ข่าว

ดินเค็มอีสานขยายตัวระดมแก้ปัญหา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พัฒนาที่ดินถกปัญหาอีสานดินเค็ม ขยายตัวโดยเฉพาะปีที่แล้งมากจะทำให้เกิดดินเค็มมากขึ้น


 
14 กรกฏาคม 2562 เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2562 ที่ห้องประชุมชั้น 2 โรงแรงพูลแมน ราชา ออคิด ขอนแก่น กรมพัฒนาที่ดินจัดกระชุมวิชาการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 7

 

โดยมี นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ เป็นประธานเปิดงาน และมีนายปานทอง สระคูพันธ์ รอง ผวจ.ขอนแก่น ร่วมพิธีด้วย โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย และเกษตรกรเข้าร่วม พร้อมแสดงผลงานการแก้ปัญหาป้องกันการกระจายดินเค็ม รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร การประมงในพื้นที่ดินเค็ม การบรรยายพิเศษ และยังมีการจัดเสวนาการปลูกป่าเพิ่มมูลค่าในพื้นที่เนินรับน้ำ และการเสวนาผลสำเร็จของการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็ม

 

นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ กล่าวว่า การประชุมวิชาการเพื่อที่จะช่วยเหลือปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มในภาคอีสาน ได้ดำเนินการมา 7 ปีแล้ว พบว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อที่จะพัฒนาให้สามารถปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มให้มีการใช้พื้นที่ได้เหมาะสม และเกษตรกรสามารถที่จะเพิ่มผลผลิตและรายได้ เนื่องจากว่าถ้าเราแก้ไขปัญหาดินเค็มและปัญหาดินทรายที่เกิดการชะล้าง ในภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาดินเค็มอย่างมาก ถ้าช่วยอีสานได้ก็จะเป็นการช่วยเหลือรายได้ของประเทศโดยภาพรวม

 

การประชุมวิชาการเป็นบทบาทสำคัญ เพราะดินเค็มเป็นปัญหาพิเศษ ต้องช่วยกันแก้ไข ดินเค็มไม่มีสิทธิที่จะหมดไปเพราะเป็นชั้นหินเกลือที่อยู่ใต้โลกมาเวลานาน ไม่สามารถจะกำจัดได้หมด แต่สามารถปรับให้ทำการเกษตรในรูปแบบที่เหมาะสมได้ มีหลายพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จ

 

ดินเค็มอีสานขยายตัวระดมแก้ปัญหา

 

พบว่าการเอาพื้นที่ดินเค็มมาพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องการเกษตร ในรูปแบบปรับเป็นเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชหลายชนิด รายได้เกษตรกรเปลี่ยนไปมาก จาก 5 พันบาท กระโดดมาเป็นหมื่นบาทและขยับขึ้นมาเรื่อย ถ้าส่งเสริมในพื้นที่ดินเค็มกระจายไปทั่ว มีรายได้มีความมั่นคงบนพื้นฐานความสุขและสุขภาพที่ดีด้วย ก็จะไม่ต้องอพยพสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งพื้นฐานจริงๆต้องมาจากวิชาการ  

 

ฉะนั้น จึงเห็นว่าการประชุมวิชาการ น่าจะทำต่อไป อยากสนับสนุนให้กระจายมากกว่านี้ ครั้งนี้เองนั้นก็ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้ง FAO มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสารคาม มหาวิทยาลัย Ehime มหาวิทยาลัย Hokaido มหาวิทยาลัย New South Wales และ SCG

 

นายก่อเกียรติ จันทร์พึ่งสุข ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กล่าวว่า ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาดินเค็มถึงร้อยละ 16.87 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การเกษตร ตลอดระยะเวลา 56 ปี กรมฯได้ดำเนินการแก้ไขโดยน้อมนำเอา อีสานมีพื้นที่ดินเค็มค่อนข้างมาก ขอนแก่นเองนั้นถือว่าเป็นตัวแทนดินเค็มของภาคอีสาน มีเกษตรกรอาศัยในพื้นที่ดินเค็มประกอบอาชีพในพื้นที่มาก

 

ดินเค็มอีสานขยายตัวระดมแก้ปัญหา

 

ถ้าเราไม่เข้าไปจัดการให้เกษตรกรเพาะปลูก ไม่ว่าจะข้าว อ้อย มัน อีกหลายชนิด ผลผลิตจะต่ำส่งผลต่อรายได้เกิดการอพยพทิ้งถิ่น ทำให้ความเค็มในพื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก ต้องทำให้เกษตรกรประกอบอาชีพสร้างงานในพื้นที่อยู่ได้นานที่สุด และอยู่ในพื้นที่ให้นาน จึงต้องต่อสู้เรื่องดินเค็ม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ จัดหาแหล่งน้ำ จัดการดูแลปรับปรุงดิน การปลูกต้นไม้ทนเค็ม

 

พื้นที่ดินเค็มใน 8 จังหวัดตอนบนที่เขต 5 ดูแล ขอนแก่นถือว่ามีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ กระจายเกือบทุกอำเภอ แต่มากสุดที่เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ เมืองเพียเป็นต้นแบบการจัดการดินเค็ม เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ การคอนโทรลความเค็มของน้ำใต้ดินทำให้พื้นที่เค็มลดลง แต่ปีนี้ก็น่าเป็นห่วง เพราะสภาพอากาศและฝน ซึ่งมีผลสำคัญต่อดินเค็มมาก  กรณีแห้งแล้งแบบนี้เชื่อว่าความเค็มจะต้องลอยขึ้นมาอีก  

 

         
เรื่อง  / ภาพ   จิติมา จันพรม

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ