ผู้ประสบภัยกำลังทำความสะอาดบ้าน ที่เต็มไปด้วยดินโคลน ข้าวของเสียหายอย่างมาก ผู้ประสบภัยต้องการน้ำดื่ม เสื้อผ้า และอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน และบางหลังอาจต้องสร้างบ้านใหม่

 

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

นายกัณวีร์ กล่าวว่า สั่งฟ้าสั่งฝนคงเป็นไปไม่ได้ แต่บริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่เพื่อการป้องกันก่อนเกิดภัยพิบัติ (preventive measures) น่าจะเป็นสิ่งที่ลดผลกระทบในวงกว้างได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะมีการบริหารจัดการระหว่างช่วงเกิดภัย แล้วค่อยมาเยียวยาต่อไป

 

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

 

“ตัวอย่างคือ เราคงไปกำหนดไม่ให้มีพายุหรือฝนตกหนัก สึนามิ แดดร้อนระอุ ภูเขาไฟไม่ให้เกิดการระเบิด คงเป็นไปไม่ได้ครับ แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่พวกเราได้ และเมื่อเราทราบดีแล้วว่าอะไรที่มันต้องเกิดขึ้นเป็นประจำตามธรรมชาติ เราต้องปรับตัวเข้าหาธรรมชาตินั้นอย่างชาญฉลาด ผ่านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ”นายกัณวีร์ กล่าว

 

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

นายกัณวีร์ ระบุว่า ฝนตกและมรสุมที่นำมาซึ่งสถานการณ์อุทกภัยหรือน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของไทย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เกิดขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป แต่ระดับความรุนแรงนี้สามารถควบคุมได้จากการบริหารจัดการที่ชาญฉลาด ทั้งการหาพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว การอพยพพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและย้ายของจำเป็นให้ทันท่วงทีก่อนหน้าสถานการณ์ภัยพิบัติ การศึกษาเส้นทางการเดินทางน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทางน้ำให้มีการกระจุกตัวของมวลน้ำที่มีพลังอันมหาศาล การผันน้ำในเขื่อนชลประทานต่างๆ เพื่อกระจายน้ำไม่ให้กระจุกตัว ฯลฯ

 

 

“เราไม่ควรนั่งรอให้มวลน้ำทั้งหมด มันไหลไปลงสู่ทะเลตามยถากรรม โดยไม่บริหารจัดการอย่างชาญฉลาด อย่างบ้าน บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา น้ำท่วมหนักทุกปีใครๆ ก็ทราบกันดี เพราะมีการขุดทรายขนาดใหญ่จากบริษัทเอกชน ทำให้ตลิ่งธรรมชาติที่เกิดจากเนินทรายที่ถูกขุดไป ที่สามารถกันความรุนแรงโดยธรรมชาติจากกระแสน้ำหายไปอย่างมาก คนทุกคนทราบแต่ทำอะไรไม่ได้ วันนี้บ้านบาลอ กลายเป็นเมืองบาดาลไปเสียแล้วครับ”นายกัณวีร์ กล่าว

 

 

รวมถึงที่หนักสุด เพราะพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมหนักในชีวิต อย่าง อ.ระแงะ อ.จะแนะ อ.รือเสาะ รวมถึง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่มีดินสไลด์ น้ำป่าทำให้บ้านพังเสียหาย และน้ำท่วมใหญ่ ที่ อ.กะพ้อ อ.สายบุรี ที่เป็นพื้นที่ปลายน้ำของแม่น้ำสายบุรี และน้ำท่วม อ.เมือง จ.ยะลา อ.เมือง จ.ปัตตานี ปลายน้ำของแม่น้ำปัตตานี เป็นต้น

 

 

“ผมได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยในหลายจุด แม้ไม่ได้ไปครบทุกพื้นที่ได้ เพราะต้องเตรียมตัวสำหรับการอภิปรายงบประมาณ 2567 และถึงจะทำอะไรไม่ได้มากแต่มาเป็นกำลังใจ และจะกลับไปผลักดันการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ โดยเน้นมาตรการการป้องกันผลกระทบมากกว่าการเยียวยา ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปครับ”นายกัณวีร์ กล่าว

 

 

นายกัณวีร์ ชื่นชมภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย เปิดศูนย์ช่วยเหลืออุทกภัยในหลายกลุ่ม ในการช่วยบริหารจัดการนำสิ่งของไปช่วยเหลือ ตั้งแต่น้ำท่วม จนน้ำลด ก็ช่วยกันฟื้นฟู พลังของชุมชนเข้มแข็งมากๆ และให้เป็นกำลังใจพี่น้องที่ได้รับผลกระทบอันใหญ่หลวงในรอบ 77 ปี

 

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

 

'กัณวีร์' อัดรัฐบาลแบบจุกๆ ปม 'น้ำท่วม' ภาคใต้ รัฐปล่อยตามยถากรรม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ