Lifestyle

7 อันดับคอนเทนต์ร้ายบนโลกออนไลน์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ "อินโนสเปซ" โดย "บัซซี่บล็อก" คมชัดลึก

 

**************************

 

สถิติการใช้ออนไลน์และสื่อโซเชียลของคนไทยใน พ.นี้ มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสูงถึง180% ของประชากร และมีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียสูงมาก โดยมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก มากกว่า 54 ล้านคน ตามมาด้วยไลน์ 42 ล้านคน และทวิตเตอร์ 12 ล้านคน

 

สำหรับภาคเอกชน ตัวเลขข้างต้นคือ “โอกาส” ของรายได้และจำนวนลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นผ่านช่องทางพิเศษที่นอกเหนือจากหน้าร้านหรือสำนักงานอย่างเป็นทางการ แต่ในเชิงสังคมแล้ว ความเฟื่องฟูของโลกออนไลน์กลับเปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่นำพามาได้ทั้งความทั่วถึงและเท่าเทียมในการเชื่อมต่อโลกการสื่อสาร/ข้อมูลข่าวสารของผู้คน และปัญหาที่สร้างผลกระทบเชิงลบทั้งต่อบุคคลผู้เป็นเหยื่อ สังคม และความมั่นคงผาสุกของประเทศชาติ

 

 

เปิด 7 อันดับเนื้อหาไม่เหมาะสมบนออนไลน์

 

..สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้งานสื่อโซเชียลมีเดีย อย่างแพร่หลายทำให้เกิดเนื้อหาบน Social Media ที่เข้าข่ายการกระทำความผิดมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากเช่นกัน ขณะที่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและมีการกระจายตัวลงในระดับพื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

 

ปัญหานี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณี และบางส่วนเป็นการใช้งานที่สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งต่อกฎหมาย และกฎระเบียบของประเทศไทยในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

 

 

7 อันดับคอนเทนต์ร้ายบนโลกออนไลน์

 

 

ทั้งนี้ ข้อมูลที่รวบรวมจากการร้องเรียนของประชาชน พบว่าเนื้อหาไม่เหมาะสมที่พบบ่อยมากที่สุดในโลกโซเชียล คือ พฤติกรรมที่รุนแรงและเกี่ยวกับอาชญากรรมส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การทำร้ายตัวเอง การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การละเมิดความเป็นส่วนตัว คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง รุนแรง และหมิ่นประมาท การหลอกลวงและการบิดเบือนข่าวสาร (Fake News) การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และความสงบเรียบร้อยของสังคม

 

ขณะเดียวกัน มีข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ระบุว่า หัวข้อหลักๆ 10 อันดับแรก ที่พบการกระทำความผิดบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผู้เสียหายแจ้งความต่อ สตช. ประกอบด้วย

 

1.การก่อการร้ายสากล/ปัญหาชายแดนภาคใต้ 2.ความรุนแรงสุดโต่ง 3.ยาเสพติด 4.การลามกอนาจาร/เด็กและเยาวชน 5.อาหาร ยา วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง 6.การจัดเก็บภาษี

 

7.ทรัพย์สินทางปัญญา 8.สินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น 9.ความมั่นคงของประเทศ และ 10. ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดศีลธรรมอันดี

 

 

เฟคนิวส์ ไวรัสร้ายโลกโซเชียล

 

ต้องยอมรับว่า ในยุคที่ข่าวแชร์ไปได้ไกลทั่วโลกภายในเสี้ยววินาทีผ่านปลายนิ้ว ได้สร้างให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ร้ายแรงแห่งยุคดิจิทัล ก็คือ ข่าวลวง/ข่าวหลอก หรือเฟคนิวส์ (Fake News) และสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของบ้านเมือง จนมาสู่ความร่วมมือของหลายภาคส่วนในการระดมสมองเพื่อหาแนวทางรับมือในเรื่องนี้

 

เมื่อสัปดาห์ก่อน เว็บไซต์สำนักข่าวไทย ได้นำเสนอรายงานข่าวการเสวนานักคิดดิจิทัลเรื่อง “แพลทฟอร์มสื่อดิจิทัลกับการรับมือข่าวลวง ความเกลียดชังและด้านมืดในโลกออนไลน์” ซึ่งร่วมกันจัดขึ้นโดยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน องค์กร Centre for Humanitarian Dialogue (hd)

 

สถาบัน Change Fusion และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)โดยเชิญนักวิชาการหลายสาขาวิชามาระดมความเห็นรับมือข่าวลวง ซึ่งหลากหลายมุมมองที่นำเสนอกันในเวทีนี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงอยากขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อไว้ในคอลัมน์วันนี้

 

นายอุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน กล่าวว่า ข่าวลวง ข่าวปลอม (Fake News) มีอยู่มากและกระจายอย่างกว้างขวาง

 

ที่ผ่านมาแม้จะมีมาตรการกำกับแต่ปัญหาคือ คน “ไม่ไว้วางใจ” หน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลว่าตัดสินใจด้วยฐานความคิดว่าเพื่อประโยชน์ความมั่นคงและมั่งคั่งของใคร จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันติดตามและตรวจสอบการทำงานของหน่วยกำกับฯเหล่านี้ด้วย

 

 

7 อันดับคอนเทนต์ร้ายบนโลกออนไลน์

 

 

นางพิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกอินเทอร์เน็ตเมื่อมีคนเข้าไปใช้แพลทฟอร์มเพิ่มขึ้น เจ้าของพื้นที่จะขยายประเภทธุรกิจไปมากกว่าการเป็นพื้นที่สื่อสาร

 

คนใช้สื่อออนไลน์มีทั้งแบบที่เป็นข้อมูลการสนทนาส่วนตัวเฉพาะกลุ่มและเปิดเผยต่อสาธารณะหรือติดตามข่าวสารและความบันเทิง ข่าวลวงหรือข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงจะมีมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางและต้องมีการกำกับดูแล

 

อยากจะใช้คำว่า information disorder มากกว่า fake news เพราะข่าวนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริง ผิดไม่ได้อยู่แล้ว ข้อมูลลวงเหล่านี้มีหลายระดับ ส่วนที่จะเป็นปัญหามากคือข้อมูลที่จะทำให้เกิดอันตราย (harmful)

 

งานวิจัยพบว่าข้อมูลลวงนั้นมักจะมาจากแหล่งข้อมูลหรือเวปไซต์เล็ก ที่คนไม่รู้จักมากนัก ไม่ได้เป็นสื่อกระแสหลัก จึงเกิดคำถามในเชิงการบริหารจัดการว่าจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหนในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ ต่างประเทศจะเลือกจัดการข้อมูลที่เสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคมก่อน”

 

นางพิจิตรากล่าวอีกว่า แพลทฟอร์มใหญ่ระดับนานาชาติ มีเครื่องมือเพื่อดำเนินการกับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้อยู่บ้างแล้ว อาทิ Facebook มี FB fact checking program ,community standard policy และเครื่องมือเพื่อสืบค้นจัดการกับข่าวลวง เอาออกจากพื้นที่ ลดความถี่การมองเห็นและการแจ้งเตือน,

 

Google มี Google news Initiative หรือ LINE มี digital literacy program, หรือไลน์ในไต้หวันมี Co-fact checking ส่วนในสหภาพยุโรป มีการตั้งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลโดยเฉพาะโฆษณา ต้องแสดงความโปร่งใสว่าใครอยู่เบื้องหลังเนื้อหา ใครเป็นคนจ่ายเงินโปรโมทข้อมูล

 

“แต่ในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการกำกับดูแลข่าวลวงนี้อย่างจริงจัง สิ่งที่ต้องทำให้เกิดคือให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและเท่าทันข่าวสาร รวมทั้งต้องส่งเสริมงานศึกษาวิจัยเรื่องนี้ให้มากขึ้นด้วย”

 

นายสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion กล่าวว่า ข่าวลวงคือไวรัสทางสังคมที่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการระบาดทางความคิด ในสหรัฐและอังกฤษมีงานวิจัยพบว่า ข่าวลวงนี้ แพร่กระจายได้ลึก กว้างและเร็วกว่าข่าวปกติ ซึ่งจะทำให้ภูมิต้านทานของผู้รับข่าวสารลดต่ำลง

 

มีแนวโน้มจะเชื่อข้อมูลที่ได้รับง่ายโดยไม่ตรวจสอบ แม้จะมีเครื่องมือ fact checking แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น หลายครั้งที่ส่งรายงานปัญหาแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองกลับมา ดังนั้น ภาคประชาชนจึงต้องมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้วย

 

เคยมีงานวิจัยพบว่าคนที่เคยได้รับข้อมูลลวง แม้จะมีข่าวสารที่ถูกต้องมายืนยันอีกครั้งแต่ก็มีแนวโน้มที่อาจลังเลหรือไม่เชื่อข้อมูลจริง ดังนั้นหากคนที่ได้รับข่าวสารใช้เวลาชะลอช้าลงก่อนกดแชร์ส่งต่อ แม้แค่ครึ่งนาทีก็จะมีผลอย่างมากเพื่อให้คิดได้รอบด้านขึ้น

 

ข่าวลวงนั้นมีวงจรชีวิตสั้นยาวต่างกัน ในต่างประเทศมีเครื่องมือหลายแบบที่จะช่วยกรองได้ เช่น chat bot ในไต้หวัน การมีเครือข่าย Fact checking หรือใช้เกมเพื่อให้เด็กในโรงเรียนได้เล่น ในเมื่อข่าวลวงเป็นไวรัส

 

ทางแก้ก็ต้องเอาคนในสังคมมาช่วยป้องกันกลั่นกรองและทำให้เกิดการเท่าทัน ทั้งผู้บริโภคและภาครัฐต้องร่วมมือกัน ประเด็นสำคัญคือ จะเชื่อใจหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างไร ว่าจะไม่ถูกแอบอ้างหรือโฆษณาชวนเชื่อ

 

นางสาวมุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์ ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อยากตั้งคำถามถึงความย้อนแย้งของมาตรการ ที่เจ้าของแพลทฟอร์มต้องการใช้เครื่องมือเพื่อจัดการข่าวลวง ในขณะที่ขั้นตอนแรกเพื่อให้มีบัญชีในแพลทฟอร์มเหล่านั้น กลับไม่ได้ใช้การตรวจสอบที่เข้มข้นแต่แรก

 

หลักการคือ กว่าจะมี account สักอัน ก็ต้องการแค่ชื่อ อีเมล ของผู้ใช้ ไม่ได้ต้องการข้อมูลอื่นมากกว่านั้น ทำให้มี account ได้ง่ายๆ เพราะต้องการให้มียอดสมาชิกและผู้ใช้มากๆ กว้างขวาง เลยไม่แน่ใจว่าเจ้าของแพลตฟอร์มต้องการจัดการข่าวลวงจริงหรือไม่

 

อย่างไรก็ดีในด้านหนึ่งข้อดีของข่าวลวง คือทำให้ข่าวจริงและบทบาทของสื่อมวลชนมีตัวตนและมีศักดิ์ศรีเพิ่มมากขึ้น

 

 

ดีอี’ ตื่นหามาตรการหนุนใช้สื่อโซเชียลอย่างมีคุณภาพ

 

ล่าสุด รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้รวบรวมความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เพื่อเร่งรัดหามาตรการ แนวทางในการพัฒนาการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อแก้ไข

 

หรือบรรเทาผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดียไปในทางที่ไม่เหมาะสม พร้อมเร่งสร้างความเข้าใจกับผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศให้เข้าใจบริบทของสังคมไทย และสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

สุดท้ายกระทรวงดิจิทัลฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลและอาชญากรรมออนไลน์ตาม พ..ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภารกิจตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี

 

รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ จะต้องเร่งรัดหามาตรการในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ ให้สำเร็จต่อไป” น..สมศักดิ์กล่าว

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ