ข่าว

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกษตรจังหวัดระนอง “เมืองฝนแปดแดดสี่” ชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ เน้นตลาดประมูลเพื่อการส่งออก

จังหวัดระนอง มีพื้นที่ลาดชัน ล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูน มีแหล่งน้ำจากป่าต้นน้ำ ฝนตกชุกที่สุดของประเทศ เป็นที่รู้จักกันในนาม “เมืองฝนแปดแดดสี่” อากาศดี เหมาะสมสำหรับการปลูกมังคุดคุณภาพ และฤดูกาลให้ผลผลิตไม่ตรงกับพื้นที่อื่น 

 

 

นายอำนวย แออุดม เกษตรจังหวัดระนอง ให้ข้อมูลว่า จังหวัดระนองมีพื้นที่ปลูกมังคุด 15,196 ไร่ 

ให้ผลผลิตแล้ว 14,647 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ที่อำเภอกระบุรี 6,625 ไร่ รองลงมา คืออำเภอละอุ่น 3,715 ไร่ ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ผลผลิตรวมประมาณ 11,347 ตัน/ปี ราคาเฉลี่ย40-50บาท สร้างมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรของจังหวัดระนอง โดยมังคุดระนองมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ คือ ผลรูปทรงกลม ขนาดผลโต ผิวมันสวย รสชาติหวานนำ อมเปรี้ยว ไม่เป็นเนื้อแก้ว ไม่มียางไหล กลีบเลี้ยงหนาเขียว แม้ว่าผลสุกดำแล้วแต่กลีบเลี้ยงยังสีเขียว จึงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

 

 ปัจจุบันมีการรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพ และมีพ่อค้าเข้ามาประมูลในพื้นที่เพื่อส่งออก เป็นหลัก แปลงใหญ่มังคุด หมู่ 9 ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นตัวอย่างแปลงใหญ่ที่ประสบผลสำเร็จในการผลิตมังคุดคุณภาพ โดยเกษตรกรในพื้นที่ตำบลลำเลียงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นเป็น แปลงใหญ่ในปี 2560

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

 มีการวางแผนดำเนินงานโดยวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ กำหนดแนวทางการพัฒนาแปลงใหญ่ใน 5 ด้าน โดยบูรณการการทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกและเกษตรกรที่สนใจ นำเกษตรกรไปศึกษาดูงานในพื้นที่ต่าง ๆ มีการจัดทำแปลงต้นแบบการเรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า (มังคุด) 

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง ปัจจุบันเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรทั้งภายในและนอกจังหวัด ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรในการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ในพื้นที่มีศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลลำเลียง 

 

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในคำแนะนำเรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของมังคุด ให้กับสมาชิกแปลงใหญ่ด้วย ปัจจุบันมีสมาชิก 70 ราย พื้นที่ปลูก 340 ไร่ ผลิตมังคุดได้ปีละ 300-500 ตันปี หรือเฉลี่ย 882 กิโลกรัมต่อไร่ 

 

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

และในปี 2564 ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด แปลงใหญ่มังคุดหวานบ้านลำเลียง มีการต่อยอดการพัฒนา โดยเข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เน้นการใช้วัตกรรม และเทคโนโลยี สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยสร้างจุดรวบรวมผลผลิตมังคุด (เพื่อประมูลราคา) และแปรรูปผลิตภัณฑ์มังคุด 

 

 

เช่น น้ำมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่มอบแห้งและไอศกรีมมังคุด แยมมังคุด จำหน่ายในร้านขายของฝาก 

   

 

จุดเด่นของแปลงใหญ่มังคุด ม.9 ต.ลำเลียง อ.กระบุรี จังหวัดระนอง มี 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้

 

1. การผลิตมังคุดให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด โดยสามารถผลิตมังคุด เบอร์ 1 ได้ร้อยละ 30 ซึ่งมีปริมาณมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ และไม่มีปัญหาเรื่องเนื้อแก้วยางไหล ซึ่งมีการวางระบบน้ำ และให้น้ำตามความต้องการของมังคุด อีกทั้งยังมีการให้ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม โบรอน สังกะสี 

ระนองชูเกษตรแปลงใหญ่ยกระดับการผลิตมังคุดคุณภาพ

2. มีการคัดเกรดคุณภาพมังคุด และรวบรวมผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน เวียดนาม โดยผ่านล้ง ผู้ประกอบการ ที่มาประมูลผลผลิต ซึ่งมีการคัดเกรดมังคุด ทั้งสิ้น 6 เกรด ดังนี้

 

มังคุด คุณลักษณะ

เบอร์ 1 ขนาด 85 กรัม ขึ้นไป หมวกเขียว 4 หู ผิวมันลายไม่เกิน ร้อยละ 30 (มันใหญ่)

เบอร์ 2 ขนาด 60 - 84 กรัม หมวกเขียว 4 หู ผิวมันลายไม่เกิน ร้อยละ 30 (มันเล็ก)

เบอร์ 3 ขนาด 60 กรัม ขึ้นไป ผิวมันลายเกิน ร้อยละ 50 (มันลาย)

เบอร์ 4 ขนาด 30 - 59 กรัม ผิวมัน ลายไม่เกิน ร้อยละ 50 (ดอก)

เบอร์ 5 มังคุดผิว สีดำ (ดำ)

เบอร์ 6 ขนาด 80 กรัม ขึ้นไป หูเขียว ผิวลายเกิน ร้อยละ 50 (ลายมังกร)

 

3. การวางแผนไม่ให้มังคุดออกตรงกับภาคตะวันออก และภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผลผลิตจะออกระหว่างกลางในช่วงผลผลิตทั้งสองภาคที่มีปริมาณมาก ทำให้ราคาสูง

 

 

4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์มังคุด โดยน้ำมังคุด ลูกเล็ก ลูกดอก และดำ นำมาแปรรูปเป็น มังคุดกวน 

น้ำมังคุด และมังคุดแช่อิ่มอบแห้ง ไอศกรีมมังคุด โดยสมาชิกจะนำเนื้อมังคุดดังกล่าวมาแกะเนื้อและแช่แข็ง และนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมังคุดกวนสามารถเพิ่มมูลค่า ให้มังคุดได้ราคากิโลกรัมละ 50 บาท และการแปรรูปน้ำมังคุดเท่ากับการขายมังคุด กิโลกรัมละ 100 บาท 

 

โดยกลุ่มจะมีรายได้จากการขายสินค้าแปรรูป ประมาณปีละ 100,000 บาท 

 

 

5. มีการเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการขายออนไลน์ ไลฟ์สด และการนำผลผลิตไปจำหน่ายทั้งในและต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายสุริยา ศิริวงษ์ ประธานแปลงใหญ่มังคุด หมู่ 9 ตำบลลำเลียง อำเภอ กระบุรี จังหวัดระนอง โทร 081-3964192 และสำนักงานเกษตรอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง โทร 081-7885770

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ