พระเครื่อง

เซอร์พระแข่งสมาคมฯ "เสี่ยติ" อรรถภูมิ บุณยเกียรติ คิดอะไรอยู่?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใบประกาศนียบัตร หรือที่เรียกกันว่า ใบเซอร์พระ (Certificate) ถือเป็นใบรับรองพระแท้ ที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ออกให้พระแต่ละองค์ ทั้งนี้ ได้รับความเชื่อถือจากวงการพระโดยทั่วไป มากกว่าใบประกาศนียบัตรจากงานประกวดพระ ซึ่งเดิมทีนั้น คนทั่วไปเข้าใจว่

 ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา นายอรรถภูมิ ได้จัดงานประกวดคิดนอกกรอบจัดนิทรรศการแข่งขันการอนุรักษ์พระสมเด็จ ๓ วัด ๓ ประเภท คือ ๑.พระสมเด็จแบบมาตรฐานของวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย ๒.เป็นพระที่ขาดปัจจัยการตลาด และ ๓.เป็นพระที่จัดเข้าแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งลบและบวกของคนวงการรพระเครื่องไม่น้อย

 หลังจากนั้นอีกเพียง ๒ เดือนถัดมา นายอรรถภูมิ ก็มีการประชาสัมพันธ์ออกมาอีกว่า วันที่ ๖-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นี้ จะมีการจัดเซอร์พระและแข่งขันการอนุรักษ์ชุดเบญจภาคี ณ โรงแรมเดอะริช เชิงสะพานพระราม ๕ จ.นนทบุรี เล่นเอาสังคมวงการมึนตึ้บไปตามๆ กัน

 ฝ่ายที่สงสัย และไม่เห็นด้วย ก็วิจารณ์อย่างไม่ไว้หน้าว่า นายอรรถภูมิ ลดชั้นมาเล่นพระเก๊แล้วหรือ อีกฝ่ายหนึ่งที่ไปร่วมงานดูจะเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ยืนอยู่ข้างนายอรรถภูมิ และมีความภูมิใจยินดีกับเกียรติบัตรที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นพระแท้แต่ละประเภท

 แต่คำตอบสุดท้าย ยังคงคาใจแก่หลายๆ คนหลายๆ ฝ่ายว่า พระแท้แบบขาดปัจจัยการตลาด และแบบบูรณาการของงานครั้งนั้น เชื่อถือได้แค่ไหน แต่นายอรรถภูมิดูจะไม่ใส่ใจที่จะอธิบาย หรือทำความเข้าใจต่อผู้ที่สงสัย หรือคลางแคลงในเป้าหมายของการจัดงานครั้งนั้น กลับหาญกล้าที่คิดการใหญ่ต่อไป

 อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า พระชุดเบญจภาคีเป็นชุดที่สำคัญที่สุดของวงการ และผู้ที่จะทำการพิจารณาวินิจฉัยพระชุดนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญ อีกทั้งต้องได้รับการยอมรับจากวงการ

 แล้วประธานจัดงานชุดเบญจภาคีที่กล่าวถึงที่ชื่อ อรรถภูมิ บุณยเกียรติ เป็นใครมาจากไหน ได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน อย่างไร คงมีบางท่านที่เป็นนักอ่านนิตยสารพระเครื่อง คงรู้ว่าชื่อนี้เป็นคนทำหนังสือ ไม่ใช่เซียนพระซื้อขาย หรือไม่ใช่เซียนใหญ่แต่อย่างใด และดูเจ้าตัวก็ไม่ใคร่ประสงค์จะให้ใครรู้จักในฐานะเซียนใหญ่เท่าใดนัก

 แต่ชื่อนี้ ก็จัดว่าเป็นชื่อเก่าแก่ชื่อหนึ่งของวงการพระ ส่วนจะมีความรู้และได้รับการยอมรับเรื่องชุดเบญจภาคีแค่ไหน คงตอบกันไม่ได้ แล้วทำไมจึงหาญกล้ามาจัดเซอร์ชุดเบญจภาคีแข่งกับสมาคมพระเครื่อง   

 “ขอโทษครับ ผมจัดกิจกรรมเซอร์ หรือที่เรียกว่าออกหนังสือรับรองพระเครื่องมาก่อนที่จะมีการก่อตั้งสมาคมอีก ผมเซอร์พระมาตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๓๔ โน้น เซียนบางคนยังไม่เกิดในวงการเลย ออกไปเซอร์ไปนับเป็นพันๆ ฉบับ  และยังไม่เคยมีปัญหาต่อการเซอร์แต่อย่างใด” นี่คือคำยืนยันของนายอรรถภูมิ

 การออกหนังสือรับรองพระเครื่องของนายอรรถภูมินั้น เริ่มจากการเซอร์ในนามของ "สสพ." หรือ "สถาบันส่งเสริมการศึกษาและสะสมพระเครื่อง" ซึ่งขณะนั้นมี ศ.ดร.ไสว พงษ์เก่า เป็นประธานที่ปรึกษาวิชาการ โดยจัดแบ่งการเซอร์ออกเป็นแบบพร้อมแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งหมายความว่า เมื่อออกใบเซอร์ไปแล้วมีท่านใดระบุว่า พระที่ผ่านการเซอร์จาก สสพ. เป็นพระเก๊ ทาง สสพ.ยินดีที่จะรับเช่าบูชามาในอัตรา ๗๐% ของมูลค่าการประเมิน สำหรับอีกประเภทหนึ่งนั้น ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบ คืออาจเป็นพระแท้ที่ไม่ใช่พระตลาด หรือพระแท้ที่อาจดูยาก หรือพิจารณายาก แต่ผู้ครอบครองประสงค์จะได้รับใบเซอร์

 “ขอโทษนะครับ ผมเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับเกียรติให้ไปทำการเซอร์พระในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ โดยได้รับค่าตอบแทนวันละ ๑ แสนบาท โดยไปทำงานทั้งหมด ๕ วัน ขณะนั้นถ้าจำไม่ผิด มีผู้สื่อข่าวเดลินิวส์และไทยรัฐร่วมเดินทางไปด้วย   

 โดยประมุขของศาสนานิกายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ท่านมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรสูงเพียง ๑ ศอกไว้ในครอบครอง และได้รับมาตั้งแต่ครั้งในหลวงรัชกาลที่ ๕ เพียงแต่ไม่มีประวัติเรื่องราวหรือข้อมูลเกี่ยวกับพุทธศิลป์สกุลช่าง อายุความเก่า หรือแท้เทียมแต่อย่างใด จึงร้องขอผู้ชำนาญการภาครัฐของไทย แต่เนื่องจากภาครัฐไม่มีผู้ที่จะไปดำเนินการเรื่องนี้ได้ ผมจึงได้รับโอกาสอันมีเกียรติยิ่ง ทั้งกับตนเองและประเทศชาติ ที่ได้ออกไปทำงานและเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรอง ซึ่งยังคงมีการจัดแสดงเอาไว้ ณ ประเทศญี่ปุ่นตราบเท่าทุกวันนี้” นายอรรถภูมิ กล่าวอย่างภาคูมิใจ 

 ขณะเดียวกัน นายอรรถภูมิยืนยันว่า ไม่ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างใด แม้สังคมส่วนใหญ่จะยังไม่ให้คะแนนมากนัก หรือเข้าข่ายติดลบด้วยซ้ำไป แต่อรรถภูมิก็ยังคงเป็นอรรถภูมิ ที่ดูจะไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม ยังคงจะเดินหน้าต่อไป อีกทั้งยังประกาศว่า ขอให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ โดยเฉพาะในนิทรรศการเบญจภาคีคราวนี้ สำหรับพระแบบมาตรฐานการตลาดที่ผ่านการเซอร์ออกไป หากท่านใดบอกว่าเก๊ ผู้จัดพร้อมรับที่จะบริหารการบูชาให้ผู้ที่เชื่อถือ และพร้อมจะบูชาในมูลค่าหลักแสน

 สำหรับผู้ที่สนใจอยากได้ใบรับรองพระแท้ของสถาบันโบราณศิลป์ วันเสาร์ที่ ๖ และวันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์นี้ ที่โรงแรมเดอะริช เชิงสะพานพระราม ๕ ฝั่งวัดสังฆทาน โดยวันเสาร์ที่ ๖ เป็นวันที่เขาจะคัดพระเซอร์ชุดเบญจภาคีถึง ๓๐๐ กว่ารายการ  ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๗ เป็นวันแข่งขันการอนุรักษ์ชุดเบญจภาคี เพื่อจัดลำดับชนะเลิศ ๑ องค์ รองชนะเลิศ ๕ องค์ ส่วนองค์ที่เข้าเกณฑ์ แต่ไม่สวยพอที่จะชนะเลิศ หรือรองชนะเลิศ ก็จะได้รับหนังสือรับรองว่า เป็นพระแท้แต่ละประเภท  ไหนๆ สังคมวงการก็มีคนหาญกล้าบ้าบิ่นเช่น อรรถภูมิ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.๐๘-๗๓๒๖-๑๒๔๗ และ ๐-๒๘๗๙-๕๗๘๘ ส่วนแผงพระที่จะร่วมงานนั้น ตั้งฟรี โดยมีโต๊ะรองรับเกือบ ๕๐๐ แผง

 “ขอโทษครับ ผมจัดกิจกรรมเซอร์ หรือที่เรียกว่าออกหนังสือรับรองพระเครื่องมาก่อนที่จะมีการก่อตั้งสมาคมอีก ผมเซอร์พระมาตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๓๔ โน้น นับเป็นพันๆ ฉบับ และยังไม่เคยมีปัญหาต่อการเซอร์แต่อย่างใด”

เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ