Lifestyle

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สู่หมุดหมายของการเป็นประเทศลำดับต้นๆ บนแผนที่โลกที่จะ 'พร้อมใช้' ประโยชน์จากความล้ำหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุคล่าสุดที่ชื่อว่า 5G

          วันนี้ (8 ..) เป็นการเปิดศักราชการสื่อสารในยุค 5จี ของประเทศไทย โดยมีการติดตั้งโครงข่าย 5จี ทั้งระบบในประเทศไทย พร้อมแสดงตัวอย่างการใช้งานจริง (Use Case) ในหลายด้าน เช่น การจำลองการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดรนส่งของ, Cooperative Cloud Robot, อุปกรณ์ตรวจวัดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IoT Sensor) ณ ห้องศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ 5G มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา ซึ่งจะทำให้เห็นถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 5จี”

          ประโยคข้างต้นของ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในวันลงพื้นที่เยี่ยมชมการเปิดศูนย์ทดสอบ 5G บนพื้นที่โครงการอีอีซี ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สะท้อนชัดถึงการเดินหน้าประเทศไทยสู่หมุดหมายของการเป็นประเทศลำดับต้นๆ บนแผนที่โลกที่จะ ‘พร้อมใช้’ ประโยชน์จากความล้ำหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุคล่าสุดที่ชื่อว่า 5G หลังการกำหนดมาตรฐานคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยีนี้อย่างเป็นทางการ โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ในปี 2563

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

          ด้วยข้อได้เปรียบของทำเลที่ตั้งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-Curve) จำนวน 12 กลุ่มอุตสาหกรรม มีการมอบสิทธิประโยชน์บีโอไอให้เป็นพิเศษ มีระบบนิเวศน์ทางธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ และมีประมาณการณ์ว่าจะมีมูลค่าการลงทุนโครงการใหญ่ต่างๆ รวมไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงดึงดูดผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลักทุกรายในประเทศไทยขานรับเข้ามาใช้ศูนย์ทดสอบแห่งนี้ และยังรวมไปถึงบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ได้แก่ หัวเว่ย ซึ่งเป็นรายแรกที่ได้นำเข้าอุปกรณ์ 5จี ทั้งระบบมาถึงประเทศไทยและติดตั้งพร้อมใช้งาน พร้อมประกาศแผนลงทุน 160 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ยไว้ที่นี่ และจ่อคิวรออีกหลายราย ได้แก่ โนเกีย อีริคสัน เอ็นอีซี ซูมิโตโม ซิสโก้ ไมโครซอฟท์ และอินเทล เป็นต้น

          ขณะเดียวกัน ดีอีและเกษตรศาสตร์ เจ้าของพื้นที่ก็เร่งเดินหน้าแผนสร้าง ‘กำลังพล 5G’ แรงงานทักษะสายพันธุ์ใหม่ เตรียมพร้อมให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีใหม่นี้ ที่คาดว่าจะขยายการใช้งานที่เฉพาะด้านหรือเฉพาะธุรกิจ สู่วงกว้างอย่างเต็มตัวในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่องการทดสอบเทคโนโลยี 5G นำร่องด้วยการเปิดเปิดสถาบันพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลเพื่อ EEC หรือ Digital Academy Thailand(DAT)

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

ประชันเทคโนโลยีชิงความล้ำ

          นอกเหนือจาก บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที ซึ่งจัดเต็มกับการโชว์ความพร้อมสำหรับการชิงโอกาสทางธุรกิจจาก 5G ฟากเอกชนทั้งไทยและเทศ ก็พาเหรดกันนำเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์และการประยุกต์ใช้งาน 5G (Use Case) มาประชันความล้ำกันอย่างไม่มีใครยอมใคร และช่วยให้มองเห็นภาพที่คนไทยจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าน่าจะยกระดับความอัจฉริยะ(Smart) ในหลายๆ ด้านในยุคนี้ให้ ‘เหนือชั้น’ หรือ Smarter ขึ้นไป

          พีทีที ดิจิทัล ในเครือ ปตท โชว์ Plant simulation จำลองโรงงานระบบอัตโนมัติยุค 5G ใช้เครือข่ายของเซ็นเซอร์ทางานร่วมกันแบบไร้สาย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR ที่เป็นการใช้กล้องโทรศัพท์มือถือควบคุมการบริหารจัดการโรงงานแบบ real time

          บริษัท Fling ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบใช้งานโดรนเพื่อธุรกิจ จัดแสดงโดรนส่งสิ่งของ (Drone Delivery) โดยเป็นระบบโดรนที่ควบคุมจากรีโมทระยะไกล พร้อมทั้งส่งภาพจากกล้องบนตัวโดรนกลับมายังผู้บังคับได้ตามเวลาจริง เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมบริการในอนาคต

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

          บริษัท แนคร่า โชว์ชุดอุปกรณ์ระบบการระบุพิกัดและเวลาแบบความแม่นยำสูง (GNSS RTK) สามารถใช้เป็นตัวปรับเวลาเพื่อให้เวลาของนาฬิกาแต่ละสถานีฐานมีความแม่นยำตรงกัน และสามารถให้ค่าพิกัดสาหรับโดรนบินอัตโนมัติ หรือยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

          หัวเว่ย นำเสาอากาศพร้อมระบบอุปกรณ์ 5G เต็มระบบชุดแรกในประเทศไทยมาให้ชมกันแบบใกล้ชิด พร้อมกับ Use Case นวัตกรรมเทคโนโลยี AR/VR แบบ 360 องศา (360 AR/VR) และวิดีโอมัลติ-เอชดี (Multi-HD VDO) ตอบรับรูปแบบความบันเทิงใหม่ๆ ที่มีความสมจริงทุกมิติ

          โนเกีย/เอไอเอส ที่มาแบบแพ็คคู่โชว์ Use Case ทั้งด้านไลฟ์สไตล์และธุรกิจ ได้แก่ เทคโนโลยีความเร็วของ 5G ผ่านเกมและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้แก่ 5G Collaborative Car Factory ผู้ทดสอบจะได้ลองประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์ ผ่าน VR และ 5G AR Digital Rubik's Cube และ 5G VR Football Game สาธิตการตอบสนองที่เร็วกว่าของเครือข่าย 5G ผ่านเกมฟุตบอลและการเล่น Rubik's cube แบบเรียลไทม์, เทคโนโลยีของ Nokia AVA สำหรับการออกแบบระบบดิจิทัล 5G (5G Digital Design) โดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้ของเครื่อง เข้ามาช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในรูปแบบสามมิติ (3D Geolocation) ซึ่งนำไปสู่การออกแบบระบบดิจิทัล 5G ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5G ได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว เป็นต้น

          อีริคสัน โชว์ศักยภาพด้านการพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถอัพเกรดสถานีฐานจาก 4G เป็น 5G โดยอุปกรณ์การรับส่งสัญญาณรุ่น AIR 4455 ซึ่งได้นำมาติดตั้งที่ประเทศไทยเป็นแห่งแรกของโลก เริ่มติดตั้งบนหลังคาร้าน 7-Eleven เนื่องจากขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ไม่ต้องการเสาขนาดใหญ่, การสาธิต Use Case ชุดแขนหุ่นยนต์ ที่ควบคุมทิศทางได้ผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

หนุนเกษตรกรไทยคว้าโอกาสเกษตรอัจฉริยะ

          อีกโชว์เคสที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เพราะแม้ปัจจุบันยังเป็นยุค 4G แต่บมจโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ก็พัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้จริงและยกระดับชีวิตให้กับเกษตรกรไทยหลายครอบครัวแล้ว ในงานนี้ดีแทค ยกโมเดลฟาร์มการเกษตรพร้อมระบบอัจฉริยะมาให้ทุกคนได้เห็นอย่างใกล้ชิด นำเสนอแนวคิดการทำเกษตรสมัยใหม่ ปรับการใช้ทรัพยากรไห้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม แม่นยำ เพิ่มผลผลิต ด้วยโซลูชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีInternet of Thingsเพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำ

          หลักการทำงาน ได้แก่ 1.ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ฝังซิมดีแทค ซึ่งจะช่วยสังเกตการ์และติดตามความเปลี่ยนแปลง เพิ่มความแม่นยำทางการเกษตร 2.วิเคราะห์อย่างชาญฉลาด ระบบจะประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ dtac Intelligent Farm และแสดงผลผ่านแอพแบบ real-time ให้เห็นข้อมูลและแนวโน้มปัจจัยทางการเกษตรอย่างชัดเจน 3.ชีวิตง่ายเพียงปลายนิ้วคลิก เกษตรกรปรับปรุงปัจจัยควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันการณ์ ลดความเสียหาย เพิ่มคุณภาพและผลผลิต และ 4.Real-time Tracking ระบบเซ็นเซอร์จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหลังบ้านของดีแทค ทั้งความชื้นในดิน แสง และอุณหภูมิ ทำให้ได้ข้อมูลตามเวลาจริง

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

 

.เกษตรฯ เตรียมดันงานวิจัยสู่ใช้งานจริง

          การได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ที่จัดตั้ง 5G Testbed หลักสำหรับพื้นที่อีอีซี ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้กับอาจารย์ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่จะผลักดันผลงานวิจัยด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เข้าสู่สนามทดสอบที่มีความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยล่าสุด ซึ่งพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่นำเข้ามาติดตั้งในศูนย์ฯ แห่งนี้ เพิ่มโอกาสเร่งความเร็วในการพัฒนางานวิจัยบนกระดาษสู่การใช้งานจริง ตอบโจทย์ตั้งแต่แง่ชีวิตความเป็นอยู่ ความก้าวหน้าด้านสาธารณสุข ไปจนถึงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

          จากการเดินชมผลงานวิจัยที่เกษตรศาสตร์ นำมาโชว์ในศูนย์ทดสอบ 5G จะเห็นความสอดคล้องไปกับทิศทางการพัฒนาโครงการอีอีซี ได้แก่ แอพพลิเคชั่นจำลองแหล่งท่องเที่ยวเสมือนจริงในเขตพื้นที่อีอีซี (Visual Tourism) มีการสร้างแบบจำลอง 3 มิติและมัลติมีเดีย นักท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศของสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้ VR ประกอบการวางแผนและตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวร้านสะดวกซื้อไร้คนขาย (Unmanned Convenience Store) หรือ Gen Go นำร่องให้บริการกับนักศึกษา ใช้ระบบ Self Check-in/Check-out นำบัตรนักศึกษามาสแกนบริเวณหน้าทางเข้าร้านเพื่อยืนยันตัวตน เลือกซื้อสินค้าที่ภายในร้านใช้ระบบ Eleectronic Self Lebel (ESL) ในการบอกราคาและโปรโมชั่นสินค้า นำสินค้ามาวางที่เครื่องรับชำระเงิน โดยระบบ AI จะสแกนและคิดเงิน หรือใช้การสแกนรหัสสินค้า จากนั้นเลือกวิธีชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด บัตรนักศึกษาหรือบัตรเครดิต นอกจากนี้ยังมีระบบเครื่องรับซื้อขวดอ้ตโนมัติ (Refun Machine) รับซื้อขวดเครื่องดื่มขนาด 600 มล.-2 ลิตร โดยระบบจะทำการอ่านบาร์โค้ดที่ฉลาก เพื่อวิเคราะห์แยกประเภท และตีราคาเงิน

          ด้านงานวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ 5G ในทางการแพทย์ ได้แก่ ระบบ Interactive Therapy ช่วยให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองได้ตามรูปแบบที่เหมาะสม ออกแบบให้ทำได้ผ่านเกมกายภาพบำบัดและวิดีโอ ช่วยให้ผู้ป่วยเพลิดเพลิน มีระบบจัดเก็บข้อมูลให้นักกายภาพบำบัดสามารถนำสถิติมาให้คำแนะนำทางไกลได้ เพื่อให้การบำบัดมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยด้านการใช้พลังงานอัจฉริยะเพื่อเพิ่มความฉลาดให้กับสมาร์ท ซิตี้ (5G : Smart Hybrid DC-AC Microgrid for a Smarter City) เป็นการบูรณาการความสามารถของการสื่อสารผ่านระบบ 5G ที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาล ความหน่วงต่ำ ช่วยให้อุปกรณ์ IoT สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วในวงกว้าง เพื่อสนับสนุนการทำงานของโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร เกิดการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับความเสถียรของการจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น

 

เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ในอีอีซี

 

          ที่ผ่านมา เคยมีตัวเลขคาดการณ์โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G หัวเว่ย ระบุว่า 5G จะมีผลทุกอุตสาหกรรม แต่ภาคการผลิตจะได้รับประโยชน์สูงสุด สร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 28% ของ GDP โลก ส่วนการสื่อสารจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ราว 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ 5.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ