ข่าว

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขอนแก่น - คมข่าวทั่วไทย

 

วันที่ 9 ก.ค. 2562 ที่ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานชลประทานที่ 6 นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เป็นประธานในการประชุม การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในช่วงฤดูฝน  โดยมีสำนักงานชลประทานที่ 7 และ 8 เข้าร่วมประชุม หลังสถานการณ์น้ำฝนทิ้งช่วงทำให้หลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง อ่างมีปริมาณน้ำน้อย ไม่สามารถส่งน้ำชลประทานให้กับการเกษตรได้ สภาพคลองชลประทานหลายแห่งมีสภาพแห้งวัวลงไปหญ้าได้ บางแห่งมีน้ำขังจากฝนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

นายศักดิ์ศิริ เปิดเผยหลังการประชุมว่า ตามที่อธิบดีกรมชลประทานได้เน้นย้ำ ให้สำนักงานชลประทานทุกแห่ง จัดสรรการใช้น้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าฤดูฝนปี 2562 นี้ปริมาณฝนมีเกณฑ์ตกน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 3 % และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 5-10 % และช่วงปลายเดือนกรกฎาคมอาจจะเกิดฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

 ทั้ง 3 สำนักงาน จึงได้ประชุมเพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ทั้งชลประทานที่ 6 ดูทั้งหมด 5 จังหวัด ตั้งแต่ต้นนำของแม่น้ำชี สำนักงานชลประทานที่ 8 ดูต้นน้ำแม่น้ำมูลที่ตั้งที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนพื้นที่สำนักงานที่ 7 เป็นด้านท้ายของแม่น้ำมูลและบางส่วนแม่น้ำชีไหลมาบรรจบที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ในช่วงเวลานี้ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเอาไว้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. เข้าสู่ฤดูฝน จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เข้าสู่ฤดูฝนมาจนถึงวันนี้ สถานการณ์ฝนที่ตกในพื้นที่ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมาก ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่ผ่านมาเราได้บริหารจัดการน้ำช่วยเหลือเรื่องของภัยแล้ง ทำให้แก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาได้แทบจะทุกพื้นที่ มีบางพื้นที่ที่เราจำเป็นต้องโยกย้ายน้ำหรือแก้ปัญหาเฉพาะจุด

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

 สถานการณ์น้ำที่ช่วงฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ซึ่งปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำ 583.19 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23.99 ของความจุอ่าง น้ำใช้การได้ 1.52 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของความจุอ่าง ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์อาจจะต้องใช้น้ำก้นอ่างอีกครั้งถ้าหากสถานการณ์เป็นแบบนี้ ส่วนเขื่อนลำปาวมีปริมาณน้ำ 568.90 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28.73 ของความจุอ่าง น้ำใช้การได้ 468.90 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23.68 ของความจุอ่าง เขื่อนจุฬาภรณ์มีปริมาณน้ำ 49.88 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30.46 ของความจุอ่าง น้ำใช้การได้ 12.66 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่าง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

จากการประชุมได้วางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนตามมาตรการของกรมชลประทาน โดยการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำมีเพียงพอสำหรับการใช้น้ำตลอดฤดูฝน และเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึง ซึ่งได้พิจารณาให้ความสำคัญจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นอันดับแรก ดำเนินการเก็บกักน้ำในเขื่อนให้มากที่สุด ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุด ตามช่วงเวลา เพื่อความมั่นคงด้านการอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศน์

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

            “เวลานี้สถานการณ์ภัยแล้งยังมีอยู่เนื่องจากน้ำยังน้อย เรามาร่วมกันวางแผนว่า น้ำต้นทุนที่เรามีอยู่ แต่ละอ่าง ทั้งเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำปาว ซึ่งมีปริมาณน้ำในอ่างน้อยมาก อ่างอุบลรัตน์ 24 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ลำปาวประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ เขื่อนจุฬาภรณ์ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับต้นน้ำมูล หลายอ่างมีปริมาณน้ำในอ่างน้อย เราคงต้องวางแผนกันว่าจะเอาน้ำที่มีอยู่ ส่งเพื่ออะไรเป็นกิจกรรมแรก ชลประทานได้กำหนดไว้แล้วว่า เรื่องของอุปโภคบริโภคมีสนับสนุนอย่างแน่นอน ไม่ต้องกังวลใจ รวมกับเรื่องของการรักษาระบบนิเวศน์ เป็นน้ำก้อนที่เราส่งออกมา ส่วนเรื่องของน้ำเพื่อการเกษตร บางพื้นที่ได้มีการประชาสัมพันธ์ว่าสถานการณ์ของบางอ่าง ยังไม่พร้อมที่จะส่งน้ำเพื่อการเกษตร แม้ว่าระบบชลประทานจะส่งน้ำเสริมให้กับฤดูฝน ที่ฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกไม่ทั่วถึง แต่ต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องเกษตรกรว่า ในช่วงเวลานี้ ถ้าหากเป็นไปได้ขอให้เลื่อนเวลาในการเพาะปลูกออกไป เป็นเวลาช่วงที่เหมาะสม อาจจะเข้าไปอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม ที่คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยบ้าง  และในเดือนกันยายนอาจจะน้อยกว่าเฉลี่ยเล็กน้อย ในพื้นที่คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”นายศักดิ์ศิริ กล่าว

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

(คลิป) วางแผนบริหารน้ำหลังฝนทิ้งช่วง

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ