ข่าว

ศธภ.12 รุกจัดการเรียนรู้แบบใหม่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศธจ.ภาค 12 รุกจัดการเรียนรู้แบบใหม่ใช้ "ชุมชนเป็นศูนย์กลาง"ได้รับเสียงชื่นชมจากทุกภาคส่วน พร้อมนำไปสู่การวางแผนการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579

         เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ได้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการ ทิศทางการพัฒนาการศึกษา “ร้อยแก่นสารสินธุ์”


        โดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 12(ศธภ.12) โดยมีการจัดแสดงผลงานของนักเรียนแกนนำเยาวชนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามบริบทอัตลักษณ์ของท้องถิ่น กลุ่มจังหวัด หลังจากได้จัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่โดยให้ชุมชนเ็ป็นศูนย์กลางและเป็นแหล่งข้อมูํลความรู้และให้เด็กเยาวชนและโรงเรียนได้ลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ รากเหง้าของตนเอง ก่อนมานำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ คลิปวีดีโอ เพื่อนำเสนอให้กับผู้สนใจได้เรียนรู้ โดยมีหน่วยงานทางการศึกษาจาก 4 จังหวัดคือ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคามกว่า 500 คนเข้าร่วมงาน

 

 

ศธภ.12 รุกจัดการเรียนรู้แบบใหม่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

 

         เรื่องนี้ นางวัลลีย์ ศรีรัตน์ รองศึกษาธิการภาค 12 กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ของพื้นที่นำร่อง 7 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนสหัสขันธุ์ และกศน.อำเภอสหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร จากจ.มหาสารคาม โรงเรียนบ้านม่วง และโรงเรียนภูผาม่าน จ.ขอนแ่ก่น โรงเรียนเชียงขวัญ และโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด ที่ทางสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ได้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ โดยจัดกระบวนการนอกห้องเรียนด้วยการพาเด็กเยาวชน และครู ออกไปที่ชุมชนเพื่อสืบค้นประวัติชุมชน ของดีของฝากของชุมชน แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ก่อนจะจัดทำเป็นแผนที่ของชุมชน เพื่อนำเสนอให้คนอื่นได้รับรู้

 

        “ผลสัมฤทธิ์ของโครงการออกมาได้อย่างน่าปลื้มใจมาก เพราะกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ ทำให้เด็กเยาวชนและครูในโรงเรียน ได้เปิดประตูห้องเรียนออกไปหาชุมชน ได้เรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของปราชญ์ในชุมชนสู่เยาวชน ซึี่่งใช้กระบวนการการซักถาม เรียนรู้ และนำเสนอผ่านเรื่องเล่าในแบบมัคคุเทศก์น้อยและคลิปวีดีโอสั้น ๆ เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง ซึ่งเสียงสะท้อนจากโรงเรียน ชุมชนและเยาวชนพบว่าเป็นการกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำิเินินการ เกิดการประสานและทำงานด้วยกันอย่างแท้จริง จนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน”นางวัลลีย์ กล่าว

 

     

 

        ด้านนางลมโชย หาญศรีภูมิ ครูโรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม กล่าวถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ว่า ในการลงพื้นที่เพื่อพานักเรียนไปเรียนรู้กับชุมชนพบว่าเด็กได้ประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะการสอนในห้องเรียนไม่ได้สอนเรื่องทักษะชีวิต ไม่ได้สอนเรื่องรากเหง้าความเป็นพื้นถิ่น ที่ผ่านมากระบวนการศึกษาหลงลืมความเข้มแข็งของชุมชน หลงลืมองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากชุมชน พอมีการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเ็ป็นครูทำให้เด็กเยาวชนและชุมชนได้ใกล้ชิดและได้เรียนรู้ร่วมกัน เกิดความสัมพันธ์ีอันดีของชุมชนและคนในพื้นที่ ครูในโรงเรียนก็ได้เปิดประตูไปหาองค์ความรู้ืใหม่ ๆ เด็ก ๆ เยาวชนก็มีครูต้นแบบเพิ่มขึ้น ถือว่ากระบวนการเรียนรู้แบบนี้ตอบโจทย์การศึกษาในศตวรรษที่ 21 อย่างแทัจริง

 

 

ศธภ.12 รุกจัดการเรียนรู้แบบใหม่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

 

        ในขณะที่นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช.ทวีดอลลาเชียน จำกัด (มหาชน) ตัวแทนจากภาคธุรกิจ ได้สะท้อนเรื่องการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการว่า ไม่ได้สอนให้เด็กเอาตัวรอด และการทำงานในชีวิตจริง การศึกษาในโรงเรียนไม่ได้ฝึกฝนเรื่องนี้ เมื่อจบการศึกษาออกมาอัตราการว่างงานและคนตกงานมีเยอะ เพราะระบบการศึกษาไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิต

 

 

ศธภ.12 รุกจัดการเรียนรู้แบบใหม่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

 

        “ขอนแก่นมีโมเดลดี ๆ หลายอย่าง อยากให้การศึกษามีโมลเดลดี ๆ ด้วยเช่นกัน เราควรให้เด็กเป็นศูนย์กลาง อยากให้กระทรวงศึกษามองว่าเด็กคือลูกค้า เด็กคืออนาคต เด็กคือเจ้าของประเทศ เราควรทำให้เด็กสื่อสารเป็น และครูเองก็ต้องสื่อสารเป็น เพื่อจะสามารถอยู่รอดได้ในอนาคต ผู้บริหารต้องเปลี่ยนมายด์เซ็ตเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จ การปฏิรูปการศึกษาไม่จำเ็ป็นต้องทำทั้งประเทศ แต่เราสามารถทำเป็นโมเดลในบางพื้นที่เพื่อทดลองหากสำเร็จค่อยขยายพื้นที่ต่อไป”นายสุรเดช กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ