Lifestyle

เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ร่วมประกาศเจตจำนง "จัดการภัยคุกคามอันเกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย"

      บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย โดย ซูซาน ซิลเบอร์มันน์ ประธานกรรมการ บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์ (ตลาดเกิดใหม่) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia One Health University Network) หรือ “ซีโอฮุน” (SEAOHUN) 

    เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

ดร. วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม

    โดย ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม กรรมการบริหาร ซึ่งมีเครือข่ายมหาวิทยาลัย 72 แห่ง ในแถบภูมิภาคอาเซียน ร่วมกันสร้างศักยภาพการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว พร้อมร่วมประกาศเจตจำนง “จัดการภัยคุกคามอันเกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย” ด้วยการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมไปจนถึงการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขชุมชนทั่วประเทศไทยรวมถึงประเทศสมาชิกภายในเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการใช้ยาปฏิชีวนะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีเหล่านักวิชาการจากสาขาต่างๆ  อาทิ ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.แสงเดือน มูลสม เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (โทฮุน) ดร.โรเชลล์ ไชเคน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์ ดร.นพ.นิรุตติ์ ประดับญาติ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมประชุมด้วย เมื่อวันก่อน

เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

ซูซาน ซิลเบอร์มันน์-ดร.โรเชลล์ ไชเคน-ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์

     ซูซาน ซิลเบอร์มันน์ กล่าวว่า สำหรับการประกาศเจตจำนงร่วมกันครั้งนี้ระหว่างบริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย และซีโอฮุน นับว่าสอดรับกับ “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560–2564” ซึ่งครอบคลุมประเด็นการเฝ้าระวัง การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ทั้งในการแพทย์ การสาธารณสุข การสัตวแพทย์ และการเกษตร รวมไปถึงการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกระจายยาต้านจุลชีพ ทั้งรวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ ความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ

    เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

    “ความร่วมมือระหว่างซีโอฮุนและไฟเซอร์ในครั้งนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับบริษัท ไฟเซอร์ ได้ยกระดับการดำเนินงานด้านการแบ่งปันความรู้และการพัฒนาขีดความสามารถ ผ่านการเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการร่วมจัดทำสื่อการให้ความรู้และการดำเนินกลยุทธ์ในด้านการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โดยมีหน่วยงานเครือข่ายของซีโอฮุนเป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ภายในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อช่วยยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ” ซูซาน ซิลเบอร์มันน์ กล่าว

เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

ดร.นพ.นิรุตติ์ ประดับญาติ

      นอกจากนี้ผู้บริหารไฟเซอร์ ย้ำอีกว่า บริษัทมุ่งมั่นที่จะป้องกัน และช่วยเหลือผู้ป่วยในทุกระยะเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อร้ายแรงซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามถึงชีวิต ทั้งนี้ ไฟเซอร์เชื่อว่าหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรนั้น มิใช่เพียงแค่ผลิตและสนับสนุนให้มีการเข้าถึงยาปฏิชีวนะและวัคซีน แต่บริษัทไฟเซอร์ยังร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ รวมถึงชุมชนสาธารณสุขขนาดใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ ตระหนักดีว่า ทุกภาคส่วนต่างมีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อความพยายามในการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ความร่วมมือระหว่าง บริษัทไฟเซอร์กับซีโอฮุน จึงเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทไฟเซอร์ ในการต่อสู้กับภัยคุกคามจากการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

เผด็จศึกปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

ผศ.ดร.แสงเดือน มูลสม

      ขณะที่ ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างซีโอฮุนและไฟเซอร์จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญระบบสุขภาพหนึ่งเดียวในด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยเชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภารกิจในการต่อสู้กับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ