ข่าว

ผู้ว่าฯเช็คการระบายแม่น้ำน่านหากเกิดอุทกภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ว่าฯน่าน ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมการระบายน้ำแม่น้ำน่านเมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัยที่โครงการฝายธงน้อย และลำน้ำว้าที่ โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน


           นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้สั่งการ ให้นายณรงค์ อินโส หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน ออกตรวจสถานการณ์น้ำในลำน้ำต่างๆที่จะส่งผลกระทบเมื่อเกิดอุทกภัยทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดน่านตอนบน  มวลน้ำลำน้ำน่าน ที่จะไหลผ่าน ระบบการปิดเปิดประตูระบายน้ำ ฝายธงน้อย โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน. (ฝายธงน้อย) อำเภอเมือง จังหวัด  และ มวลน้ำลำน้ำว้าที่ ไหลลงโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน เขื่อนน้ำว้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จะสร้างความเสียหายให้กับพื้นจังหวัดน่านด้านใต้ตั้งแต่ อ.เวียงสา นาน้อย นาหมื่น ที่ ฝายธงน้อย โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน. (ฝายธงน้อย) อำเภอเมือง จังหวัด  นายณรงค์ อินโส ปภ.น่าน
     
 

 

     ผู้ว่าฯเช็คการระบายแม่น้ำน่านหากเกิดอุทกภัย

 

          โดย นายบรรจง สิมมา รก.หน.โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำตอนบนฯ กล่าวว่า ช่วงแรกที่ พายุเซินติญ เข้าน่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้มาดูระบบการปิดเปิดการทำงานของฝาย การทำงานของ ฝายธงน้อย เป็นระบบน้ำลอด ไม่ใช่ฝายน้ำล้น  สถานการณ์ปกติมีคณะกรรมการ 12 คน โดยมีผู้ว่าเป็นประธาน  ดูแลระบบการจะเปิดปิดเพราะเหตุใด จะต้องทำหนังสือรายงานถึงคณะกรรมการ ถึงจะเปิดประตูได้ ไม่ได้เปิดได้โดยพลการเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน  จะประสานงานทำงานบูรณาการร่วมกัน การบริหารจัดการน้ำไม่ให้น้ำท่วมตัวเมืองน่าน ต้นน้ำ และปลายน้ำเกิดน้ำท่วม  ต้องดูความพอดีรักษาระดับน้ำ ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ในสถานการณ์ไม่ปกติจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ที่ตัวเขื่อนจะมีเครื่องวัดระดับน้ำขึ้น – ลง แจ้งให้ทราบตลอดเวลา 

ผู้ว่าฯเช็คการระบายแม่น้ำน่านหากเกิดอุทกภัย

             ที่เขื่อน โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน เขื่อนน้ำว้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มองได้ 2 มิติ มองเป็นฝายก็ได้ เป็นเขื่อนก็ได้  นายบรรจง กล่าวว่า เขื่อนนี้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากลำน้ำว้าซึ่งลำน้ำขนาดใหญ่รองจากแม่น้ำน่าน เพื่อนำไปใช้ปั่นเป็นกระแสไฟฟ้า ช่วยในเรื่องกระแสไฟตก ไฟไม่พอใช้ในจังหวัดน่าน เขื่อนยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องล่าช้าไป เนื่องจากตัวอาคารถูกน้ำท่วมเมื่อปี 2559 และพยายามจะให้จะให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 ส่วนสถานการณ์น้ำยังไม่น่าเป็นห่วง ถ้าหากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมปริมาณน้ำฝน ที่เขื่อนมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังระดับน้ำตลอด 24 ชั่วโมง น้ำว้าที่ผ่านเขื่อนนี้จะไหลไปรวมกับน้ำน่านบริเวณ บ้านขึ่ง ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา 
 ทางด้าน นายณรงค์ อินโส ปภ.น่าน กล่าวว่า ในส่วนของการเตรียมการรับมือกับพายุพายุเซินติญ สถานการณ์ในปัจจุบันสภาพนี้ยังรับมือได้อยู่ถ้าหากไม่มีฝนตกมาเพิ่มเติมหรือสถานการณ์เปลี่ยนไปมีฝนตกที่ อ.บ่อเกลือ  หรือแม่จริม มีปริมาณน้ำฝนมาก ต้องมีการบริหารจัดการน้ำ การเปิดฝายธงน้อยไม่ให้น้ำน่านไหลมารวมกับน้ำว้ามาก ป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเวียงสา 

ผู้ว่าฯเช็คการระบายแม่น้ำน่านหากเกิดอุทกภัย


             นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดน่าน ถ้าไม่มีปริมาณฝนเพิ่ม คาดว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นภาวะปกติของจังหวัดน่านที่มีพื้นที่ลาดชันสูง ปกติจังหวัดน่านเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำป่าล้นตลิ่งไหลบ่าท่วมบ้านเรือนราษฏรเป็นลักษณะน้ำหลาก มาเร็วไปเร็ว เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคโซเชียลออนไลน์ จึงขอความร่วมมือจากประชาชนที่ใช้มือถือถ่ายภาพตอนกระแสน้ำหลาก แล้วส่งไลน์ เฟสบุ๊ค  แชร์ไปให้เพื่อนญาติพี่น้องที่อยู่ต่างอำเภอต่างจังหวัด แล้วก็แชร์ไปตามหน่วยงานทำให้ตื่นตระหนก แต่ตอนน้ำลดหรือช่วงที่เข้าสู่สภาพปกติน้ำลดไม่ได้บอก  สำหรับจังหวัดน่านได้มีการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อมการรับมือสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย ชุดเคลื่อนที่เร็ว กำลังพล อุปกรณ์ ยานพาหนะ พร้อมออกให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมาเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นจังหวัดน่าน ไม่มีปัญหาเมื่อชาวบ้านประสบเหตุการณ์น้ำป่าหลาก ทุกหน่วยงานเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีด้วยความรวดเร็ว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ