ข่าว

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วิศวกรคอมพิวเตอร์ไอเดียร์เจ๋งทำรถ จยย. ไฟฟ้าใช้แบตเตอรีขับเคลื่อนมอเตอร์แทนน้ำมัน

 

               19 สิงหาคม 2562 ที่ จังหวัดนครปฐม หลังทราบข่าวหนุ่มวิศวกรคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำรถใช้พลังงานแบตเตอรีแทนการใช้น้ำมัน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ตำบลลำพญา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และได้พบกับหนุ่มวิศวกรไอเดียเจ๋งทำรถจักรยานยนต์ใช้พลังงานแบตเตอรีมีมอเตอร์ขับเคลื่อน ทราบชื่อ นายจักรพันธ์ รอดผล อายุ 31 ปี

 

 

 

               จากการสอบถาม นายจักรพันธ์ เล่าว่า ตนเองเรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความสนใจเรื่องรถยนต์ เครื่องยนต์ และการประหยัดพลังงาน จึงได้หันมาพัฒนารถ จยย. ใช้แบตเตอรีขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์เป็นพลังงานทดแทนการใช้เครื่องยนต์ ปัจจุบันตนเองทำงานเขียนโปรแกรม (ฟรีแลนซ์) พัฒนาโปรแกรมให้ลูกค้าในบริษัทที่ กทม. แต่ทำงานอยู่ที่บ้าน

               นายจักรพันธ์ เล่าต่ออีกว่า ตนเองมีใจชอบทางด้านยานยนต์ เครื่องยนต์ และประดิษฐ์ คิดค้น สนใจศึกษาการใช้รถจักรยานยนต์ที่จะลดมลภาวะกลิ่นควันและเสียงเครื่องยนต์ท่อไอเสียรถ และการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ที่มีค่อนข้างสูง รถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ให้หันมาใช้พลังงานแบตเตอรีขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ตนเองได้ศึกษาจากเฟซบุ๊กรถไฟฟ้าไทยทำเอง และหาแหล่งสั่งซื้ออุปกรณ์ที่จีน กว่าสินค้าจะมาถึงประมาณ 1 เดือน มีองค์ประกอบหัวใจหลัก แบตเตอรี มอเตอร์ และกล่องควบคุม เป็นต้น

               จากนั้นตนเองได้สั่งซื้ออุปกรณ์จากจีน แบตเตอรีแห้ง ขนาด 60V 50A จำนวน 120 ก้อน ราคาก้อนละประมาณ 120 บาท และมอเตอร์ขนาด 60V 2,200W และสเตอร์หน้าขนาด 13 เฟือง สเตอร์หลัง 55 เฟือง และโซ่ 420 รหัสหน้าโซ่ โดยใช้ตัวรถจักรยานยนต์แบบหญิง หรือแบบชายก็ได้ในการขับเคลื่อน ติดตั้งมอเตอร์และอุปกรณ์คันเร่ง ไมล์ดิจิทัลวัดพลังงาน วัดความเร็ว ระยะทาง และอุณหภูมิ และที่คันเร่งจะมีปุ่มเปิดและตัววัดพลังงานแบตเตอรี ดิจิทัล การทำงานพลังงานจากแบตเตอรีเป็น DC ปกติ และจ่าย Motor controller เข้ากล่องควบคุมเป็นบัสเลส DC และจะจ่ายไฟออกมา 3 สายจ่ายเข้ามอเตอร์ที่ใช้ขดลวดไร้แปลงถ่าน จากการทดสอบผลออกมาดี ประหยัด และปลอดมลพิษ

 

 

 

               "ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงก็ขึ้นราคาเกือบทุกวัน อยากจะทำให้มลพิษน้อยลง ก็อยากจะให้ทุกคนช่วยกันมาใช้รถไฟฟ้า ในการทำรถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และแปลงสเตอร์รถให้มีความสมดุลกับขนาดมอเตอร์ในการออกตัว จะทดเฟืองหลังให้ใหญ่ ให้มีกำลังในการออกตัว ให้เร็วไม่แพ้เครื่องยนต์เช่นกัน ซึ่งมอเตอร์จะให้กำลังตั้งแต่ศูนย์เลย ไม่ต้องทดเกียร์เหมือนเครื่องยนต์ทั่วไป"

               ในการทดสอบ รถจะวิ่งได้ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตร / ชั่วโมง เมื่อแบตเตอรีหมดจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าคิดเป็นค่าไฟฟ้า ประมาณ 5 - 6 บาท ในการชาร์จแต่ละครั้ง ซึ่งมอเตอร์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี และแบตเตอรีก็มีอายุการใช้งานนานเกิน 5 ปี แน่นอน อุปกรณ์ทุกอย่างลงทุนทีเดียวจบ ที่จะต้องซ่อมบำรุงก็จะเป็นสเตอร์เสื่อมสภาพ ยางหมดอายุ ยางรั่ว หรือเสื่อมสภาพ เป็นต้น ซึ่งรถที่ทำเสร็จพร้อมใช้งานพลังงานแบตเตอรีจำนวน 4 คัน มีเวฟ 110 ฮอนด้าดรีม ยามาฮ่า วาย 80 และฮอนด้า โนวา ก็ใช้ขับขี่ไปตลาดชื้อของ เสียงเงียบ ออกตัวเร็ว ไม่มีมลภาวะกลิ่นและเสียง

               ข้อดีของการใช้รถมอเตอร์ เสียงไม่ดัง วิ่งเงียบ ออกตัวไว ประหยัด ลดพลังงานในการใช้เชื้อเพลิง ลดมลภาวะฝุ่นละออง ต้นทุนในการทำในแต่ละคัน ประมาณ 35,000 บาท ในการทำประกอบขึ้นมาแต่ละคันใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่าๆ ในช่วงนี้กำลังดำเนินการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าจดทะเบียนและต้องนำมาให้วิศวกรเครื่องกลตรวจสอบรับรองผลระดับสามัญขึ้นไปจึงรับรองในการประดิษฐ์รถคันนี้ขึ้นมานำเอกสารการรับรองพร้อมนำคู่มือทะเบียนรถไปแจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่สำนักงานขนส่งได้ ซึ่งขณะนี้ตนเองอยู่ในช่วงดำเนินการ ตรวจสอบความเรียบร้อย ความแข็งแรง และมาตรฐาน

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

ฝีมือคนไทย จยย. ไฟฟ้า 3.5 หมื่นบาท

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ