Lifestyle

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คมลัมน์ "อินโนสเปซ" โดย "บัซซี่บล็อก" หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

 

*************************

 

ตลอดระยะเวลาราว 1 เดือนที่ผ่านมาหลังการประกาศเปิดตัวเงินดิจิทัลสกุลใหม่ “ลิบรา (Libra)” ภายใต้การกุมบังเหียนของ “เฟซบุ๊ก” เบอร์ 1 โซเชียลมีเดียโลก และพันธมิตรผู้ก่อตั้ง 28 ราย (หลายรายเป็นเพื่อนๆ ในซิลิกอนวัลเลย์) คลื่นความตื่นตัวและการระแวง(ภัยด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงิน) ที่มีต่อ ‘ลิบรา’

 

และย่างก้าวล่าสุดของเฟซบุ๊ก ก็ได้ส่งแรงกระเพื่อมไปครอบคลุมแทบทุกภูมิภาคของโลก ขณะที่อีกด้านหนึ่ง สาธาณชนก็ยิ่งทวีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับผลได้/ผลเสียที่เงินดิจิทัลสกุลใหม่นี้จะสร้างให้เกิดขึ้นในภาพรวม

 

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

 

 

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงได้จัดสัมมนาทางวิชาการ“ Libra ก้าวที่กล้าของเฟซบุ๊ก : ก้าวสู่โลกใหม่ไร้พรมแดน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับลิบรา

 

ที่นอกเหนือจากกูรูจากแวดวงตลาดเงิน-ตลาดทุน บล็อกเชน และกฎหมายร่วมขึ้นเวที ยังมีผู้สนใจเข้าไปนั่งฟังร่วม 400 คน และติดตามผ่านการถ่ายทอดทางเฟซบุ๊กไลฟ์มากกว่า 29,000 ครั้ง

 

 

รู้จักกับ “ลิบรา” อีกครั้ง

 

จากเวทีนี้ ทำให้รู้จัก ‘ลิบรา’ และฝันอันยิ่งใหญ่ของเฟซบุ๊ก ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านมุมมองของ ดร.ภูมิ ภูมิรัตน์ ที่ปรึกษา ก.ล.ต. ซึ่งเปรียบเทียบว่า การจัดตั้งสมาคมลิบรา (Libra Associations) โดยร่วมกับพันธมิตรผู้ก่อตั้ง 28 รายของสกุลเงินดิจิทัลนี้ เพื่อให้มีบทบาทเสมือนเป็นธนาคารกลาง ทำหน้าที่กำกับดูแลมูลค่าสกุลเงิน “ลิบรา” นั่นเอง

 

ซึ่งแผนการเก็บเงินสำรอง 5-6 สกุลหลักไว้เป็นตะกร้าเงิน ทำให้คุณสมบัติของราคาค่อนข้างคงที่ เป็นไปตามสินทรัพย์ที่มาหนุนหลังอยู่ ซึ่งนอกเหนือจากเงินสำรอง ยังอาจรวมไปถึงพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีนโยบายทางการเงินเข้มเข็ง และซื้อขายได้ง่ายในตลาดอีกด้วย

 

ส่วนเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับพันธมิตรที่จะเปิดรับเพิ่มจาก 28 รายให้ครบ 100 รายนั้น อาจเป็นข้อจำกัดของบริษัทไทยที่สนใจเข้าร่วม เนื่องจากนอกเหนือจากคุณสมบัติที่ว่าต้องมีขนาด Market Cap ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

 

 

ยังมีข้อที่ระบุว่า การทำธุรกิจต้องเข้าถึงลูกค้าได้ 20 ล้านคนทั่วโลก และติดอันดับ Fortune 500 หรือท็อป 100 ในอุตสาหกรรมของตัวเองในระดับโลก ซึ่งผู้ที่จะได้รับการพิจารณาต้องผ่านคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อ

 

“ผู้ที่ได้เข้าร่วมสมาคมลิบรา จะได้เข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการเงินสำรอง และร่วมจัดการ Libra Investment Token ที่จะใช้เป็นกลไกควบคุมราคาเหรียญลิบรา ซึ่งมีกำหนดจะออกสู่ตลาดภายในครึ่งแรกของปี 2020”

 

ที่ปรึกษา ก.ล.ต. บอกด้วยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับลิบราเพิ่มเติม คงจะทยอยมีออกมาเรื่อยๆ เพราะเฟซบุ๊ก จริงจังกับโครงการนี้ และจัดตั้งทีมงานเข้าไปเดินสายคุยกับรัฐบาลในหลายประเทศ

 

 

เพราะเฟซบุ๊กใหญ่(เกินไปลิบราจึงน่ากลัว

 

ปัจจุบันในแวดวงคนเล่นเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี่) ต่างรับรู้กันว่ามีสกุลเงินดิจิทัลที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 2,000 สกุลเงิน ดังนั้น หลายคนจึงอาจแปลกใจว่า “ทำไม” การที่เฟซบุ๊ก ประกาศส่ง “ลิบรา” ลงสนามตลาดเงินดิจิทัลจึงสร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก

 

คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บอกว่า ปัจจุบันประชากรทั้งโลก 8 พันล้านคน มีอยู่ 4 พันล้านคนเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

 

และในจำนวนดังกล่าวครึ่งหนึ่งเป็นผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ดังนั้น ถ้าจะมีใครที่ทำอะไรแล้ว สามารถสร้างผลกระทบได้ทั่วโลกก็ย่อมจะเป็น “เฟซบุ๊ก” นั่นเอง

 

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

 

โดยเฉพาะเมื่อผนวกเข้ากับคำประกาศเป้าหมายสำคัญของลิบรา ที่โฟกัสไปด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระเงิน และการโอนเงินข้ามประเทศ เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศที่ส่งเงินออกนอกประเทศมากที่สุดคือ สหรัฐ และประเทศที่เป็นขารับการโอนเงินรายหลักๆ ได้แก่ อินเดีย จีน เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ประเทศเหล่านี้ล้วนเป็น Fastest growing FB อยู่แล้ว

 

นอกจากนี้ มีข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันปริมาณการโอนเงินข้ามประเทศ(ของรายย่อย) อยู่ในหลัก 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุนการโอนอยู่ที่ 6% ดังนั้นถ้าลิบราเข้ามา และบอกว่าไม่มีค่าธรรมเนียมการโอน ธนาคารจะได้รับผลกระทบแน่นอน

 

 

อีกทั้ง ด้วยจำนวนพันธมิตรที่เข้ามาร่วมอยู่ในสมาคมลิบรา และเงินทุนสำรองที่แต่ละรายต้องใส่เข้ามา จะส่งผลให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งเงินสำรอง (Reserve Pool) ที่ใหญ่สุดของโลก

 

 

เปิดเบื้องลึก “ทำไม” ธุรกิจใหญ่อยากเข้าร่วม

 

กูรูหลายรายบนเวทีนี้ ยังร่วมให้มุมมองถึงเหตุผลที่พันธมิตรผู้ก่อตั้งสมาคมลิบรา ล้วนแต่เป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่นับฐานลูกค้ารวมๆ กันแล้วก็กวาดประชากรโลกไว้ในเครือข่ายแล้วถึงครึ่งโลก เพราะนอกเหนือจากการได้เข้ามามีส่วนร่วมในแหล่งเงินสำรองแห่งใหญ่นี้แล้ว ยังจะทำให้บริษัทเหล่านั้นได้ “ข้อมูล” อีกด้วย

 

“ไม่จำเป็นต้องได้ชื่อผู้ใช้งาน แต่ข้อมูลการทางการเงิน (Financial Data) นั่นแหละ คือข้อมูลการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ข้อมูลส่วนนี้คือจุดสำคัญมาก สำหรับผู้ที่จะเข้ามาร่วมในสมาคมลิบรา”

 

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

 

นอกจากนี้ ในอีกแง่หนึ่งก็คือ กลยุทธ์การขยายฐานผู้ใช้บริการของเฟซบุ๊ก ปัจจุบันผู้ใช้แอพฯ เฟซบุ๊ก 2.3 พันล้านคนทั่วโลก ยังไม่รวมอินสตาแกรม และ WhatsApp ซึ่งอยู่ภายใต้ร่มเงาของเฟซบุ๊กเช่นกัน จึงมองว่านี่คือ ก้าวใหม่ของเฟซบุ๊ก ในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็น Next Billion Users

 

ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก็อยู่ในแถบเอเชีย และแอฟริกา คนเหล่านี้มีมือถือใช้แล้ว แต่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร “การเกิดขึ้นของลิบรา จะช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ และยังทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนของธนาคารทั่วไป และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม”

 

หันมามองที่ประเทศไทย มีประชากรไทย 40 ล้านคนอยู่บนเฟซบุ๊ก เป็นตลาดใหญ่อันดับ 8 ของเฟซบุ๊ก ซึ่งในมุมมองผู้บริหารธนาคารรายหนึ่ง ให้ความเห็นว่า ถ้าจับคนกลุ่มนี้มาเปลี่ยนแปลงจาก Digital Internet เป็นการ access (การเข้าถึง) ให้ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินผ่านธนาคาร สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือที่ใช้แอพฯ เฟซบุ๊กอยู่แล้วได้

 

และถ้าเงินหมุนเวียนระดับวินาที จะทำให้เกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจโตขึ้นถึง 2-3 เท่าตัว และไม่จำกัดเฉพาะประเทศไทย แต่ครอบคลุมระดับทั่วโลก เพราะโซเชียลมีเดีย อยู่กับวิถีชีวิตคนมากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

ความเสี่ยง” การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

อิทธิพลจากความ “ใหญ่” ของเฟซบุ๊ก และ(โอกาส)ความแพร่หลายของการใช้เงินสกุลลิบรา ทำให้ภาครัฐ และหน่วยงานด้านกำกับดูแลตลาดเงิน-ตลาดทุนของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย “ตื่นตัว” กับปรากฎการณ์ลิบรากันแทบจะทันที และตามด้วยการเร่งเตรียมพร้อมมาตรการรับมือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังการใช้เหรียญลิบราจริงในปี 2020 (ตามแผนงานที่ประกาศไว้)

 

มีการยกตัวอย่างความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ถ้าเฟซบุ๊กทำได้อย่างที่ฝันไว้ เช่น เอา social commerce ทั้งหมดขึ้นไปไว้บนนี้ ระบบการเงินทั้งโลกจะเชื่อมโยงกันเป็นระบบเดียวกัน ก็จะเกิดปรากฎการณ์ว่า ต่อไปนี้ถ้าประเทศไหนมีดอกเบี้ยเงินฝากอัตราสูง เงินทั้งโลกก็จะไหลไปกองกันอยู่ประเทศนั้น ซึ่งระบบการเงิน/การธนาคารปัจจุบันทำไม่ได้ เพราะติดกฎระเบียบด้านปริมาณเงินที่จะโอนกันระหว่างประเทศ

 

อีกประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายกังวลก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เพราะนอกเหนือจากเหรียญลิบราแล้ว ในส่วนของเฟซบุ๊ก ได้ออก Wallet Calibra ซึ่งเป็นแอพฯกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเฟซบุ๊กจะเป็นผู้ดูแลให้ ซึ่งต้องการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน อีกทั้งการที่สมาคมลิบรา ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ย ดังนั้น ภาครัฐของประเทศใดๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้

 

 

ทำไม? ใครๆ ก็กลัว "ลิบรา"

 

 

...เตรียมหารือแบงก์ชาติ

 

ทางด้านผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า เรื่องของเงินดิจิทัลลิบรา ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. ตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2562 โดย ก.ล.ต. เตรียมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

เพื่อศึกษาเตรียมออกกฎหมายลูกมากำกับดูแล และรับมือก่อนที่ลิบรา จะเกิดขึ้นในปี 2020 ซึ่งขณะนี้ ธปท. ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาเงินสกุลนี้ และพร้อมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น ก..ประเมินว่า “ลิบรา” ไม่เหมาะเป็นสินทรัพย์เพื่อลงทุนหรือเก็งกำไร เพราะไม่ผันผวนเท่าเงินดิจิทัล แต่ลิบรา คือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชำระเงินมากกว่า พร้อมกันนี้ได้เเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวัง เพราะอาจถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุน

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีรายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ได้รับการติดต่อจากเฟซบุ๊กเพื่อที่จะเข้ามาหารือเกี่ยวกับสกุลเงินลิบราร่วมกัน โดยธปท.ต้องการที่จะศึกษากลไกของสกุลเงินลิบราในทุกมิติ

 

ทั้งด้านความปลอดภัย ความเสถียรของระบบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการนำไปใช้ในแง่การทุจริต รวมถึงการดูแลลูกค้าว่าจะทำผ่านช่องทางใด

 

ขณะที่ สำนักข่าวทั่วโลกก็ทยอยนำเสนอข่าวที่หน่วยงานรัฐในหลายประเทศก็แสดงท่าทีกังวลต่อการที่ เฟซบุ๊ก เปิดตัวเงินคริปโตสกุลลิบรา อย่างต่อเนื่อง โดยข้อกังวลหลักๆ ก็คือการตรวจสอบและควบคุม

 

ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมาธิการการเงินของสภาผู้แทนสหรัฐอเมริกา ผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษ และกลุ่มประเทศสมาชิก G7 ซึ่งประกาศแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบสกุลเงินดิจิทัลลิบรา

 

และสดๆ ร้อนๆ ระหว่างปิดต้นฉบับ ก็มีแถลงการณ์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟดซึ่งกล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

 

โดยแสดงความกังวลต่อสกุลเงินลิบรา ว่าทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวการฟอกเงินการคุ้มครองผู้บริโภค และเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งจำเป็นต้องมีการรับมืออย่างรอบคอบ

 

*************///**************

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ