Lifestyle

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  ยานยนต์   โดย... สินธุ์ชัย ภมรพล

 

 

          รถฝั่งยุโรป ไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มดับเบิลยู เมอร์เซเดส-เบนซ์ วอลโว่ หรือว่าปอร์เช่ ในช่วงหลังๆ หันมาเน้นตลาดพลังงานไฟฟ้ากันมาก หลายค่ายเสริมรตลาดปลั๊ก-อิน ไฮบริด กันมากมาย

 


          บีเอ็มดับเบิลยู ก็มีรถหลายรุ่นทำตลาด รวมถึง 330 อี ที่อยู่กับผมวันนี้


          ซีรีส์ 3 เป็นรถที่มีขนาดกำลังดี เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในเมือง หรือเนทางท่องเที่ยว เดินทางไกล

 

          รูปทรงโดยรวมของรถก็ให้อารมณ์สปอร์ตในตัวอยู่แล้ว ตัวถังที่กดต่ำ โอเวอร์แฮงก์ทั้งหน้าและหลังที่สั้น ซึ่งยังมีผลต่อการควบคุมรถที่ดีด้วยเช่นกัน เติมความหล่อให้กับล้อแม็กแบบเข้มๆ ที่มีสัญลักษณ์ เอ็ม กับยางซีรีส์ต่ำขนาด225/40 R18 สำหรับด้านหน้า ส่วนด้านหลัง255/40 R18

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า

 

 

          ภายใน คงดีเอ็นเอของบีเอ็มดับเบิลยูเอาไว้ ตำแหน่งผู้ขับเหมือนกับถูกล้อมกรอบ ด้วยคอนโซลหน้า คอนโซลเกียร์ ดูเหมือนพื้นที่ไม่ใหญ่นัก ซึ่งก็ไม่จำเป็นสำหรับตำแหน่งดังกล่าว แต่ขอให้ออกแบบแล้วรู้ได้ว่ากำลังเป็นผู้ควบคุม เรียกว่าเป็นใหญ่ที่สุดในรถ ก็ช่วยให้น่าขับขี่มากขึ้น


          เติมความสปอร์ตด้วยเบาะนั่ง และแผงบุประตูหนัง ดาโกต้า สีส้มแดง ดูเด่น เห็นแต่ไกล ดูร้อนแรง และตัดกันได้ลงตัวกับวัสดุอื่นๆ ภายในรถที่เน้นสีดำเป็นหลัก

 

 


          อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานได้ง่าย และแน่นอนมีปุ่มไอไดรฟ์เอาไว้ควบคุมการสั่งการของระบบต่างๆ โดยที่ด้านบนของปุ่มเป็นแบบสัมผัส สามารถใช้นิ้่วเขียนตัวอักษร โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน เพื่อไปกดตัวอักษรที่หน้าจอ หรือหมุนปุ่มไอไดรฟ์ เพื่อหาตัวอักษรที่ต้องการ

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า

 


          เสียดายแต่ว่าช่วงที่ลองขับไม่มีโอกาสได้ไปหาจุดชาร์จไฟฟ้า ให้เต็มๆ


          แต่เอาเถอะครับ ผมก็จะขับแบบเท่าที่จะทำได้ ให้ระบบมันทำงานเอง ชาร์จไฟเอง ใช้ไฟเอง ซึ่งวันที่รับรถออกมา กดดูพบว่ามีไฟอยู่ 7% และอยากรู้ว่าในช่วงใช้งานจริง มันจะขึ้นไปได้เท่าไร ก็สูงสุดอยู่ประมาณ 17% ครับ ต่ำสุดก็ประมาณ 3% ขึ้นๆ ลงสลับกันไป ดูที่หน้าจอก็เห็นว่าช่วงไหนมันทำงานอย่างไร เช่น ใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว เครื่องยนต์อย่างเดียว ทำงานด้วยกัน หรือชาร์จแบตเตอรี่ด้วยเครื่องยนต์ หรือชาร์จด้วยพลังงานจลน์เมื่อถอนคันเร่ง หรือว่าเบรก

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า

 


          เท่าที่สังเกตดูนานๆ พบว่าระบบพยายามที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าให้มากที่สุด เช่น เมื่อออกตัวหากแตะคันเร่งนิ่งๆ มันจะเข้าสู่โหมดอีวีเอง และเท่าที่ลองดูความเร็วค่อยๆ ไล่ขึ้นไปถึงระดับประมาณ 80 กม./ชม. ก็ยังอยู่ในโหมดอีวี เครื่องยนต์ยังไม่ทำงาน

 

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า


          และเมื่อเครื่องยนต์เริ่มทำงาน ก็ประสานงานเชื่อมต่อกันได้อย่างแนบเนียน ไม่มีจังหวะกระตุก หรือสะดุดให้รู้สึก สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็คือ ดูจากหน้าจอ หรือว่าวัดรอบเครื่องยนต์ที่เริ่มทำงาน และเสียงเครื่องยนต์ที่ดังแผ่วๆ ซึ่งหากไม่สังเกตอาจจะไม่ได้ยินด้วยซ้ำไป


          เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ทวินพาวเวอร์ เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดี่ 184 แรงม้า มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังสูงสุด 88 แรงม้า เมื่อทำงานรวมกันให้กำลังสูงสุด 250 แรงม้า และแรงบิด 420 นิวตันเมตร ซึ่งเป็นสมรรถนะที่เหลือเฟือครับ 4 สูบ ทวินพาวเวอร์ เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดที่ 184 แรงม้า มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังสูงสุด 88 แรงม้า เมื่อทำงานรวมกันให้กำลังสูงสุด 250 แรงม้า และแรงบิด 420 นิวตันเมตร ซึ่งเป็นสมรรถนะที่เหลือเฟือครับ

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า

 


          จริงๆ แล้ว เป้าหมายหลักของบีเอ็มดับเบิลยู ที่นำระบบปลั๊กอิน ไฮบริด มาใช้นั้น ไม่ได้เน้นเรื่องความประหยัดเป็นหลัก แต่ต้องการให้ระบบไฟฟ้าเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพการขับขี่ ให้ขับสนุกขึ้น ตอบสนองได้ดีขึ้น ส่วนลึกๆ กว่านั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของหลายๆ ประเทศ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ แต่เอาเป็นว่าถ้าพูดถึงการเสริมประสิทธิภาพการขับขี่ ก็บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะช่วงการเปลี่ยนความเร็ว อัตราเร่ง ช่วงเร่งแซง หรือว่าจังหวะที่ต้องสอดแทรกไปมาระหว่างรถที่วิ่งกันเต็มทุกช่องทาง ด้วยพื้นที่ที่ไม่มากนัก ระบบนี้ช่วยได้เยอะ ช่วยให้รถมีความคล่องตัวสูง

 

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า


          ส่วนถ้าจะขับให้ประหยัดกว่าปกติสำหรับรถในตระกูลไฮบริด ต้องเป็นการใช้งานในเมืองเป็นหลัก ที่ใช้ความเร็วได้ไม่สูงนัก และมีจังหวะเบรก จังหวะชะลอตัวบ่อย ทำให้มีโอกาสชาร์จไฟกลับเข้าไปในแบตเตอรีมากขึ้น ซึ่งระยะสั้นๆ ที่ผมใช้งานในกรุงเทพฯ ก็ได้ประมาณ 16 กม./ลิตร แต่ว่าส่วนใหญ่ของการขับครั้งนี้ เป็นเส้นทางต่างจังหวัด ที่ใช้ความเร็ว และใช้กำลังของมอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยในช่วงการเติมความเร็ว ทำให้ได้ค่าเฉลี่ยประมาณ 11 กม./ลิตร ซึ่งผมว่าก็สมเหตุสมผล กับรูปแบบการขับขี่ของผม


          ส่วนอารมณ์ด้านอื่นๆ ในการขับขี่ ก็ไว้ใจได้สำหรับความเป็นบีเอ็มดับเบิลยู เป็นรถที่ให้ความรู้สึกหนักแน่น เกาะถนนดี ความแม่นยำสูง และช่วงล่างที่กระด้างเล็กน้อยพองาม โดยเฉพาะเมื่อเลือกโหมดขับขี่แบบสปอร์ต

 

 

 

บีเอ็มดับเบิลยู 330 อี เติมสมรรถนะด้วยไฟฟ้า


          จริงๆ แล้ว โหมดคอมฟอร์ท ก็เพียงพอต่อการใช้งาน รถขับได้สนุกเช่นกัน ช่วงล่างเกาะถนนได้ดี และดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้น่าพอใจ แต่ผมรำคาญกับถนนหนทางในบ้านเรา ที่ไม่ค่อยเรียบเท่าไร เป็นเคลื่อนเป็นลอน ซึ่งช่วงล่างที่นุ่มๆ แม้จะดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดี แต่ก็ทำให้อาการโยนตัวบ้าง ผมจึงเลือกที่จะใช้ โหมดสปอร์ต


          แต่ถ้าขับขี่ในเมือง ในตรอกซอกซอย ก็เลือกคอมฟอร์ท หรือไม่ ก็อีโค โปร ไปเลย ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น และพวงมาลัยที่มีน้ำหนักเบาลง หมุนง่ายๆ ก็เหมาะกับการขับขี่ครับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ