ข่าว

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ข่าวโดย...สนทะนาพร อินจันทร์

 

               13 พ.ย. 61 เวลา 13.30 น.  เจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก นำโดย นายทวี เมธีศุภภัค วิศวกรเครื่องกลชำนาญการพิเศษ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมคณะ ได้เดินทางมาทำการตรวจสอบรถยนต์เก๋ง นิสสัน อัลเมร่า สีขาว หมายเลขทะเบียน 2 กก 7720 กทม. ของนายธนัยนันท์ เชื้อถิระพงษ์ อายุ 31 ปี

 

 

 

               ที่เกิดเหตุการณ์วูบหมดสติอยู่ภายในรถ บนทางด่วนยกระดับบูรพาวิถี กม.39+800 พร้อมด้วยบุตรสาว วัย 7 ขวบ และแฟนสาว วัย 26 ปี เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 2 ชม. จึงพบต้นตอและสาเหตุของปัญหาในกรณีที่เกิดขึ้นครั้งนี้

               นายทวี กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้คนขับรถพร้อมด้วยผู้โดยสาร รวม 3 คน มีอาการมึนงงหมดสติอยู่ภายในรถ ขณะกำลังขับรถเดินทางอยู่บนทางด่วนบูรพาวิถีนั้น เนื่องจากมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เล็ดลอดเข้าไปยังภายในห้องโดยสารได้ สาเหตุจากรถคันนี้ถูกดัดแปลงสภาพด้วยการตกแต่งตีสเกิร์ตรอบคัน โดยเฉพาะที่บริเวณกันชนหลังนั้นได้มีการดัดแปลงเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

               ด้วยการทำเป็นสเกิร์ตไฟเบอร์ที่มีรูปทรงลักษณะของการปิดหุ้มปลายท่อไอเสียเข้าไปไว้ด้านในตัวรถด้วย จึงทำให้ไอเสียที่ถูกพ่นออกมานั้น หมุนวนอยู่แต่ภายในบริเวณใต้ท้องรถ และมีไอเสียบางส่วนเล็ดลอดเข้าไปยังภายในตัวรถ ที่บริเวณช่องเก็บของด้านหลังฝากระโปรงท้าย ซึ่งมีรูที่ถูกเจาะมาจากทางโรงงาน และมีกระดุมพลาสติกอุดปิดรูไว้

               แต่คาดว่าในขณะที่มีการดัดแปลงตัวรถเพื่อติดตั้งสเกิร์ตกันชนใหม่ จึงทำให้ผู้ที่ทำการติดตั้งลืมปิดหรืออุดเม็ดกระดุมกลับไปไว้ตามเดิม จึงทำให้ไอเสียที่หมุนวนอยู่ที่ใต้ท้องรถนั้นลอดผ่านเข้ามาทางช่องรูนี้ไปยังภายในห้องโดยสารได้ ซึ่งการทำสเกิร์ตห่อหุ้มปลายท่อไอเสียลักษณะนี้ ยังทำให้ไอร้อนพ่นใส่ตัวรถอยู่ตลอดเวลา

 

 

 

               โดยเฉพาะที่ด้านข้างตัวรถบริเวณแก้มใกล้ซุ้มล้อหลังทางขวา และฝากระโปรงหลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งใกล้กันกับปลายของปากท่อไอเสียนั้น จะร้อนอยู่ตลอดเวลาขณะติดเครื่องยนต์ อีกทั้งตัวกันชนท้ายที่ทำจากไฟเบอร์เป็นสเกิร์ตคลุมปลายท่อไอเสียอยู่นั้น ยังมีร่องรอยของการถูกความร้อนจนแตกร้าวให้เห็นอีกด้วย

               ขณะเดียวกัน ในวันนี้ทางทีมงานวิศวกรรมยานยนต์ ยังได้นำเครื่องมือวัดค่าไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ มาทำการตรวจวัดปริมาณภายในห้องเครื่องยนต์แล้ว ปรากฏว่า ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ โดยสามารถตรวจวัดค่าที่ได้ออกมายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ตรวจวัดได้ คือ 0.02 จากมาตรฐานไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์ และค่าไฮโดรคาร์บอนวัดได้ 69 จากมาตรฐานไม่เกิน 100 ppm

               "ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากช่องรูเล็กๆ ที่ด้านท้ายรถดังกล่าวที่ไม่ได้มีการอุดพลาสติกไว้ และการดัดแปลงสภาพตีสเกิร์ตปิดปลายท่อไอเสียไว้เท่านั้น" นายทวี กล่าว

               ร.ต.อ.สุริยา ภูมิวัฒน์ รองสารวัตรเวรสอบสวน สภ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี กล่าวว่า หลังมีการตรวจสอบยืนยันถึงสาเหตุที่ชัดเจนจากทางเจ้าหน้าที่วิศวกรรมยานยนต์กรมการขนส่งทางบกแล้ว ถือว่าทราบสาเหตุที่ชัดเจนแล้ว ส่วนในเรื่องคดียังต้องรอผลจากการตรวจสอบเครื่องดื่มอีกสองชนิดที่พบในรถและที่ส่งไปตรวจ ว่ามีสารพิษอะไรหรือไม่

               "และหากไม่มีสารพิษอะไร โดยมีการยืนยันกลับมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จะทำการยุติการสอบสวนดำเนินคดี เนื่องจากไม่มีคดีอาญาเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ และไม่มีผู้เสียหาย และยังไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใคร โดยเจตนาของผู้อยู่ในเหตุการณ์นั้น จะพากันขับรถไปเที่ยวในวันหยุด โดยไม่ได้มีปัญหาอะไรกันในครอบครัว" ร.ต.อ.สุริยา กล่าว

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

วิศวกรรมยานยนต์ชี้แต่งรถเหตุวูบยกคัน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ